This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 7 สิงหาคม 2555     อ่าน: 7,780 ครั้ง


      โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวง

        มุ่งศึกษากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชผัก 5 ชนิด คือ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เบบี้ฮ่องเต้ ข้าวโพดหวานสองสี ยอดซาโยเต้ และแตงกวาญี่ปุ่น เพื่อประเมินการสูญเสียที่เกิดขึ้น ตั้งแต่จากแปลงปลูกจนถึงร้านค้าหรือลูกค้าส่งออก วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ได้ต้นแบบที่ดี (Best Practices) ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวงที่มีมูลค่าหรือมีศักยภาพในการส่งออกทั้งระบบ โดยลดการสูญเสียของผลผลิตพืชผักโครงการหลวงหลังการเก็บเกี่ยวให้สามารถรักษาคุณภาพ ยืดอายุของผลผลิตและสามารถวางจำหน่ายในตลาดได้นานขึ้น โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

 

 

ชนิดพืช

ก่อน ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ

หลัง ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 63.79 %

สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.40 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจที่ตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมาจากศูนย์ฯ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.80 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจไม่ได้เปลี่ยนตะกร้าพลาสติกจากแปลงปลูกของเกษตรกรและรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

เบบี้ฮ่องเต้

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.14 %

สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ โดยจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร  

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 29.97 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยฟองน้ำ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว  26.57 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยถุงแอคทีฟ

ข้าวโพดหวานสองสี

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.85 %

สาเหตุ เนื่องจากแมลงและจากมีเมล็ดไม่เต็มฝัก และจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.33 %  และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดที่ร้านค้าโครงการหลวงมีปริมาณใกล้เคียงกับที่แปลงปลูกของเกษตรกร

ยอดซาโยเต้

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 39.37 %

สาเหตุ เนื่องจากทางสรีรวิทยา (เหี่ยว) เป็นหลัก ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียมากที่สุดเกิดขึ้นที่งานคัดบรรจุกรุงเทพฯ 

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 19.43 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 18.80 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ

แตงกวาญี่ปุ่น

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.11 %

สาเหตุ เนื่องจากเกิดจากผลแตงกวาญี่ปุ่นมีลักษณะรูปร่างโค้งงอและรูปร่างผิดปกติมากที่สุด  ซึ่งพบความสูญเสียเกิดขึ้นที่แปลงปลูกของเกษตรกรมากที่สุด 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.65 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.39 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ

ไม่พบความสูญเสียจากสาเหตุทางสรีรวิทยาซึ่งทำให้แตงกวาญี่ปุ่นแสดงอาการปลายผลเหี่ยวตลอดห่วงโซ่อุปทาน




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
รำเพย

รำเพย

เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 2-3 เมตร ดอกสีเหลือ สีขาวหรือสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งมีดอกย่อย 3-4 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 3

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 3

กุหลาบพระนาม ควีนสิริกิติ์ เป็นลูกผสมระหว่างกุหลาบพันธุ์ Konigin der Rosen และ Gloden Giant ซึ่งลูกผสมใหม่เรียกเป็นสายพันธุ์ Perr Gynt


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


ข้าวโพดหวาน

ข้าวโพดหวาน

ข้าวโพดหวานจัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูงและมีปริมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน