This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 19 พฤศจิกายน 2557     อ่าน: 8,251 ครั้ง


 


คันปุ๋ยหมัก คืออะไร
 
ในวารสาร สวพส. หลายฉบับที่ผ่านมาผู้อ่านคงได้ทราบถึงวิธีการผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพหลากหลายรูปแบบแล้วนะครับ สำหรับในฉบับนี้ผมจะขอนำเสนอรูปแบบการทำปุ๋ยหมักรูปใหม่ที่แปลกไปจากแบบเดิมที่ทุกท่านรู้จัก ซึ่งรับรองว่าการทำปุ๋ยหมักวิธีนี้ทุกท่านสามารถจะนำไปปรับใช้ในไร่ในสวนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ที่มีไร่มีสวนเป็นที่ดอน หรือเป็นที่ตามแนวเทือกเขาก็สามารถนำไปใช้ได้ ที่สำคัญวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จุกจิก และยิ่งไปกว่านั้นคือ วิธีการทำปุ๋ยชนิดนี้ทำที่ไหน ใช้ที่นั่นได้ทันที.....น่าสนใจใช่ไหมครับ
 


รูปแบบหรือวิธีการที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ เราเรียกมันว่า “ คันปุ๋ยหมัก ” ครับ  ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยปรับปรุงบำรุงบางท่านเรียกว่า “ คันปุ๋ย”  แต่ผมจะเรียกมันเป็นภาษาทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เก๋ๆว่า  Contour ปุ๋ย หรือ ปุ๋ย Contour ครับ  เพราะอะไรหรือครับหลายคนสงสัย ?  คำตอบก็คือ เพราะวิธีการทำปุ๋ยชนิดนี้มักจะทำตามแนวระดับของพื้นที่ดอนหรือพื้นที่สูงทั่วไป ยังไงหละครับ
 

เจ้าคันปุ๋ยหมักที่ว่านี้แท้ที่จริงก็คือการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในพื้นที่แปลงปลูกพืชตามแนวระดับ โดยการนำเศษพืชรวมทั้งเศษกิ่งไม้มากองรวมกันเป็นแนวยาวตามเส้นแนวระดับในพื้นที่จากนั้นก็นำมูลสัตว์ที่หาได้ในไร่ในสวน อาจะเป็นมูลโค มูลสุกร ฯลฯ มาโรยทับกองเศษพืชที่นำมากองไว้ ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพ หรือ สารเสริมประสิทธิภาพทางดิน รวมทั้งธาตุอาหารรองในดินชนิดต่างๆ  (ถ้ามี) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำคันปุ๋ยหมัก หากสังเกตให้ดีจะพบว่าวิธีการทำคันปุ๋ยหมักนี้จะเป็นวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองอย่างง่าย หรือ  ปุ๋ยหมักสูตรขนมชั้น. (หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคอลัมน์ ต้องลองปุ๋ยหมักไม่กลับกองในวารสารสวพส.ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556) แต่แตกต่างตรงที่การเรียงจำนวนชั้นจะทำเพียงชั้นเดียว ในขณะที่ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกับกองจำทำประมาณ 15-17 ชั้น
 


ข้อดีของการทำคันปุ๋ย
หมัก หรือ คันปุ๋ย ก็คือสามารถทำปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินในแปลงใช้เองในสวนได้ทันทีไม่ต้องขนย้ายออกจากสวน เป็นการประหยัดเวลา และแรงงานในการขนย้าย นอกจากนี้การทำแนวคันปุ๋ยตามแนวระดับจะเป็นการช่วยชะลอการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชัน แต่ผลพลอยได้ที่ได้จากการทำคันปุ๋ยหมักเป็นเวลานานก็คือ พื้นดินตามแนวขวางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำนาที่ดอน หรือทำแปลงปลูกพืชต่อไปได้
 

เป็นยังไงบ้างหละครับปุ๋ยหมักสูตรเด็ดที่ผมแนะนำในฉบับนี้...ไม่ยากเลยใช่ไหมละคับลองไปทำกันดูนะครับ แต่หากผู้อ่านยังสงสัยและอยากจะเห็นเจ้าคันปุ๋ยหมักของจริงก็เชิญไปแวะชมได้นะครับที่บ้านแม่จอน พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หรือจะไปแวะชมที่ บ้านศรีบุญเรือง โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำน่านโป่งคำ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับสวัสดีครับ
 

------------------------------------------

ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 5





แนะนำองค์ความรู้
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


องุ่น

องุ่น

องุ่นเป็นไม้ผลชนิดเถาเลื้อยที่มีอายุยานานหลายปี สามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศหลายแบบ...


ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

“ไฮเดรนเยีย ช่อชั้น หลากสี พื้นถิ่นไม้หนาวนี้ พรั่งพร้อม งดงามอุทยานที่ ราชพฤกษ์ ขาวม่วงชมพูล้อม อีกฟ้างามตา”


สะแตติส เพอริซิอาย

สะแตติส เพอริซิอาย

สะแตติส เพอริซิอาย (Limonium spp.) เป็นไม้ตัดดอกที่มีสีสันที่สวย มีจุดเด่นเฉพาะตัว คือสามารถตัดขาย



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน