This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 15 สิงหาคม 2555     อ่าน: 10,956 ครั้ง


This text will be replaced

การเลี้ยงหมูหลุม


        การทำการปศุสัตว์บนพื้นที่สูง ต้องคำนึงถึงผลกระทบและปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะในด้านของภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา มีที่ราบน้อย เกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงสุกรไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และใช้ร่วมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยลักษณะการเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยง โดยผูกสุกรไว้กับเสาบ้าน หรือเลี้ยงแบบปล่อย หรือมีการเลี้ยงแบบขังคอกโดยใช้พื้นไม้หรือพื้นดินธรรมดา เป็นพื้นคอก

        จากการที่กรมปศุสัตว์ได้จัดทำระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรขึ้น เพื่อ เป็นการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงสุกร เพื่อคุ้มครอบผู้บริโภคและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยเนื้อหาของระเบียบดังกล่าว จะกล่าวถึงองค์ประกอบของฟาร์มและการจัดการที่สำคัญ 3 ด้านของฟาร์มสุกร ได้แก่ การจัดการฟาร์ม การจัดการสุขภาพสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม

        แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะเกษตรกรบนพื้นที่สูงแล้ว มีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการจัดการฟาร์มเพื่อให้ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานได้ ดังนั้นแนวทางเป็นไปได้สำหรับเกษตรกรบนพื้นที่สูง คือการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามหลักของการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และความยั่งยืนในเลี้ยงสัตว์

        ดังนั้นการเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งเป็นการนำเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น มาช่วยในการบำบัดกลิ่น โดยอาศัยการหมักมูลสุกร และอาศัยเทคนิคหลายอย่างซึ่งแตกต่างกับการเลี้ยงสุกรทั่วไป ทั้งในด้านการจัดการและในด้านของอาหาร ทำให้ประหยัดต้นทุนการเลี้ยง ลดกลิ่นเหม็นรบกวน รวมทั้งยังได้ปุ๋ยไว้ใช้ในสวนไร่นาอีกด้วย จึงนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้

 

ขอขอบคุณ

- มูลนิธิโครงการหลวง
- สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
- โครงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์
- โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า
- กลุ่มผูเลี้ยงหมูหลุมบ้านห้วยเป้า
- สำนักงานปศุสัตว์ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


วิดีโอบน YouTube http://youtu.be/NcFp2_IB0Eg





แนะนำองค์ความรู้
เบาบับ..ต้นไม้มหัศจรรย์

เบาบับ..ต้นไม้มหัศจรรย์

“ต้นเบาบับ (Baobab Tree)” ต้นไม้ชื่อแปลกไม่คุ้นหูต้นนี้หลายคนคงนึกสงสัย แต่อันที่จริงเราอาจเคยรู้จักต้นเบาบับมาแล้ว หากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Lion King คงจะจำภาพต้นไม้ประหลาดที่ตัวละครชื่อ Rafikiได้


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


เฮมพ์ หรือ กัญชง

เฮมพ์ หรือ กัญชง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เส้นใยเฮมพ์เพื่อนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตเส้นใยเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน