ปัญหาและแนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ สถานการณ์/ปัญหา แนวทาง/เป้าหมายกลยุทธ์
1. การวิจัย 1.ข้าวไร่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

2.ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน

1.ทำแปลงวิจัยและสาธิต การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ท้องถิ่น 2 กลุ่ม 40 ราย 100 ไร่
2. การพัฒนาอาชีพ

1.ผลผลิตทางด้านการเกษตรจำนวนผลิตเฉลี่ยต่อไร่ได้น้อย

2.ไม่มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจน

3.ไม่มีอาชีพทางเลือก และการรวมกลุ่ม เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง

1.ส่งเสริมการปลูกพืชผักในและนอกโรงเรือนเพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง 100 ราน 200 ไร่ 60 โรงเรือน

2.เพิ่มผลผลิตพืชไร่ (ข้าวไร่ ถั่ว)  เน้นให้มีการปรับปรุงบำรุงดินควบคู่ไปด้วย 100 ราย 1,000 ไร่

3.ปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่และเน้นการจัดการแปลงเดิม ได้แก่ มะม่วง เงาะ มะนาว ส้มโอ ทดแทนแปลงปลูกพืชไร่ 800 ราย 2,000 ไร่

4.ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และประมง หมู ไก่ เพื่อสร้างรายได้เสริม และบริโภค 100 ราย 5 กลุ่ม

5. ส่งเสริมการแปรรูปข้าวไร่ และงานหัตถกรรมท้องถิ่น 2 กลุ่ม 100 ราย

6.ทุกกิจกรรมจะผลักดันให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP)  100 ราย
3. สังคมชุมชน

1.คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสนใจด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณี

2.มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นต่อครัวเรือน

3.ประชากรบางส่วนออกไปทำงานและค้าขายอยู่นอกชุมชน

1.สนับสนุนการทำแผนชุมชน การทบทวนแผนชุมชนและการขับเคลื่อนการ นำไปใช้ประโยชน์ 8 หมู่บ้าน

2. ส่งเสริมให้มีรวมกลุ่มได้แก่กลุ่มไม้ผล กลุ่มปลูกผัก กลุ่มปลูกพืชไร่ ฯลฯ การจัดตั้งกลุ่มและกองทุนเพื่อให้เกษตรกรบริหารจัดการตนเองได้ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเตรียมสหกรณ์  กลุ่มแปรรูป (วิสาหกิจชุมชน) 5 หมู่บ้าน 5 กลุ่ม

3. การพัฒนาตลาดผลผลิตในชุมชนและยกระดับในการบริหารจัดการตลาดให้เป็นระบบเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น 5 หมู่บ้าน

4. การพัฒนาหมู่บ้านสะอาดชุมชนเข้มแข็ง 5 หมู่บ้าน 900 ครอบครัว

5. สนับสนุนกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงงานบูรณาการในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน

4. สิ่งแวดล้อม

1.มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้น

2.เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินทำให้เกิดดินสไลด์

3.ไม่มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร

4.มีการเผาพื้นที่ก่อนการเพาะปลูกพืช

1.สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ สัก ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น 100 ราย 300 ไร่

2.สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก 300,000 กล้า

3.สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม 6 หมู่บ้าน

4.สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย 50 จุด 6 หมู่บ้าน

5. จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา 6 หมู่บ้าน

6. สนับสนุนการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อ ลดการใช้สารเคมีและการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน 150 ต้น 6 หมู่บ้าน

7. ส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน 6 หมู่บ้าน

5. โครงสร้างพื้นฐาน

1.ขาดหน่วยงานที่จะมาช่วยพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่มาใช้ด้านอุปโภค บริโภค และการเกษตร

1.พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร  6 หมู่บ้าน 12 จุด

2. สนับสนุนการสร้างจุดกระจายน้ำขนาดเล็กในแปลงปลูกพืช 9 จุด 4 หมู่บ้าน

6. ตลาด

1.ขาดตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจน

2.ขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองการจำหน่ายผลผลิตทางด้านการเกษตร

1.เน้นการจัดการคุณภาพผลผลิตเพื่อต่อรองในการจำหน่ายและรวมกลุ่มโดยมีระบบกลุ่ม ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการตนเอง

2.หาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจนมากขึ้น

7. อำนวยการ

1.มีหน่วยงานที่เป็นคณะทำงานให้ความร่วมมือในการทำงานในพื้นที่

1.ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล

2.เตรียมถ่ายโอนงานบางกิจกรรมให้แก่ชุมชนหรือหน่วยงานในท้องถิ่น

3.วางแผนในการคัดเลือกเกษตรกรผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีแปลงสาธิตที่เป็นแบบอย่างที่ดี

 

 

 

 

ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560)  , สำนักพัฒนา



ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560