ปัญหาและแนวทางการพัฒนา

ด้าน สถานการณ์/ปัญหา แนวทางการพัฒนา กลยุทธ์

1. การพัฒนาอาชีพ

1. พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ห่างไกลชุมชน และปลูกยางพารา มันสำปะหลัง

2. น้ำที่ใช้ในการเกษตรขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง

3. ความต้องการด้านอาหารมีมาก ไม่เพียงพอกับประชากรของชุมชน

4. แหล่งทำการเกษตร (พื้นที่เช่า) อยู่ห่างไกลชุมชน และแหล่งน้ำ

5. เกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการทำการเกษตร

6. เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

1. ส่งเสริมการผลิตพืชและสัตว์ปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP และอินทรีย์

2. พัฒนาและปรับปรุงพืชเดิมเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต

3. นำผลงานวิจัยมาพัฒนา และส่งเสริมการปลูกพืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

4. ส่งเสริมการปลูกพืชท้องถิ่นในระบบปลอดภัยเพื่อเป็นแหล่งอาหารและรายได้ให้ชุมชน

5. สร้างแปลงต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

6. นำองค์ความรู้โครงการหลวงมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โดยการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก เชิงเกษตรและท่องเที่ยว

1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

1. มีกลุ่มเกษตรกรหลากหลายกลุ่มทั้งภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตร

2. มีแหล่งเงินทุนเงินกู้ดอกเบี้ยแพงในชุมชน

3. ประชากรอาศัยกระจัดกระจาย อพยพย้ายที่อยู่อาศัยบ่อย

1. ส่งเสริมการจัดแผนชุมชน และการนำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

2. สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสถาบันเกษตรกรในการบริหารจัดการ

3. สร้างเกษตรกรผู้นำเพื่อเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

4. ส่งเสริมการจัดทำบัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน

5. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ/เตรียมสหกรณ์

6. พัฒนากลุ่มผู้นำโดยการพลักดันให้เกิดการบริหารจัดการภายในชุมชน

7. การพัฒนาพืชอาหารหลัก เช่น ข้าวนา ข้าวไร่

1. เสริมสร้าง ความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้พึ่งตนเอง ได้อย่างยั่งยืน

3. การพัฒนาด้านการตลาด

1. มีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่

2. มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิต

3. พืชผัก ผลไม้ บางชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการ

1. สร้างช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลายในแต่ละระกับ

2. สร้างโรงคัดผลผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดตามแนวทางโครงการหลวง

3. รวบรวมผลผลิตพัฒนาระบบขนส่งและการตคลาดศึกษารูปแบบของตลาดในแต่ละระดับ เช่น ตลาดชายแดน

4. พัฒนาการวิเคราะห์สารในผลผลิต

5. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด

6. พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการปฏิบัติงานในโรงคัดผลผลิต

1. ส่งเสริมการสร้างมาตรฐาน คุณภาพผลผลิต และการจัดการด้านการตลาด

4. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1. มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

2. มีการยึดพื้นที่ป่าคืน

3. น้ำบริเวณต้นน้ำลดลง

1. การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และอาหารชุมชน

2. จัดทำแผนที่ดินรายแปลง และการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเกษตรควบคู่กับการจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และแหล่งน้ำ

4. รณรงค์ลดการใช้สารเคมี และสนับสนุนการตรวจเลือดหาสารพิษตกค้าง

5. ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้าน

6. สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุที่มีในพื้นที่เพื่อลดการเผา

7. ปรับปรุงภูมิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1. ส่งเสริมการทำการเกษตรด้วยวิถีธรรมชาติควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

1. พื้นที่ยังขาดน้ำอุปโภค อบริโภคไม่ทั่วถึง

2. ถนนเข้าพื้นที่ทำกินไม่มี และเข้าไม่ถึง

1. ประสานงานและสนับสนุนการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

3. พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อภาวะการในปัจจุบัน

4. พัฒนาระบบกระจายน้ำ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก ระบบน้ำบาดาลเพื่ออุปโภค บริโภค

5. การเตรียมภารกิจถ่ายโอนแต่ละชุมชน

6. ปรับปรุงเส้นทางลำเรียงผลผลิต

7. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่พื้นที่เครือข่ายใกล้เคียง

1. พัฒนาการมีส่วนร่วมบูรณาการ และการบริหารจัดการ

 

 

 

ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560)  , สำนักพัฒนา 



ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560