This is an example of a HTML caption with a link.
 
แนะนำ สวพส.
ตราสัญลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ตราสัญลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. จัดตั้งขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลงานโครงการหลวงในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูงของประเทศไทยให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548 เพื่อเป็นกระบวนการและกลไกในการเสริมสร้างงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่ การเสริมสร้างและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การเก็บรักษาคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวง และการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นที่สูง ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ป่าต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในระดับนานาชาติเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น


ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ขยายวัตถุประสงค์ให้สามารถบริหารจัดการสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองราชย์ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสวนแห่งนี้ว่า “อุทยาน หลวงราชพฤกษ์” และต่อมาสำนักราชเลขาธิการแจ้งชื่อภาษาอังกฤษว่า "Royal Park Rajapruek"

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

วิสัยทัศน์

มุ่งวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวงเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ให้เป็นแหล่งความรู้พืชสวน ความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ


พันธกิจ

  • ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวง

  • สนับสนุนการวิจัย รวบรวม รักษาและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งรักษาคุณค่าและสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง

  • ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวง รวมทั้งการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม

  • จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างครบวงจร ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าว

  • เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงทั้งภายในและต่างประเทศ

  • พัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวน ความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรม


นโยบายการดำเนินงานของสถาบัน

นโยบายการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวงและดำเนินการขยายผลโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้งให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการวิจัยและการพัฒนาพื้นที่สูงในระดับนานาชาติ โดยในการปฏิบัติงานของสถาบันมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ 2 ประการ คือ


  • หลักการทำงานของโครงการหลวง ที่สำคัญคือ การวิจัยเพื่อนำผลไปให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ใช้ประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของตลาด การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลายๆ ชนิด และการสำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สถาบันจึงมียุทธศาสตร์ที่ไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป มีความรอบคอบระมัดระวัง มีการวิจัยและทดลองปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลจริง รวมทั้งการส่งเสริมให้มีรายได้จากการขายผลผลิตสู่ตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่จะอยู่ได้อย่างดี ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งตนเอง รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความอดออม และการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์

  • ด้านเศรษฐกิจ คือ ชุมชนเป้าหมายมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ จากการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวง

  • ด้านสังคม คือ ชุมชนเป้าหมายบนพื้นที่สูงมีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ จากการสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวง

  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมดี จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

  • ด้านบริหารจัดการ คือ สถาบันมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ให้มีคุณภาพระดับนานาชาติและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง


ยุทธศาสตร์ของสถาบัน

  • ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาสนับสนุนโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวง

  • ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอุทยานหลวงราชพฤกษ์

  • ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ


พื้นที่เป้าหมายของการดำเนินงาน

  • สถาบันได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในระยะแรก เพื่อการถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาเป็น 4 พื้นที่ คือ พื้นที่โครงการหลวง พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง พื้นที่โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” และพื้นที่โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง และได้เพิ่มพื้นที่ดำเนินงานที่ได้รับการสนับสนุนงานประมาณจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ภายใต้โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน คลอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน น่าน กำแพงเพชร กาญจนบุรี ตาก ลำปาง อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก โดยมีจำนวนกลุ่มบ้าน 1,066 กลุ่มบ้าน ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 8 ลุ่มน้ำหลัก 48 ลุ่มน้ำสาขา

  • ในแผนยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ 2 มีการวางแผนบริหารจัดการในระบบลุ่มน้ำ มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้


ลุ่มน้ำหลัก

จำนวนกลุ่มบ้าน

โครงการ
หลวง 38 แห่ง

โครงการ
ขยายผลฯ
29 แห่ง

โครงการ
ถ่ายทอดฯ

โครงการฝิ่น

โครงการ
รักษ์น้ำ

รวมพื้นที่
ดำเนินการ

พื้นที่สูง
อื่นๆ

รวม

ลุ่มน้ำกก

63

11

61

3

 

138

222

360

ลุ่มน้ำโขง

21

15

74

 

4

114

151

265

ลุ่มน้ำปิง

360

61

60

61

13

555

575

1,130

ลุ่มน้ำน่าน

 

49

10

 

37

96

217

313

ลุ่มแม่น้ำสาละวิน

25

42

111

51

55

284

709

993

ลุ่มน้ำวัง

   

7

   

7

36

43

ลุ่มน้ำยม

7

 

15

   

22

99

121

ลุ่มน้ำแม่กลอง

 

8

8

   

16

264

310

ลุ่มน้ำท่าจีน

         

0

25

25

ลุ่มน้ำป่าสัก

         

0

37

37

ลุ่มน้ำสะแกกรัง

         

0

1

1

ลุ่มน้ำเพชรบุรี

         

0

28

28

ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล
ประจวบคีรีขันธ์

         

0

7

7

ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

         

0

16

16

รวม

476

186

180

115

109

1,232

2,417

3,649

*ชุมชนพื้นที่สูงทั้งหมด 3,829 แห่ง หักพื้นที่ 180 แห่ง = 3,649 แห่ง



แนะนำองค์ความรู้
การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม


บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

เครือฝานเป็นแว่นรับประทานกับน้ำผึ้งแก้ไข้ หรือดองในน้ำผึ้งรับประทานบำรุงกำลัง ใช้เข้ายาร่วมกับเพชรสังฆาต เป็นยารักษาอาการปวดกระดูก หรือทุบแล้วแช่น้ำผสมน้ำผึ้งดื่มแก้หวัด


องุ่น

องุ่น

องุ่นเป็นไม้ผลชนิดเถาเลื้อยที่มีอายุยานานหลายปี สามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศหลายแบบ แต่องุ่นที่ปลูกในภาพที่มีอากาศหนาวเย็นจะมีคุณภาพสูงกว่า


กีวีฟรุต

กีวีฟรุต

กีวีฟรุตเป็นไม้ผลเขตหนาว อยู่ในวงค์ Actinidiaceae ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตอนเหนือของหุบเขาแยงซี



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน