ทรัพยากรดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงถ้ำเวียงแก พบกลุ่มชุดดินเพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มชุดดินที่ 62 และกลุ่มชุดดินที่ 3 โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 99  ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ 44.53 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินโคลน หินดินดาน หินทรายและหินทรายแป้งสีเขียวเทา และสีเขียวขี้ม้า

 

 

 

 

แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก


คลิกเพื่อขยาย

 

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 65.5 เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรรมการทำป่าไม้ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น และมีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ ห้วยน้ำยาวเป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านหมู่บ้านหางทุ่ง บ้างปางบุก และมีลำห้วยสาขา ได้แก่ น้ำควน ห้วยถ้ำหมี น้ำโมง เป็นลำน้ำสายหลักที่มีต้นกำเนิดมาจากดอยแปหลวง ดอยขุนน้ำปุก ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ มีลำน้ำสาขาได้แก่ น้ำพาน น้ำพานน้อย มีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำหลักคือ ลุ่มน้ำน่าน โดยแบ่งเป็นลุ่มน้ำ 2 สาขา ได้แก่ ลุ่มน้ำห้วยน้ำยาว ร้อยละ 92.16 และลุ่มน้ำแม่น้ำน่านตอนบน ร้อยละ 7.84

 

 


คลิกเพื่อขยาย

 


คลิกเพื่อขยาย

 

 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

           โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแกมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนป่าน้ำยาว และป่าน้ำสวด พื้นที่จำนวน 47,888.78 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 74.81 (ดังตารางที่ 1) มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) มากที่สุดร้อยละ 76.77 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน E) ร้อยละ 0.54 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ถ้ำเวียงแก

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด

76.62

47,888.78

74.81

นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์

25.80

16,122.94

25.19

รวม

102.42

64,011.71

100.00

 

ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ถ้ำเวียงแก

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

78.63

49,144.19

76.77

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

0.56

348.26

0.54

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

23.23

14,519.26

22.68

รวม

102.42

64,011.71

100.00

 

 

คลิกเพื่อขยาย

 

คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชาวบ้านรวมจำนวน 42ราย/85ไร่ สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและจัดระบบในแปลงปลูกไม้ผลจำนวน  30 ราย กล้าหญ้าแฝกรวม 150,000 กล้า กิจกรรมฟื้นฟูป่าชุมชนจำนวน 2 หมู่บ้านรวม 133 ไร่ กิจกรรมการจัดทำฝาย ทั้งฝายถาวร ฝายกิ่งถาวร และฝายดักตะกอนรวม 3 แห่ง กิจกรรมแหล่งน้ำขนาดเล็ก ได้สนับสนุนเพื่อใช้ประโยชน์ในแปลงเกษตรกร จำนวน 2 หมู่บ้าน สร้างแหล่งน้ำจำนวน 12 จุด  กิจกรรมสนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก จำนวน ๒ กลุ่มทุกปี  กิจกรรมสนับสนุนการทำแนวกันไฟ  2 กลุ่ม ทุกปี กิจกรรมรณรงค์ลดการใช้สารเคมี และลดการเผา ๓ หมู่บ้าน และจัดทำที่ดินรายแปลง จำนวน 4 บ้าน ซึ่งในระยะถัดไปจะดำเนินการนำกิจกรรมดังกล่าวไปขยายสู่หมู่บ้านเป้าหมายอื่นๆในปีถัดไป  

กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา

พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก

5,000 กล้า

 1 หมู่บ้าน

30,000

10 ราย

50,000

35 ราย

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยพืชสด

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

1 กลุ่ม 7 ตัน

25 ราย

2 กลุ่ม 15ตัน

32 ราย

1 กลุ่ม 22 ตัน

36 ราย

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

1 ครั้ง 13 ไร่

 

 

 

7ราย/12 ไร่

 

1 หมู่บ้าน

 

 

 

1 หมู่บ้าน

3 ครั้ง 134 ไร่

 

 

 

39ราย/83ไร่

 

3 หมู่บ้าน

 

 

 

3 หมู่บ้าน

3 ครั้ง 155 ไร่

 

 

 

42ราย/85ไร่

 

4 หมู่บ้าน

 

 

 

5 หมู่บ้าน

4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า

1 กลุ่ม 8 กิโลเมตร

54  ราย

2 ครั้ง 18 กิโลเมตร

123 ราย

2 ครั้ง 21 กิโลเมตร

183 ราย

5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม

7 ราย

1 หมู่บ้าน

39 ราย

4 หมู่บ้าน

42 ราย

5 หมู่บ้าน

6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก

 

 

9 แห่ง

4 หมู่บ้าน

9 แห่ง

5 หมู่บ้าน

7. การจัดทำฝาย

2 แห่ง

1 พื้นที่

3 แห่ง

1 พื้นที่

3 แห่ง

1 พื้นที่

8. ลดการเผา

672 ไร่

2 พื้นที่

1,264 ไร่

4 พื้นที่

1,294 ไร่

5 พื้นที่

 

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561