This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 4 กุมภาพันธ์ 2556     อ่าน: 15,589 ครั้ง



เกษตรไม่เผา .............จะ.......ทำยังไง


        ปัญหาเรื่องหมอกควันพิษที่เกิดจากการเผาเศษพืช เป็นปัญหาที่คนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยต้องประสบทุกปี โดยเฉพาะในช่วง ฤดูร้อนเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และไม่ว่าสาเหตุของการเผาจะเกิดจาก 1.ไฟป่า (ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ) 2.การเผาพื้นที่รกร้าง 3.การหาของป่า 4.การกำจัดเศษพืช ฟางข้าว  และเศษข้าวโพดของเกษตรกร ล้วนก่อให้เกิดเศษฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นพิษ เราเรียกว่า (พีเอ็ม10) แขวนลอยสะสมในอากาศ ไม่ยอมตกลงสู่พื้นเพราะมีขนาดเล็กมาก ประกอบกับในช่วงนี้ มีลมสงบ และยังมีความเย็นจากความกดอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จึงไม่ลอยปลิวไปที่อื่น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ที่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

        หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพยายามหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ปัญหาการเผาเศษพืชยังเป็นปัญหาที่หลายหน่วยงานต่างพยายามแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ที่ได้วางแผนการแก้ไขปัญหาการเผาเศษพืชอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร โดยเริ่มต้นจากชุมชนชนเผ่าดาระอั้ง หรือ ที่เรียกตนเองว่าปะหล่อง ซึ่งเป็นชนเผ่า ที่รักสงบ ไม่รุกรานใคร ดำรงชีวิตอยู่กับวิถีแบบธรรมชาติ ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาศัยอยู่ในบริเวณเขตพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบน ปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 29 พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ การดำเนินของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

        สิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้จากวิถีชนเผ่าปะหล่อง ก็คือการปลูกพืชไร่ โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์และเหลือจำหน่ายสร้างรายได้ในครัวเรือน แต่การปลูกข้าวโพดของชาวปะหล่องบ้านปางแดงในจะไม่เหมือนที่ใดที่พบเห็นแน่นอน เพราะที่นี่ จะปลูกข้าวโพดแบบเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว ......คำถามอยู่ที่ว่าทำไมต้องปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว ซึ่งคำตอบจากที่เราสอบถามจากชาวบ้านปะหล่องและสังเกตเห็นก็คือ การปลูกข้าวโพดวิธีนี้ เกษตรกรไม่ต้องเสียเงินซื้อสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า)  เพราะปลูกข้าวโพดได้ช่วงเวลาหนึ่งก็ปลูกถั่วตามไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่วแปะยี ถั่วดำ ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตไม่ทันกับถั่ว ดังนั้นก็ไม่ต้องใช้สารกำจัดวัชพืช ไม่ต้องเสียเงิน แต่ได้เงินจากการขายข้าวโพดและได้ถั่วไว้กิน ไว้ขายด้วย

        ไม่เพียงเท่านี้ ที่นี่ยังมีการจัดการเรื่องเศษซังข้าวโพดที่ เรียกได้ว่าไม่เหลือให้ได้ทันกับการเผาทิ้ง ซึ่งจะเป็นการทำลายสภาพอากาศดีๆของอำเภอเชียงดาว โดยเริ่มจากหักข้าวโพดในไร่ เสร็จก็เหยียบย่ำต้นข้าวโพดให้ล้มและใช้คราดเกี่ยวมารวมกันเป็นแนวเติมมูลสัตว์นิดหน่อย ก็ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ใช้ในพื้นที่ ที่เรียกว่า คันปุ๋ยแล้ว ส่วนข้าวโพดที่เก็บจากไร่ใส่ตะกร้าเมื่อนำมาสีรวมกัน เหลือแกน เปลือก และซัง ก็นำกองรวมกันทำปุ๋ยหมักสูตรที่ไม่เหมือนใคร ที่เรียกว่า ปุ๋ยหมักไม่กลับกอง เพียงแค่นำเศษซังและเปลือกข้าวโพดมากองไว้สลับกับการเติมมูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นวางสลับกันได้ 15-17 ชั้น รดน้ำตามทิ้งไว้ 5 สัปดาห์ก็ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์นำไปใช้ได้แล้ว ซึ่งวิธีการทำปุ๋ยหมักชนิดนี้ก็เหมือน การทำขนมชั้นนี่เอง

        จากขั้นตอนวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่าการทำการเกษตรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่พึ่งพาสารเคมี แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการเผา เสริมรายได้ในครัวเรือน เป็นต้นแบบพื้นที่อื่นๆจ ะนำไปปรับใช้ได้.....

 

 

 


ที่มา: ภาคภูมิ ดาราพงษ์  เรียบเรียงและรวบรวม





แนะนำองค์ความรู้
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบ


หางแมว

หางแมว

หางแมว หางกระรอก เขียวพระสุจริต เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน


หอคำหลวง

หอคำหลวง

เป็นส่วนแสดงสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน