สถานการณ์การกลับไปสู่การปลูกฝิ่นเพื่อการค้าของเกษตรกรในพื้นที่ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง โดยมีเงื่อนไขสนับสนุนหลายประการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งในการก่อปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของประเทศและปัญหาการยอมรับของนานาชาติ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยเขตปลอดยาเสพติดอาเซียน หรือแม้แต่การปฏิบัติตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ปรากฏการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วิธีปฏิบัติการด้วยระบบปกติของหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่เพียงอย่างเดียวและยกเลิกการพัฒนาเชิงบูรณการบนพื้นที่สูง น่าจะทำให้การป้องปราม การบังคับใช้กฎหมาย และการขจัดพื้นที่ปลูกฝิ่น รวมทั้งการลดปัญหาสารเสพติดของชาติไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ การละเลยและปล่อยให้เกษตรปลูกฝิ่นได้แม้ในพื้นที่เล็กๆจะทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้นอย่างทวีคูณ และขยายตัวอย่างรวดเร็วและการแก้ไขปัญหาจะมีความยากลำบาก
เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความชัดเจน จำเป็นต้องจัดกระบวนการทำงานในเชิงบูรณาการที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาสังคมและชุมชน และการบังคับใช้กฎหมาย โดยการพัฒนาตามแนวทางของโครงการหลวงที่ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงโดยอาศัยฐานความรู้ที่เหมาะสม ควบคู่กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พื้นที่ดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงเขตภูเขาของภาคเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ 15 ตำบล ตั้งอยู่ใน 7อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกฝิ่นและจำนวนประชากรรวมทั้งชนเผ่า ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึ่งโดยทั่วไปจัดเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ทุรกันดารมาก การเข้าถึงพื้นที่กระทำได้ค่อนข้างยาก ถึงยากมาก และเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านเป้าหมายจะต้องเดินทางข้ามจากสันเขาสู่สันเขาเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้
จังหวัด |
จำนวน |
จำนวนประชากร |
ชนเผ่า |
||||
อำเภอ |
ตำบล |
จำนวนหมู่บ้าน/หย่อมบ้าน |
พื้นที่ปลูกฝิ่น |
||||
ครัวเรือน |
คน |
||||||
อมก๋อย |
(1) นาเกียน |
34 |
637.27 |
1,468 |
6,197 |
กะเหรี่ยง |
|
(2) แม่ตื่น |
19 |
435 |
2,724 |
กะเหรี่ยง |
|||
(3) ยางเปียง |
9 |
342 |
1,859 |
กะเหรี่ยง |
|||
(4) สบโขง |
12 |
525 |
2,496 |
กะเหรี่ยง |
|||
เชียงดาว |
(5) เชียงดาว |
3 |
172.25 |
65 |
307 |
ลีซอ |
|
(6) เมืองงาย |
1 |
10 |
72 |
ลีซอ |
|||
(7) เมืองคอง |
6 |
124 |
682 |
ลีซอ |
|||
(8) แม่นะ |
2 |
79 |
546 |
ม้งและลีซอ |
|||
แม่แตง |
(9) กึ้ดช้าง |
2 |
55.55 |
50 |
251 |
มูเซอ |
|
เวียงแหง |
(10) เมืองแหง |
3 |
34.60 |
158 |
955 |
มูเซอ |
|
ไชยปราการ |
(11) ศรีดงเย็น |
3 |
55.38 |
226 |
1,089 |
ลีซอ มูเซอ |
|
แม่ระมาด |
(12) แม่ตื่น |
13 |
94.90 |
538 |
2,859 |
กะเหรี่ยง |
|
แม่ฮ่องสอน |
ปาย |
(13) เมืองแปง |
5 |
44.56 |
130 |
1,238 |
ม้ง กะเหรี่ยงและลีซอ |
(14) แม่ฮี้ |
2 |
42 |
209 |
ลีซอ |
|||
(15) เวียงเหนือ |
1 |
40 |
199 |
ลีซอ |
|||
3 จังหวัด |
7 อำเภอ |
15 ตำบล |
115 |
1,094.51 |
4,210 |
21,563 |
4 ชนเผ่า |
สภาพทั่วไปของพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงเขตภูเขาของภาคเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ 15 ตำบล ตั้งอยู่ใน 7 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก โดยทั่วไปจัดเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ทุรกันดารมาก การเข้าถึงพื้นที่กระทำได้ค่อนข้างยาก ถึงยากมาก และเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านเป้าหมายจะต้องเดินทางข้ามจากสันเขาสู่สันเขาเป็นส่วนใหญ่
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำสาละวิน พื้นที่ตั้งชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในหุบเขาและพื้นที่สันเขา มีระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 575-1,200 เมตร
ภูมิอากาศ
พื้นที่สภาพภูมิอากาศทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นแล้วในแต่ละปีจะได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ซึ่งมาจากทะเลจีนใต้ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมทุกปี บางพื้นที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดปี ฤดูหนาวเริ่มจากเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 10-25 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนเริ่มจากเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พื้นที่ในเขตจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน (บางพื้นที่) มีอุณหภูมิสูงและอากาศแห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำสาละวิน พื้นที่ตั้งชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในหุบเขาและพื้นที่สันเขา มีระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 575-1,200 เมตร
