This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 19 พฤศจิกายน 2557     อ่าน: 8,099 ครั้ง


 


คันปุ๋ยหมัก คืออะไร
 
ในวารสาร สวพส. หลายฉบับที่ผ่านมาผู้อ่านคงได้ทราบถึงวิธีการผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพหลากหลายรูปแบบแล้วนะครับ สำหรับในฉบับนี้ผมจะขอนำเสนอรูปแบบการทำปุ๋ยหมักรูปใหม่ที่แปลกไปจากแบบเดิมที่ทุกท่านรู้จัก ซึ่งรับรองว่าการทำปุ๋ยหมักวิธีนี้ทุกท่านสามารถจะนำไปปรับใช้ในไร่ในสวนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ที่มีไร่มีสวนเป็นที่ดอน หรือเป็นที่ตามแนวเทือกเขาก็สามารถนำไปใช้ได้ ที่สำคัญวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จุกจิก และยิ่งไปกว่านั้นคือ วิธีการทำปุ๋ยชนิดนี้ทำที่ไหน ใช้ที่นั่นได้ทันที.....น่าสนใจใช่ไหมครับ
 


รูปแบบหรือวิธีการที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ เราเรียกมันว่า “ คันปุ๋ยหมัก ” ครับ  ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยปรับปรุงบำรุงบางท่านเรียกว่า “ คันปุ๋ย”  แต่ผมจะเรียกมันเป็นภาษาทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เก๋ๆว่า  Contour ปุ๋ย หรือ ปุ๋ย Contour ครับ  เพราะอะไรหรือครับหลายคนสงสัย ?  คำตอบก็คือ เพราะวิธีการทำปุ๋ยชนิดนี้มักจะทำตามแนวระดับของพื้นที่ดอนหรือพื้นที่สูงทั่วไป ยังไงหละครับ
 

เจ้าคันปุ๋ยหมักที่ว่านี้แท้ที่จริงก็คือการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในพื้นที่แปลงปลูกพืชตามแนวระดับ โดยการนำเศษพืชรวมทั้งเศษกิ่งไม้มากองรวมกันเป็นแนวยาวตามเส้นแนวระดับในพื้นที่จากนั้นก็นำมูลสัตว์ที่หาได้ในไร่ในสวน อาจะเป็นมูลโค มูลสุกร ฯลฯ มาโรยทับกองเศษพืชที่นำมากองไว้ ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพ หรือ สารเสริมประสิทธิภาพทางดิน รวมทั้งธาตุอาหารรองในดินชนิดต่างๆ  (ถ้ามี) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำคันปุ๋ยหมัก หากสังเกตให้ดีจะพบว่าวิธีการทำคันปุ๋ยหมักนี้จะเป็นวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองอย่างง่าย หรือ  ปุ๋ยหมักสูตรขนมชั้น. (หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคอลัมน์ ต้องลองปุ๋ยหมักไม่กลับกองในวารสารสวพส.ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556) แต่แตกต่างตรงที่การเรียงจำนวนชั้นจะทำเพียงชั้นเดียว ในขณะที่ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกับกองจำทำประมาณ 15-17 ชั้น
 


ข้อดีของการทำคันปุ๋ย
หมัก หรือ คันปุ๋ย ก็คือสามารถทำปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินในแปลงใช้เองในสวนได้ทันทีไม่ต้องขนย้ายออกจากสวน เป็นการประหยัดเวลา และแรงงานในการขนย้าย นอกจากนี้การทำแนวคันปุ๋ยตามแนวระดับจะเป็นการช่วยชะลอการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชัน แต่ผลพลอยได้ที่ได้จากการทำคันปุ๋ยหมักเป็นเวลานานก็คือ พื้นดินตามแนวขวางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำนาที่ดอน หรือทำแปลงปลูกพืชต่อไปได้
 

เป็นยังไงบ้างหละครับปุ๋ยหมักสูตรเด็ดที่ผมแนะนำในฉบับนี้...ไม่ยากเลยใช่ไหมละคับลองไปทำกันดูนะครับ แต่หากผู้อ่านยังสงสัยและอยากจะเห็นเจ้าคันปุ๋ยหมักของจริงก็เชิญไปแวะชมได้นะครับที่บ้านแม่จอน พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หรือจะไปแวะชมที่ บ้านศรีบุญเรือง โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำน่านโป่งคำ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับสวัสดีครับ
 

------------------------------------------

ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 5





แนะนำองค์ความรู้
สารภี

สารภี

เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ดอกสีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อย 7-9 ดอก ผลแก่สีเหลืองมีรสหวานอ่อนๆ


มะม่วง

มะม่วง

โครงการหลวงส่งเสริมการปลูกมะม่วงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่ผ่านการวิจัยและให้ผลดี มีคุณภาพให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า 4 พันธุ์ คือ นวลคำ ปาล์มเมอร์ อาร์ทูอีทู เออร์วิน


การปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80

การปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชนิด พันธุ์ และการปลูกการดูแลรักษาสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80


เฮลิโคเนีย

เฮลิโคเนีย

เฮลิโคเนียเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้องการดูแลรักษาไม่มากนัก เมื่อเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น เป็นที่นิยมในวงการตกแต่งสวน



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน