This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 19 พฤศจิกายน 2557     อ่าน: 7,576 ครั้ง



โครงการวิจัยและพัฒนาหวายเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน

หวายเป็นพืชป่าพวกปาล์มเลื้อยมีหนาม พบมากในป่าเขตร้อน มีชนิดและพันธุ์หลากหลาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายของพันธุกรรมหวายมากที่สุดในโลก ในประเทศไทยพบว่ามีประมาณ 60 ชนิด 6 สกุล คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลก หวายเป็นพืชท้องถิ่นที่ชุมชนบนพื้นที่สูงยังคงมีการใช้ประโยชน์ในแง่การบริโภคและใช้สอย นอกจากการใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือนแล้ว หวายยังเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน โดยหวายตัดหน่อเพื่อการบริโภคสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ หวายตัดหน่อมีโรคและศัตรูพืชทำลายน้อย ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี อย่างไรก็ตามคุณภาพพันธุ์หวายในชุมชนยังไม่ดีพอ เนื่องจากมีหน่อเล็ก มีพันธุ์ปนกระจายอยู่ในแปลงปลูก การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย ส่วนหวายใช้เส้นนั้นสามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง เส้นหวายใช้เป็นวัตถุดิบในการจักสาน ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์ อย่างไรก็ตามหวายใช้เส้นมีอายุการเก็บเกี่ยวนาน (7-10 ปีขึ้นไป) และการเก็บเกี่ยวลำบาก พื้นที่ปลูกมีน้อย 



เนื่องจากหวายเป็นพืชที่อาศัยอยู่ร่วมกับป่า พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกขยายพันธุ์มีจำนวนลดลง ทำให้วัตถุดิบหวายที่ใช้ในการแปรรูปขาดแคลน การใช้ประโยชน์จากหวายในด้านอุตสาหกรรมเครื่องเรือนเครื่องใช้มีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยอย่างยิ่ง ในแต่ละปีรายได้จากการส่งออกไปตลาดต่างประเทศมีมูลค่าสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบหวายเป็นจำนวนมหาศาล เพราะวัตถุดิบหวายในประเทศขาดแคลน นอกจากนี้คุณภาพของหวายที่นำเข้ายังไม่ดีเท่าที่ควร 



เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากหวายมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหวายเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน เน้นการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหวาย มีการแปรรูปหวายให้มีคุณภาพ มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า โดยมีขั้นตอนการผลิตและแปรรูปที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีการศึกษาคัดเลือกพันธุ์ที่มีความเหมาะสม ศึกษาวิธีการเขตกรรมการปลูกหวายเพื่อเพิ่มผลผลิต และมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปหวายที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มคุณภาพเส้นหวาย 


วัตถุประสงค์

1. เพื่อรวบรวม คัดเลือก และทดสอบพันธุ์หวายที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพผลผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่

2. เพื่อศึกษาและพัฒนาเขตกรรมหวายเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิต

3. เพื่อศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปหวาย

พื้นที่เป้าหมาย                                      

1. โครงการขยายผลโครงการหลวงปางแดงใน ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

2. โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน

3. โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม ต.แม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน

------------------------------------------

ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 5

 




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
หางแมว

หางแมว

หางแมว หางกระรอก เขียวพระสุจริต เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 4

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 4

เป็นพรรณไม้ที่ถูกสำรวจ และเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบในประเทศไทย และเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้ตั้งชื่อพรรณไม้ทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ สิรินธรวัลลี เครือเทพรัตน์ และเทียนสิรินธร


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

กันภัยมหิดลเป็นไม้ประจำถิ่นของไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งพบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) ที่น้ำตกไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน