This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 21 พฤษภาคม 2555     อ่าน: 8,369 ครั้ง


     สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงน้อมนำองค์ความรู้และบทเรียนของโครงการหลวง ไปขยายผลสู่ชุมชนบนพื้นที่สูง ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยการจัดทำโครงการจัดการความรู้ และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” หรือ ศศช.ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 180 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 753 แห่ง โดยมีเป้าหมายดำเนินงานในพื้นที่ 12 จังหวัด 26 อำเภอ 58 ตำบล 180 กลุ่มบ้าน ครอบคลุมประชากรพื้นที่สูงจำนวน 8,811 ครัวเรือน 47,776 คน การดำเนินงานของโครงการเน้นการพัฒนา ศูนย์ ศศช. ให้มีความพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากร/ครู ศศช. เกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้ของโครงการหลวง ทักษะในการผลิตสื่อ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เช่น ระบบการจัดการความรู้ระบบการนิเทศ ระบบการติดตาม รวมทั้งการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ของโครงการหลวง ตลอดจนการจัดประชุม สัมมนา และการอบรมที่สำคัญเพื่อเอื้อต่อการ
บริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

     ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2553-2555) เสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 และคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่
5 สิงหาคม 2552

วัตถุประสงค์ ดังนี้

1) เพื่อศึกษารวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สูง การจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ และ
การผลิตสื่อสำหรับการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างกว้างขวาง

2) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ ชีวิตและความเป็นอยู่ รวมทั้งการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง ของหน่วยงาน องค์กร และ ชุมชนต่างๆ ทั้งในรูปแบบของกายภาพ และพื้นที่เสมือน เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการรู้ (To-know) การเรียนรู้ (To-learn) และการถ่ายทอดปรับเปลี่ยน (Transform) ร่วมกันภายใต้กระบวนทัศน์ของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างกระบวนการถ่ายทอดการ
เรียนรู้และการจัดการความรู้ภายใต้องค์ความรู้ของชุมชนในระดับต่างๆ

ผลการดำเนินงาน

     ปีงบประมาณ 2552 โครงการได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงครบ 180 แห่งในพื้นที่ 12 จังหวัด 26 อำเภอ โดยมีศศช. ที่ดำเนินงานโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2551 รวม 98 แห่ง และเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2552 อีก 82 แห่งรวมทั้งสิ้น 180 แห่ง ผ่านการดำเนินงาน โดยครู ศศช. และครูนิเทศก์ รวม 215 คน ภายใต้งบประมาณ 12,846,000 บาท โดยมีกิจกรรม รวม 13 กิจกรรมหลัก

1. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการ ปี 2552 จำนวน 1ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน
290 คนระหว่างวันที่ 23 – 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2551 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ ผลการประชุมได้แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2552 รวม 3 รูปแบบ คือ

     (1) แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2552 รายจังหวัด 12 จังหวัด
     (2) แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2552 รายอำเภอ 26 อำเภอ
     (3) แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2552 รายศศช. 180 ศศช.

    


2. การพัฒนาสื่อองค์ความรู้โครงการหลวงหลากหลายรูปแบบ เช่น


1) การจัดทำชุดการเรียนรู้โดยผลิตเป็น คู่มือครู หนังสือเรียน หนังสื่ออ่านเสริมประสบการณ์ การผลิตวีซีดี และบทวิทยุกระจายเสียง โดยให้เนื้อหาทุกเรื่องบรรจุอยู่ในสื่อทุกชนิด ซึ่งผลิตได้ดังนี้

     (1) ชุดการเรียนรู้ 3 เรื่อง ๆละ 500 เล่ม รวม 1,500 เล่ม
     (2) หนังสือเสริมประสบการณ์ 3 เรื่อง ๆละ 1,000 เล่ม รวม 3,000 เล่ม
     (3) วีซีดี 3 เรื่อง ๆ ละ 200 แผ่น รวม 600 แผ่น
     (4) บทวิทยุหรือบทหอกระจายข่าว 3 เรื่อง ๆละ 5 บท รวม 15 บท พิมพ์ 250 เล่ม สื่อทั้ง 3 เรื่อง (มารู้จักอะโวคาโด้กันเถอะ/การปลูกพริกกระเหรี่ยง/การปลูกข้าวโพดเหลื่อมถั่วโดยไม่ไถพรวน)

2) การจัดทำสื่อวิทยุภาคภาษาชาวเขาเผ่าม้งและเผ่ากะเหรี่ยงโดยออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ และสถานีวิทยุ กรป. 914 อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยออกอากาศทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 52 สัปดาห์ 2 ภาษา ในเนื้อหาที่สอดคล้องกับสื่อการเรียนรู้ที่โครงการผลิตขึ้น

3) การจัดทำวีดิทัศน์สรุปการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ ปี 2552 และวีดิทัศน์สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้ระยะที่ 1 (2550 – 2552) รวม 2 เรื่อง ๆ ละ 300 แผ่น

3. การพัฒนาศูนย์การเรียนที่เริ่มดำเนินงาน ปี 2552 จำนวน 82 แห่ง โดยการสนับสนุนครุภัณฑ์ให้กับศูนย์ต้นแบบ ศูนย์หลัก และศูนย์บริวาร เพื่อให้มีความพร้อมสูงสุดในการดำเนินงานถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยสถาบันโอนเงินให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด 12 จังหวัด ให้ทำหน้าที่เป็นสำนักผู้เบิกแทน โดยงบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,660,000 บาท เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ 324 รายการ

4. การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ในศศช.
โดยสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับศูนย์ ศศช. ทั้ง 180 แห่ง เพื่อจัดหาวัสดุประกอบการจัดกิจกรรมโดยสนับสนุนให้ศศช. ละ 6,000 บาท และทั้ง 180 ศศช. ได้ดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงให้กับผู้สนใจเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งได้ลงทะเบียนไว้จำนวน 4,722 คน ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง


    
    

 

5. การพัฒนาบุคลากร

1) จัดอบรมครู(ที่เข้าร่วมโครงการปี 2552) ในวันที่ 2 - 5 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2551 ณ สนามกีฬา 700 ปี จำนวน 1 รุ่น 91 คนเพื่อให้ครูได้เข้าใจและทราบถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการ

2) จัดอบรมครูนิเทศก์ ครู ศศช.ศูนย์ต้นแบบ จำนวน 32 คน เพื่อช่วยกันหาแนวทางในการขับเคลื่อน ผลักดันให้ศูนย์ต้นแบบสามารถทำหน้าที่ของศูนย์ต้นแบบได้อย่างสมบรูณ์ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 มกราคม2552 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะ

3) จัดอบรมเพิ่มเติมและฟื้นฟูครู โดยการเข้าค่ายเรียนรู้องค์ความรู้โครงการหลวง ระหว่างวันที่ 26 - 29 พฤษภาคม 2552 ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ และสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีผู้เข้าค่าย 216 คน

 
    
   

6. การนิเทศติดตามเพื่อเสริมขวัญและกำลังใจให้กับคุณครูทั้ง 215 คนใน 180 แห่งโดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) นิเทศโดยผู้เชี่ยวชาญชึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปดำเนินการ 3 ทีม 172 ศศช. 22 อำเภอ 8 จังหวัด

2) นิเทศโดยคณะทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จำนวน 82 ศศช. 13 อำเภอ 7 จังหวัด


 
 

 

7. การประชุมสัมมนา

1) การประชุมคณะทำงานโครงการ 4 ครั้ง /ต่อปี ซึ่งคณะทำงานโครงการประกอบด้วยบุคลากรจากมูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมรวม 4 ครั้ง 83 คน โดยเนื้อหาของการประชุมเป็นการพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการแต่ละไตรมาส และสรุปผลการดำเนินงานของโครงการในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นต้น

2) การประชุมสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน 4 หน่วยงาน ซึ่งดำเนินงานในช่วงวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 262 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2552 และพิจารณากรอบการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2553

8. การสำเนาวีดิทัศน์องค์ความรู้โครงการหลวง
จำนวน 15 เรื่องๆ ละ 300 แผ่น รวม 4500 แผ่น เพื่อสนับสนุนศศช. 180 แห่ง โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 115 แห่ง ซึ่งมีวีดิทัศน์ 15 เรื่อง

9. สำเนาโปสเตอร์องค์ความรู้โครงการหลวง จำนวน 9 เรื่องๆ ละ 500 แผ่น รวม 4500 แผ่น เพื่อสนับสนุนศศช. 180 แห่ง โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 115 แห่ง ซึ่งมีโปสเตอร์ 9 เรื่อง

10. จัดพิมพ์เอกสารองค์ความรู้โครงการหลวง 22 เรื่อง ๆ ละ 300 ฉบับ รวม 6600 ฉบับ เพื่อสนับสนุนศศช. 180 แห่ง โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 115 แห่ง เอกสารองค์ความรู้โครงการหลวง รวม 22

11. จัดพิมพ์สรุปงานโครงการ 3 ปี ในรูปแบบ สมุดบันทึก ปี 2553 จำนวน 500 เล่ม เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานทั้ง 4 หน่วยงาน ใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานโครงการ

 

    
    


12. การศึกษาดูงานของผู้บริหาร กศน.
ดำเนินการ วันที่ 15 – 17 กรกฎาคม 2552 โดยศึกษาดูงาน ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก มีผู้เข้าศึกษาดูงานจำนวน 32 คน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหาร กศน. ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ได้เข้าใจและทราบการดำเนินงานโครงการหลวงเพื่อจะได้มีแนวทางการทำงานร่วมกัน อย่างมีเป้าหมาย

13. การบริหารโครงการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รวม 3 คน ทำงานใน 12 เดือน เพื่อช่วยกันผลักดันให้กิจกรรมทั้ง 12 กิจกรรม บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ โดยสรุปชุมชนที่เป็นที่ตั้ง ศศช. ทั้ง 180 แห่ง มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ ช่วยให้ผู้คนในชุมชนกล้าคิด กล้าทำ และกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อปรับใช้ในวิถีชีวิตของคนในชุมชน นับเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้ก่อเกิดฐานองค์ความรู้ของชุมชนใน 180 แห่ง เกิดเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้ฯ ที่มากมาย ที่สำคัญเกิดความร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่งจากผู้คนในชุมชน





แนะนำองค์ความรู้
นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่งหรือกำลังเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลเทามีกลิ่นหอมคล้ายการบูร


กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ชื่อท้องถิ่น : ชัยพฤกษ์(กลาง)/ เปลือกขม (ปราจีนบุรี) ชื่อสามัญ : Wishing tree/ Pink shower/ Pink Cassia เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น


ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบ


กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน