ปัญหาและแนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ สถานการณ์/ปัญหา เป้าหมาย/แนวทางการพัฒนา กลยุทธ์
1. การพัฒนาอาชีพบนพื้นฐานความรู้

1. การปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพด, กะหล่ำปลี)

2. มีการใช้สารเคมีสูง

3. ต้นทุนการผลิตสูง

4. ชนิดพืชที่ปลูกมีน้อย ไม่มีความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูก และไม่มีพืชทางเลือก

5. ราคาผลผลิตต่ำ

6. ไม่มีงบประมาณในการทำการเกษตร

7. พึ่งพาพ่อค้าคนกลาง

1. ขยายพื้นที่การดำเนินงาน อีก 3 ชุมชนให้ครบทุกชุมชน (7 ชุมชน)

2. ลดพื้นที่ข้าวโพด ปีละ 500 ไร่ (2,500 ไร่)

3. เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นปีละ 40 ราย (200 ราย) มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 2,000,000 บาท (10,000,000 บาท)

4. รับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นปีละ 40 ราย (200 ราย) ชนิดพืชเพิ่มขึ้นปีละ 2 ชนิด (10 ชนิด)

5. สร้างเกษตรกรผู้นำหมู่บ้านละ 15 คนต่อปี   (75 คน)

6. พัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้รับมาตรฐาน 1 ชุมชน

7. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ 7 ชุมชน 35 ฟาร์ม

1. ส่งเสริมการปลูกพืชผักใช้พื้นที่น้อยที่ให้ผลตอบแทนสูง ภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP)

2. ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้นและไม้ผลขนาดเล็ก

3. พัฒนาระบบการวิเคราะห์สารให้ได้มาตรฐานตามระบบโครงการหลวงและสามารถรองรับการวิเคราะห์สารในอนาคต

4. สร้างและพัฒนาเกษตรกรผู้นำเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่างๆ

5. พัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ได้รับมาตรฐานการท่องเที่ยว

6. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ

2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาด้านการตลาด

1. มีหนี้สินต่อครัวเรือนมาก  (หนี้นอกระบบ)

2. การออมเงินมีน้อย

3. ไม่มีการรวมกลุ่มอาชีพในชุมชน (ไม่เกี่ยวกับสหกรณ์)

4. เข้าไม่ถึงแหล่งทุน (สถาบันการเงิน)

1. จัดทำแผนชุมชนให้ครบทุกหมู่บ้าน (7 ชุมชน)

2. ส่งเสริมการออมเงินจากการจำหน่ายผลผลิต กก.ละ 2 บาท ทุกชุมชน (7 ชุมชน)

3. เพิ่มจำนวนสมาชิกสหกรณ์ฯปีละ 15 ราย (60 ราย) และเป็นจุดศูนย์กลางในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร

4. รวบรวมและจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบสหกรณ์ 1 สหกรณ์

5. จัดกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสะอาดทุกชุมชน (7 ชุมชน)

6. จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมทุกชุมชน (7 ชุมชน)

1. ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนและขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ

2. ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ และดำรงชีวิตให้อยู่ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. วางแผนการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มในชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

4. ส่งเสริมการออมเงินตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง

5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่ม (สหกรณ์ฯ)

6. จัดกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสะอาดทุกชุมชน

7. จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม

8. สร้างและพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่างๆ

3. การฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1. มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรปริมาณมาก

2. น้ำมีการปนเปื้อนของสารเคมี

3. มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร

4. มีการเผาพื้นที่ทำกินและเผาป่า

5. สัตว์ป่าอนุรักษ์ถูกฆ่า

6. การทิ้งขยะในชุมชน

1. จัดทำขอบเขตที่ดินรายแปลงให้ครบทุกชุมชน (7 ชุมชน)

2. ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทุกชุมชน 2,500 ไร่ (7 ชุมชน)

3. ส่งเสริมปลูกป่าชาวบ้าน ปีละ 30 ไร่ (150 ไร่)

4. เพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยปลูกไม้ผลยืนต้น 500 ไร่

5. การปรับปรุงบำรุงดินโดยการทำปุ๋ยหมัก ปีละ 30 ตัน  (150 ตัน)

6. การใช้สารเคมี/การคัดกรองโลหิต 7 ชุมชน (700 ราย)

7. ตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำ ปีละ 20 ตัวอย่าง

1. กำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2. ปลูกและฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

3. ส่งเสริมปลูกป่าชาวบ้าน

4. ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า

5. ส่งเสริมกิจกรรมการปรับปรุงบำรุงดินโดยการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ

6. รณรงค์ลดการใช้สารเคมี/การตรวจคัดกรองโลหิต

7. จัดตั้งธนาคารขยะ

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

1. พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดน้ำเพื่อการเกษตร
2. น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคมีไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง

3. ถนนเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอยากลำบาก

1. ปรับปรุงถนนเข้าสู่พื้นที่การเกษตร 7 ชุมชน

2. ก่อสร้างฝาย ถังพักน้ำพร้อมระบบส่งน้ำเพื่อการอุปโภคระบบ 7 ชุมชน

1. เสนอโครงการตามแผนชุมชนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานเกี่ยวข้อง
5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ  

1. อำนวยการประสานงานบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 1 แห่ง

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูล 1 แห่ง

1. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

2. พัฒนาระบบฐานข้อมูล

3. เตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน โดยผ่านระบบการเยี่ยมเยียน การเรียนรู้และเครือข่ายความรู้

 

 

 

ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560)  , สำนักพัฒนา 



ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560