This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 11 เมษายน 2555     อ่าน: 6,330 ครั้ง




จากผู้จัดทำ

วิทยาการที่ก้าวหน้าประกอบกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เป็นปัจจัยสำคัญที่นับวันก็ยิ่งทำให้ผู้คนลืมเลือนวิทยาการแบบเดิมๆ ซึ่งกว่าจะกลั่นกรองออกมาเป็น "ภูมิปัญญา" ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้ภาคภูมิใจนั้น เชื่อว่า ภูมิปัญญาหลายอย่างก็คงตกหล่นตามหนทางของกาลเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงของสังคมจากรุ่นสู่สรุ่นไปไม่น้อย อย่างไรก็ตามจะมีสักกี่คนที่ได้สัมผัสถึงคุณค่าที่แท้จริงของ "ภูมิปัญญา" เหล่านั้น หรือจะมีใครที่จะสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านั้นต่อไป


เรื่องราวพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นชุมชนโป่งคำชุดนี้ เป็นความภูมิใจของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ซึ่งจากการเข้าไปดำเนินงานวิจัยในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ทีมวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พบว่า พืชพรรณบางชนิดที่พบ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่เฉพาะถิ่น มีการกระจายพันธุ์ในจังหวัดอื่นน้อย เช่น มะไฟจีน มะสิดรั้ง (เกาลัดเปลือกอ่อน) สะเลียมไค้มัน ข้าวหลามดง ผักดีด เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่า อาจจะติดมากับผู้คนหรือแม่น้ำที่ไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน


ชุมชน "โป่งคำ" เป็นชุมชนที่น่ารักและมีเสน่ห์เฉพาะตัว ที่ยังคงความงดงามทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี และทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังตั้งอยู่ไม่ไกลจาก "ภูฟ้า" หรือโครงการภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งตลอดการจัดทำหนังสือชุดนี้ ได้รับความเือื้ออารีจากชุมชนโป่งคำเป็นอย่างมาก ทั้งอนุเคราะห์ข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพืชชนิดต่างๆ ตลอดจนช่วยนำทางไปค้นหาต้นพืช หรือแม้แต่ที่พักและข้าวปลาอาหารที่นี่ก็ยังให้ความเมตตากับคณะผู้จัดทำเหมือนเป็นลูกหลานของชุมชนเช่นกัน


หนังสือ "พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 2" จึงเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจร่วมกันของคณะผู้จัดทำและชุมชนโป่งคำ ที่จะให้หนังสือชุดนี้สร้างคุณค่าและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนโป่งคำและผู้ที่สนใจต่อไป


ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ ร้านหนังสือสุริวงศ์ บุ๊คเซ็นต์เตอร์ ร้านหนังสือดวงกมล เชียงใหม่ องค์การสวนพฤกษ์ศาสตร์ อ.แม่ริม และศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-328496 - 8 ต่อ 1101 ราคาเล่มละ 350 บาท






แนะนำองค์ความรู้
กาหลง

กาหลง

กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว


ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

“ไฮเดรนเยีย ช่อชั้น หลากสี พื้นถิ่นไม้หนาวนี้ พรั่งพร้อม งดงามอุทยานที่ ราชพฤกษ์ ขาวม่วงชมพูล้อม อีกฟ้างามตา”


การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

การปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน


การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน