This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 8 ธันวาคม 2556     อ่าน: 6,419 ครั้ง



โครงการวิจัยการฟื้นฟูแหล่งอาหาร (Food Bank)
และความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง


ปัจจุบันพื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงไปเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้พันธุกรรมที่เป็นประโยชน์ในอดีตบางประเภทลดน้อยลงไปหรือบางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี ทำให้ความเป็นประโยชน์จากป่าที่ใช้เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ยา สมุน ไพร และพลังงานลดลง การฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ของป่าด้วยการเพิ่มพันธุกรรมที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของชุมชนเข้าสู่ป่า จะเป็นการช่วยเร่งให้เกิดการเจริญเติบโต แพร่พันธุ์ได้เร็วและเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าชุมชนมีการจัดการที่ดีเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงให้พันธุกรรมเหล่านั้นเป็นแหล่งแพร่พันธุ์อย่างต่อเนื่อง ในที่สุดความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่างๆเหล่านั้นก็จะเกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์

โครงการวิจัยการฟื้นฟูแหล่งอาหาร (Food Bank) และความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง หนึ่งในโครงการของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)  ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ภายใต้หลักการของโครงการธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) ตามพระราชดำริ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมกับ 54 ชุมชน ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง และโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน ใน 7 จังหวัด ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และกาญจนบุรี โดยมีทีมนักวิจัยเข้าสำรวจพืช ผัก ที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของชุมชน สนับสนุนชุมชนในการรวบรวมส่วนขยายพันธุ์ โดยหลีกเลี้ยงการทำลายพ่อแม่พันธุ์ แล้วนำกลับไปเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ในโรงเรือน พื้นที่ครัวเรือน เพื่อเป็นคลังชีวภาพของชุมชน  มุ่งเน้นการฟื้นฟูพืชอาหาร สมุนไพร และพลังงานในท้องถิ่น ทั้งที่สูญหาย ใกล้สูญหาย หรือยังมีอยู่ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และพัฒนาชุมชนต้นแบบ ที่สามารถสร้างรายได้จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารและยาสมุนไพรสำหรับใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอและลดการพึ่งพาจากภายนอก เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายชุมชน และขยายผลสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงอื่นต่อไป

กว่า 5 ปีที่เริ่มโครงการมา ได้เข้าดำเนินงานใน 31 พื้นที่ 54 ชุมชน 8 ชนเผ่า ได้แก่ ชนพื้นเมือง กะเหรี่ยง ม้ง เย้า อาข่า ปะหล่อง ไทยใหญ่ และลั๊วะ ได้รวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง จำนวน 1,262 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย พืชอาหาร สมุนไพร พืชพลังงาน พืชให้สีย้อมธรรมชาติ พืชพิษ พืชใช้สอยอื่นๆ โดยบางชนิดนั้นเป็นพืชหายากหรือใกล้สูญหาย เช่น ตีนฮุ้งดอย  หวายหนามเกี้ยว  ขมิ้นต้น  หงส์ผาคำ โลงเลง คานหาน และมะกิ้ง ฯลฯ โดยทางโครงการได้อนุรักษ์และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาและขยายพันธุ์ปัจจุบันมีการขยายพันธุ์และปลูกฟื้นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งอาหาร  สมุนไพร และพลังงานใน 41 ชุมชน รวม 890 ชนิด แบ่งเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ 1,032 ไร่ และพื้นที่สวนหลังบ้าน 110 ครัวเรือน จำนวน 70 ไร่  เช่น ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เต่าร้าง ต้างหลวง หวาย เชียงดา ผักเฮือด ผักฮาก มะขม ลูกเนียง ตองหอม และเฮาะที เป็นต้น

 

------------------------------------------

ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 2




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
กระเทียมต้น

กระเทียมต้น

กระเทียมต้นจัดอยู่ในวงศ์ Alliaceae (Amaryllidaceae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอเรเนียน


วัฒนธรรมและลายผ้าทอคะฉิ่น

วัฒนธรรมและลายผ้าทอคะฉิ่น

ชาวคะฉิ่นอพยพจากทางใต้ประเทศทิเบตบริเวณต้นแม่น้ำอิระวดี และยังคงสือทอดวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น


เฮมพ์ หรือ กัญชง

เฮมพ์ หรือ กัญชง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เส้นใยเฮมพ์เพื่อนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตเส้นใยเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


รำเพย

รำเพย

เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 2-3 เมตร ดอกสีเหลือ สีขาวหรือสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งมีดอกย่อย 3-4 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน