This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 10 พฤษภาคม 2555     อ่าน: 5,480 ครั้ง


 
โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกเฮมพ์และการแปรรูป


        ปีงบประมาณ 2553 เป็นการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ 2552 ในด้านการปรับปรุง สายพันธุ์เฮมพ์ต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สายพันธุ์ ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำลง การศึกษาเพื่อพัฒนา กลุ่มเกษตรกรในการผลิต แปรรูป และจำหน่ายเฮมพ์ ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน การศึกษาเพื่อขยายผล โครงการนำร่องการส่งเสริมเฮมพ์ไปยังพื้นที่สูงอื่น ที่มีศักยภาพ โดยแบ่งเป็น 7 โครงการย่อย ดังนี้

1. การคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ และเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง พร้อมทั้งศึกษาวิจัย การรักษาเชื้อพันธุ์ และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ประชากรรุ่นลูก (M2) ของทุกพันธุ์มีปริมาณสาร THC ลดลง โดยประชากรกลุ่ม non-drug type มีจำนวนเพิ่มขึ้น กลุ่ม drug type มีจำนวนลดลง และสามารถคัดเลือกต้นที่มีสาร THC ต่ำกว่า 0.3 % และมีเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงกว่า 15% ได้ นอกจากนี้ ยังได้ปลูกรักษาเชื้อพันธุ์ และขยายเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำไปใช้ส่งเสริม เกษตรกรที่ร่วมโครงการ ผลผลิตของเมล็ดพันธุ์ขยาย (Extension seeds) ที่คาดการณ์ว่าจะได้รับ คือ พันธุ์ V50 และพันธุ์ห้วยหอย พันธุ์ละ 200 กก. พันธุ์แม่สาใหม่ 150 กก.และ พันธุ์ปางอุ๋ง 100 กก.

 

 

2. การศึกษาวิธีเขตกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตเส้นใยเฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การปลูกเฮมพ์ด้วยวิธีเขตกรรม แบบระบบอินทรีย์ ทำให้พันธุ์แม่สาใหม่ มีการเจริญเติบโต ทางลำต้นสูง และให้เส้นใยมากกว่าพันธุ์อื่น

3. การศึกษาวิจัยและพัฒนา วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ให้มีคุณภาพสูงสุด จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์แม่สาใหม่ และแม่แฮ เก็บเกี่ยวขณะที่ใบสีเหลืองร่วงหล่น เมล็ดมีสีน้ำตาลประมาณ 80% ในช่อเมล็ดและ พันธุ์อ่างขาง และปางอุ๋ง เก็บเกี่ยวเมื่อใบเริ่มแห้ง เมล็ดมีสีน้ำตาล 100% และเก็บเมล็ดที่มีความชื้นต่ำกว่า 9%ในสภาพปิดสนิท เช่น ในถุงฟรอยด์ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งจะสามารถคงความงอกและความแข็งแรงได้

 

 

 

4. การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยเฮมพ์ และการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาวิจัยทำให้ได้ เส้นใยเฮมพ์ที่ความนุ่ม และขาวนวล นำมาปั่นเป็นเส้นใยได้ 3 ขนาดตามที่กำหนด อีกทั้ง ยังสามารถปั่นร่วมกับ เส้นใยชนิดอื่นได้ดี และเมื่อนำไปย้อมสีธรรมชาติ ได้เส้นใยที่มีความคงทน ติดสีดี ไม่ตกสี นำไปทอร่วมกับ เส้นใยอื่นและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ได้

5. การศึกษาวิจัยและทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์เฮมพ์ พบว่า ตลาดพึงพอใจต่อขนาด (เบอร์ 12) ของเส้นใย ด้านความสะอาด ความเรียบ สม่ำเสมอของเส้นใย อยู่ในระดับใช้ได้ ส่วนความนุ่ม และความหลากหลายของขนาดเส้นใย ต้องปรับปรุง เพื่อให้มีความหลากหลาย ต่อการนำไปประยุกต์ใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์

6. การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ของการเพาะปลูกเฮมพ์บนพื้นที่สูง พบว่า การผลิตเฮมพ์ในระดับแปลงเกษตรกร มีต้นทุนการผลิตเส้นใยเฉลี่ย 178 บาท/กก. หรือคิดเป็น ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 5,343 บาท/งาน  โดยเป็นค่าต้นทุนวัสดุ 11% แรงงาน 83% คงที่ 6% ซึ่งหากนำเครื่องมือทุ่นแรง มาใช้แทนแรงงานคนจะทำ ให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้

 

 

 

7. การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์อย่างเป็นระบบ สู่วิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืนในพื้นที่นำร่อง ทั้งในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการขยายผลโครงการหลวง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ได้รับอนุญาต จากกองควบคุมวัตถุเสพติด และใบอนุญาต มีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และจัดทำทะเบียน เกษตรกรผู้เข้าร่วมการปลูกเฮมพ์ ใน 5 พื้นที่โครงการหลวง คือ แม่สาใหม่ แม่แฮ อินทนนท์ ขุนวาง และปางอุ๋ง จำนวน 41 ราย 16.08 ไร่ และ 3 พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง คือ ถ้ำเวียงแก ปางหินฝน และป่ากล้วย จำนวน 43 ราย นอกจากนี้ คัดเลือกเกษตรกร เพื่อปลูกและแปรรูป เส้นใยให้เป็นผลิตภัณฑ์ เตรียมเข้าสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน

        สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้ให้ทุนสนับสนุน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ในการจัดทำโครงการจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ภาคเหนือ เพื่อจัดทำแผน ปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์ บนพื้นที่สูงภาคเหนือระยะ 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) ภายใต้แนวทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ภาคเหนือ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553



ที่มา: สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)



งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม


ปทุมมาและกระเจียว

ปทุมมาและกระเจียว

ปทุมมาและกระเจียว เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันมานาน


กระต่าย

กระต่าย

กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่เลี้ยงง่าย กินอาหารไม่เลือก แพร่ขยายพันธุ์ได้เร็ว มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง และมีวงจรในการผลิตสั้น...


พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีชเป็นไม้ผลเขตหนาวประเภทรับประทานผลสด จะผลิใบปลายฤดูหนาว และออกดอกสีชมพู สวยงามมาก



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน