หวายเป็นพืชป่าพวกปาล์มเลื้อยมีหนาม พบมากในป่าเขตร้อน มีชนิดและพันธุ์หลากหลาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายของพันธุกรรมหวายมากที่สุดในโลก ในประเทศไทยพบว่ามีประมาณ 60 ชนิด 6 สกุล คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลก หวายเป็นพืชท้องถิ่นที่ชุมชนบนพื้นที่สูงยังคงมีการใช้ประโยชน์ในแง่การบริโภคและใช้สอย
โพสต์: 19 พฤศจิกายน 2557
พื้นที่สูงหลายแห่งในประเทศไทยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวไทยภูเขา โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ชนิดพืชที่นิยมปลูกมากคือ ผักตระกูลกะหล่ำ มะเขือ พริก ข้าวโพด ไม้ดอก ไม้ผลเมืองหนาว กาแฟ ซึ่งบางชนิดมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีปริมาณมาก
โพสต์: 23 เมษายน 2557
โครงการหลวงได้พัฒนาชุมชนชาวเขาในพื้นที่สูงต่างๆ ของพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวม 38 แห่ง โดยอาศัยองค์ความรู้จากงานวิจัยถ่ายทอดไปยังประชากรชาวเขาในกลุ่มเป้าหมาย ในการประกอบอาชีพการปลูกพืชผัก ไม้ผล พืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ ภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ
โพสต์: 30 มกราคม 2557
ปัจจุบันพื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงไปเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้พันธุกรรมที่เป็นประโยชน์ในอดีตบางประเภทลดน้อยลงไปหรือบางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี ทำให้ความเป็นประโยชน์จากป่าที่ใช้เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ยา สมุน ไพร และพลังงานลดลง
โพสต์: 8 ธันวาคม 2556
ทรัพยากรป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพราะป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของน้ำ ทั้งน้ำในการอุปโภคและบริโภคในเขตภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญมีการตัดไม้ทำลายป่ามาก...
โพสต์: 6 สิงหาคม 2556
แอคติโนมัยซีทเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และทางเภสัชกรรม เนื่องจาก สามารถผลิตสารทุติยภูมิ (secondary metabolite) ได้หลายชนิด เช่น สารปฏิชีวนะที่มีความสำคัญทางการเกษตรและอุตสาหกรรม อีกทั้ง ยังมีความสำคัญ ทางระบบนิเวศวิทยาอีกด้วย จึงมีผู้สนใจทำการศึกษากันอย่างกว้างขวาง
โพสต์: 8 กรกฎาคม 2556
พืชผักอินทรีย์เป็นผักที่โครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูก แต่หลังการเก็บเกี่ยว ผักอินทรีย์จะเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วกว่าผักปกติ เช่น จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็วกว่าผักปกติ และมีอายุการวางจำหน่ายสั้นกว่า โดยเฉพาะช่วงที่มีอุณหภูมิสูง ผักอินทรีย์จะเหลืองภายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากมีอัตราการหายใจสูงและสังเคราะห์เอทิลีนเพิ่มขึ้น ดังนั้น การลดความร้อนของผักทันทีและใช้ระยะเวลาสั้นโดยทำการลดอุณหภูมิในระบบสุญญากาศ (vacuum cooling) ซึ่งน่าจะช่วยลดการสูญเสียดังกล่าวได้
โพสต์: 12 มิถุนายน 2556
โครงการหลวง เป็นองค์กรที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างต่อเนื่องนาน 37 ปีทำให้ปัญหาการปลูกฝิ่น สูญหายไปจากประเทศไทย ประชากรบนพื้นที่สูงมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมลดความรุนแรงลง ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องนี้ โครงการหลวงได้สะสมองค์ความรู้ไว้มาก ทั้งในระดับตัวเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานอยู่กับเกษตรกร จนถึงระดับหัวหน้าสถานี และระดับบริหารจัดการองค์กร...
โพสต์: 29 พฤษภาคม 2556
จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ ที่มีพื้นที่สูงและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ ซึ่งเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำขึ้นเป็นพื้นที่กว้างและมีความรุนแรง...
โพสต์: 10 พฤษภาคม 2556
ตราผลิตภัณฑ์ มีความสำคัญเนื่องจากทำให้ผู้บริโภคทราบถึงเอกลักษณ์ของสินค้า ถ้าหากผู้บริโภคสามารถจดจำตราสินค้าได้ และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับตราผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับการประมวลข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์....
โพสต์: 10 พฤษภาคม 2556
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ดำเนินการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ของป่ารอบชุมชน สำหรับใช้ประโยชน์ทั้งด้านแหล่งอาหาร ยา สมุนไพร ตลอดจนเพื่อพลังงาน โดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และอุตรดิตถ์
โพสต์: 8 เมษายน 2556
การใช้ประโยชน์พื้นที่ลาดชันสูง โดยอาศัย น้ำฝนเป็นหลัก ด้วยวิธีการปฏิบัติและการใช้ระบบการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลง ทั้งทางเคมีและทางกายภาพ สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลิตภาพของดินลดลง
โพสต์: 8 เมษายน 2556
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชนบนพื้นที่สูง มีศักยภาพในด้านงานหัตถกรรมประเภท เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสูงและโดดเด่น แต่ศักยภาพและความโดดเด่นเหล่านี้ กําลังถูกลบเลือนไปจากสังคม ยิ่งไปกว่านั้นวงจร ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว คนในชุมชนที่เคยเชื่อมร้อยกันไว้ด้วยงานหัตถกรรมเหล่านี้กําลังถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่น ซึ่งพรากจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนให้ห่างออกไป จากรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองทุกขณะ
โพสต์: 28 มีนาคม 2556
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6
ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป
กะหล่ำดาวจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้