This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 15 พฤศจิกายน 2555     อ่าน: 20,617 ครั้ง



ไก่ฟ้า ไก่ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะบนฟ้า


        ไก่ฟ้าคอแหวน เป็นหนึ่งในสองชนิด ของไก่ฟ้าที่เรียกกันว่า true pheasant หรือ common pheasant ซึ่งเป็นไก่ฟ้าที่เพาะเลี้ยงไว้ เพื่อนำไปปล่อย ให้คนล่าเป็นเกมกีฬา และนำมาปรุงเป็นอาหาร (สมาคมอนุรักษ์ไก่ฟ้าโลก หรือ World Pheasant Association : W.P.A. ได้กำหนดให้ไก่ฟ้าในสกุล Phasianus ได้แก่ ไก่ฟ้าคอแหวน และไก่ฟ้าสายพันธุ์อื่นๆ อีก 34 ชนิด เป็นไก่ฟ้าที่สามารถ เพาะเลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา และสามารถนำมารับประทานได้) ไก่ฟ้าคอแหวนชนิดที่แพร่หลายที่สุด คือ Chinese ring-neck pheasant (Phasianus colchicus, torquatus) มีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของจีน อาศัยอยู่ในพื้นที่ระดับต่ำถึงระดับความสูงปานกลาง ทำรังตามพงหญ้าหรือใต้ต้นไม้ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย ตัวผู้ตัวเดียวผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ตัวผู้ 1 ตัว สามารถผสมกับตัวเมียได้สูงสุดถึง 10 ตัว ในปีแรก ปริมาณไข่อาจยังน้อยอยู่ เมื่อเข้าสู่ปีที่สอง ตัวเมียให้ไข่ได้ 50 - 80 ฟอง แต่ช่วงปลายฤดูวางไข่ (ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป) ไข่มักไม่มีเชื้อ อย่างไรก็ดี หากให้แม่ไก่ฟ้าฟักไข่เอง ตามธรรมชาติโดยไม่เก็บไข่ แม่ไก่จะให้ไข่เพียง 8 - 14 ฟองเท่านั้น เพราะต้องใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 23 - 25 วัน ไก่ฟ้าคอแหวนนี้ มีข้อเสียตรงที่ตื่นตกใจง่าย ทำให้บินชนกรงจนหัวแตกหรือเกิดบาดเจ็บได้ง่าย ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีความระมัดระวังในการเลี้ยงอย่างมาก



        เป็นที่ทราบกันดีว่า มูลนิธิโครงการหลวงนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการส่งเสริม และพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การหาสัตว์ชนิดใหม่ๆ ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพที่ มีราคาสูง และชาวไทยภูเขา สามารถนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัวนั้น ก็อาจจะช่วยในการพัฒนาความเป็นอยู่ ของพวกเขาได้อีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัย การเลี้ยงไก่ฟ้า ในพื้นที่โครงการหลวงเกิดขึ้นตามมานั่นเอง โดยมูลนิธิโครงการหลวง ได้เริ่มมีการศึกษาวิจัยการเลี้ยงไก่ฟ้า ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และต่อมาได้รับมอบไข่ไก่ฟ้าจาก Mr.Jean-Michel Beurdeley ประเทศฝรั่งเศสเพิ่มมาอีก จำนวน 482 ฟอง โดยในช่วง 1-2 ปีแรก ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษา อัตราการฟัก และสมรรถภาพการผลิต รวมทั้งการปรับตัวของไก่ฟ้า ในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และหลังจากนั้นเป็นการเลี้ยงเพื่อจำหน่าย โดยมีแหล่งผลิตอยู่ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และปางดะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ ขุนวาง และแม่หลอด

        ไก่ฟ้าที่โครงการหลวงผลิตออกจำหน่ายนี้ มีจุดเด่นคือเนื้อที่แน่นและนุ่ม อีกทั้งยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้เสริม ให้แก่เกษตรกรบนดอย นอกเหนือจากการปลูกพืชได้อีกด้วย หากท่านใดสนใจอยากจะลองชิม  สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายตลาดโครงการหลวง หรือที่งานพัฒนาและส่งเสริมปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ได้ทุกเวลานะครับ


ลูกไก่ฟ้าช่วงอายุต่างๆ

 

ลูกไก่ฟ้าแรกเกิด

 

ลูกไก่อายุ 1 วัน

 

ลูกไก่อายุ 1 สัปดาห์

 

พ่อพันธุ์

 

ไก่ฟ้าขุนพร้อมจำหน่าย (อายุ 4 เดือน)


-----------------------------------------------


สุคีพ ไชยมณี  /เรียบเรียง
งานพัฒนาและส่งเสริมปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง /ข้อมูล





แนะนำองค์ความรู้
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย


ซิมบิเดียม

ซิมบิเดียม

ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง


กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้


กาหลง

กาหลง

กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน