ปัญหาและแนวทางการพัฒนา

ด้าน สถานการณ์/ปัญหา แนวทางการพัฒนา กิจกรรม

1. การวิจัย

1. ขาดงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง ที่จะทำให้งานวิจัยถูกนำไปใช้ต่อ

1. วิเคราะห์ความต้องการของชาวบ้านและความเหมาะสมในการนำงานวิจัยไปใช้ในพื้นที่

2. เลือกนำงานวิจัยที่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ได้จริง และเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

3. มีพื้นที่สาธิตหรือการทดลองเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวบ้านที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

1. การทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของโลหะอาซินิคในดิน

2. การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีในพืชผักและไม้ผล

 

2. การพัฒนาอาชีพ

1. ค่าครองชีพในชุมชนพื้นที่สูงต่ำกว่าชุมชนในพื้นที่ราบ แต่มีรายได้ต่ำ

2. ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตผลผลิตที่ตรงกับความต้องการของตลาดอื่นๆ

3. ยังไม่มีตลาดที่รองรับผลลิตทางการเกษตรที่แน่นอน

 1. ส่งเสริมอาชีพที่สร้างรายได้ โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมของชุมชน

2. สร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิต ที่จะสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อที่จะสามารถสร้างรายได้ได้

3. หาตลาดรองรับที่แน่นอน โปร่งใส และไม่กดดันราคา รวมทั้งรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดอำนาจในการต่อรองราคามากขึ้น  

1. ส่งเสริมการปลูกผักและผลไม้ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐาน GAP

2. จัดอบรมและศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาการผลิตในการส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆทั้งในและนอกภาคการเกษตร

3. การส่งเสริมให้เกษตรกรนำผลผลิตป้อนเข้าสู่กลุ่มเตรียมสหกรณ์ฯ เพื่อที่กลุ่มจะดำเนินการบริหารจัดการผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้ 

3. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

1. ชุมชนยังพึ่งพาตนเองได้น้อย

2. ขาดกลุ่มต่างๆที่ช่วยให้ชุมชนสามรถพึ่งตนเองได้

3. เยาวชนคนรุ่นใหม่เข้าไปทำงานในเมืองมากขึ้น ขาดแรงงานในระดับครัวเรือน และขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชมท้องถิ่น

1. สนับสนุนให้ชุมชนวางแผนการพัฒนาด้วยกระบวนการภายในชุมชนเป็นหลัก ให้เจ้าหน้าที่มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงและผู้ให้คำปรึกษา

2. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกฝังจิตสำนึกในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้มองเห็นความสำคัญของชุมชนและการช่วยเหลือกิจกรรมภายในชุมชน

 1. การทำแผนชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์แนวปัญหาและการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆของตนเองได้

2. จัดตั้งกลุ่มต่างๆขึ้น เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกผัก กลุ่มผู้ปลูกเสาวรส กลุ่มปลูกป่าชาวบ้าน เป็นต้น 

3. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนภายในชุมชน

4. ขับเคลื่อน กลุ่มสหกรณ์โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์มากที่สุด

4. การอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

 1. มีการลักลอบตัดไม้เพื่อนำมาสร้างบ้านและขายให้กับนายทุน

2. ชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

3. ชาวบ้านขาดการตระหนักถึงน้ำเสียหรือของเสียจากครัวเรือน ที่จะส่งผลกระทบต่อการสุขภาพอนามัยระยะยาว

1. ให้ความรู้ด้านกฎหมาย และใช้จารีตวิถีความเชื่อดั้งเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2. ส่งเสริมแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและเห็นผล ปรับระบบการทำการเกษตรโดยเน้นการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม

3. มีการจัดการน้ำเสียและของเสียจากครัวเรือนที่ถูกต้อง สามารถนำของเหลือจากครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ได้ 

 1. การส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้าน การฟื้นฟูป่าชาวบ้าน การจัดทำฝาย การทำแนวกันไฟป่า เป็นต้น

2. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. ส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงเพื่อให้สามารถจัดสรรพื้นที่ทำกินได้ และป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า

4. ส่งเสริมการลดใช้สารเคมี

5. ส่งเสริมการปลูกแฝกเพื่อยึดหน้าดินและดูดซับน้ำเสียในดิน

6. ส่งเสริมการเลี้ยงหมูหลุมโดยการนำเศษผักหรืออาหารเหลือใช้ไปเป็นอาหารหรือใส่ในคอกเพื่อทำเป็นปุ๋ยคอก

5. การตลาดและโลจิสติกส์

1. ชาวบ้านมีจุดพื้นที่ในการซื้อขายจำกัด ทำให้มีโอกาสในการซื้อขายสินค้าและผลผลิตน้อย

2. ชุมชนอยู่ห่างไกลทำให้การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก สินค้าและผลผลิตชำรุดเสียหาย ทำให้ไม่มีกำไร

3. ความเชื่อหมั่นในผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร

1. ส่งเสริมอาชีพใหม่ที่มีตลาดรองรับ และวางแผนการผลิตเพื่อรองรับความต้องการตลาดทางเลือกอื่นๆ

2. ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรด้านการขนส่งและการติดต่อประสานตลาดในเบื้องต้นก่อน 

3. ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการผลักดันและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่ 

4. สร้างแบรนสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจในผลผลิต โดยผ่านกระบวนการคัดบรรจุและการวิเคราะห์สารที่มีคุณภาพ

1. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพที่เพิ่มรายได้ และหาตลาดที่กว้างขึ้นเพื่อให้เกิดการกระจายผลผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกร

2. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเตรียมสหกรณ์ฯ  

3. มีแผนงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในทุกๆปี

4. สร้างโรงคัดบรรจุและโรงวิเคราะห์สาร

5. มีแบรนสินค้าภูภัณฑ์ ที่รับผลผลิตพืชผักและผลไม้ปลอดภัยจากเกษตรกรผ่านกลุ่มสหกรณ์ และกระบวนการคัดบรรจุที่ได้คุณภาพ

6. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

1. พื้นที่มีความลาดชันสูงมาก มีปัญหาดินสไลด์

2. พื้นที่ส่วนใหญ่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

3. ไม่มีสัญญาณคลื่นโทรศัพท์สำหรับติดต่อสื่อสาร

4. การคมนาคมยากลำบาก

5. ขาดน้ำในฤดูแล้ง

1. จัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก และไม่รุกล้ำพื้นที่ป่า ป้องกันปัญหาดินสไลด์

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่ 

3. พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการเกษตร

1. ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เสี่ยงต่อการสไลด์ของดิน และมีกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับหน่วยงานบูรณาการที่เกี่ยวข้อง

3. พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอุปโภค บริโภค  และการเกษตร

 

 

ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2559)  , สำนักพัฒนา   



ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2559