ลักษณะพื้นที่
ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย เป็นกลุ่มชุดดินดอยปุย (กลุ่มชุดดินที่ 30) พบว่า กลุ่มดินค่อนข้างมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นดินลึกถึงตื้น มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงเป็น กรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-7.0)
ป่าไม้ พื้นที่ป่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์โดยมีพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าประเภทสวนป่า กับป่าที่ฟื้นฟูเองตามสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่สูงอยู่ตอนบนของลุ่มน้ำ ภูเขาสูงชัน หุบเขา หน้าผา ความลาดชันสูง (มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์) มีลักษณะและคุณสมบัติที่อาจมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง ควรจะต้องสงวนรักษาไว้เพื่อเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และบางกลุ่มพื้นที่อยู่ในคุณภาพลุ่มน้ำ 3 การปลูกพืช การปลูกพืช โดยรวมแล้วค่อนข้างคล้ายกันทั้งด้านชนิดพืชเพื่อบริโภคเป็นอาหารหรือพืชยังชีพและพืชที่สร้างรายได้ หรือพืชเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่ ขึ้นกับสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพื่อการเพาะปลูก โดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก พื้นที่ค่อนข้างลาดชัน
การปลูกพืชเพื่อบริโภคเป็นอาหาร คือ ข้าวไร่ (ข้าวจ้าวและข้าวเหนียว) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เริ่มมีการปลูกกาแฟ มีไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น ท้อ พลัม ส่วนที่ดอน พืชหลักคือพืชไร่และไม้ผลไม้ยืนต้น โดยพืชไร่ที่มีอายุสั้นสามารถปลูกได้ 2 ครั้งในช่วงฤดูฝนที่สำคัญ ประกอบด้วย ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเขียว มันฝรั่ง เป็นต้น ส่วนไม้ผลที่สำคัญได้แก่ ลำไย มะม่วง ส้มเขียวหวาน ลิ้นจี่ เป็นต้น ที่ราบลุ่มปลูกข้าวนาดำ (ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว) ในช่วงฤดูฝน หลังเก็บเกี่ยวข้าวพื้นที่ส่วนหนึ่งปล่อยว่าง และมีการปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ และพืชไร่หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปี พืชผักที่สำคัญประกอบด้วย กะหล่ำปลี แครอท กระเทียม พริก มะเขือเทศ ขิง ฟักทอง ถั่วฝักยาว ผักกาดขาวปลี เป็นต้น การปลูกพืช โดยรวมแล้วค่อนข้างคล้ายกันทั้งด้านชนิดพืชเพื่อบริโภคเป็นอาหารหรือพืชยังชีพและพืชที่สร้างรายได้ หรือพืชเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่ ขึ้นกับสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพื่อการเพาะปลูก โดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก พื้นที่ค่อนข้างลาดชัน
ระบบการปลูกพืชหลักในแต่ละกลุ่มมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ พื้นที่ค่อนข้างลาดชันปลูกข้าวและพืชไร่ ในที่ดอนปลูกพืชไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้น ส่วนในที่ราบลุ่มปลูกข้าวนาดำ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปี อาจปล่อยพื้นที่ว่างหรือปลูกพืชผัก-พืชไร่ ระบบการปลูกพืชที่แตกต่างกันบ้างในแต่ละกลุ่มพื้นที่อาจแตกต่างกันบ้างในเรื่องชนิดพืช ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพพื้นที่ ความถนัดของเกษตรกรผู้ปลูก แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ
ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 11 แห่ง
ลำดับ |
โครงการขยายผลโครงการหลวง |
ที่ตั้ง |
จำนวนหมู่บ้าน |
1 |
ต.กึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ |
4 |
|
2 |
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ |
4 |
|
3 |
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ |
12 |
|
4 |
ต.แม่ทะลบ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ |
3 |
|
5 |
ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
19 |
|
6 |
ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
34 |
|
7 |
ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
9 |
|
8 |
ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
12 |
|
9 |
ต.เมืองปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน |
5 |
|
10 |
ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก |
13 |
|
11 |
ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
8 |