ปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน IT. และ Computer กลายเป็นสิ่งจำเป็นและขาดไม่ได้ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นท่สูง (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำตัญของการใช้ระบบเครือข่ายภายในองค์กรรวมไปถึงการ เชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูล การติดต่สื่อสารที่ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายต่าง เพื่อช่วยให้การตดตามผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น
ต้องจัดทำแผนการจัดซื้อ/จ้าง และตรวจสอบระยะเวลาในการขออนุมัติด้วย ซื่งเจ้าหน้าที่ต้องทำการตรวจเช็คกับทางร้านค้าก่อน เพื่อได้ของที่ถูกต้องน่ะค่ะ
ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการท่องเที่ยวโครงการหลวง โทร. 053-810111 หรือ 053-281238-40 ต่อ 1105
สถาบันมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน 3 ลักษณะ ได้แก่
1. พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หมายถึงพื้นที่สูงที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของมูลนิธิโครงการหลวง 38 ศูนย์ ใน 5 จังหวัดภาคเหนือ มุ่งเน้นกิจกรรมวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนา ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการสรุปบทเรียนความสำเร็จของโครงการหลวงเพื่อใช้เป็น ต้นแบบและเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงสำหรับชุมชนนอกโครงการหลวง รวมทั้งหน่วยงานที่มาจากต่างประเทศ
2. พื้นที่นำร่องการพัฒนา หมายถึง พื้นที่ขยายผลความสำเร็จของโครงการหลวงไปสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของ ประเทศ อาจเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ศูนย์พัฒนาของโครงการหลวงหรือเป็นพื้นที่ ห่างไกลออกไป รวมถึงพื้นที่ของโครงการพิเศษต่างๆ เช่น โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เป็นต้น สำหรับกิจกรรมในพื้นที่จะมุ่งเน้นนำองค์ความรู้และความสำเร็จของโครงการหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีการผลิต การท่องเที่ยว และหัตถกรรมของโครงการหลวงเข้าไปทดสอบและปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิ สังคมของชุมชน ทั้งนี้ในพื้นที่นำร่อง เมื่อชุมชนและองค์กรในพื้นที่มีความพร้อม และเข้มแข็งจะพัฒนาเข้าสู่เครือข่ายของสังคมการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นที่ สูงตามแนวนโยบายของรัฐต่อไป
3. พื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้ เป็นพื้นที่หย่อมบ้านหรือกลุ่มบ้านที่ร่วมเป็นเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความ รู้จากโครงการหลวงผ่านระบบการเรียนรู้ที่อาศัยสื่อและสารสนเทศ โดยการร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร หรือชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ไปยังพื้นที่สูงในวงกว้าง รวมไปถึงการสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมความพร้อมของชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากโครงการหลวง และการให้คำปรึกษาอื่นๆ รวมทั้งการติดตามผลอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรในท้อง ถิ่น ในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้บนพื้นที่
เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าน้ำมัน ไปก่อน เพราะทางร้านไม่ไห้เครดิตและมาทำจัดซื้อจัดจ้างที่หลัง เพื่อนำเงินมาคืนเจ้าหน้าที่อยากทราบว่าทำได้รึไม่ มีทางแก้ไขอย่างไร
ตามระเบียบฯ กำหนดว่าก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างจะต้องทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างก่อนทุก วิธี เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน ตามระเบียบฯ ข้อ 10 จึงจะสามารถดำเนินการไปก่อนได้ แล้วรายงานภายหลัง ดังนั้น หากกรณีดังกล่าวมิใช่กรณีตามระเบียบฯข้อ 10 แล้ว ก็มิอาจกระทำได้ โดยหากกระทำไปแล้ว ก็จะต้องขอผ่อนผันการดำเนินการที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ดังกล่าว ต่อผู้อำนวยการสถาบัน เพื่อจะได้ทำการเบิกจ่ายต่อไป
อยากทราบวิธีการคิดค่าปรับในกรณีจัดซื้อกับจัดจ้าง ว่าแตกต่างกันไหม และการคำนวณค่าปรับใช้ยอดเงินจาก มูลค่าสินค้าก่อนภาษี หรือว่าราคารวมภาษี เป็นฐานในการคำนวณ
ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ คิดค่าปรับนับถัดจากวันครบกำหนดการชำระหนี้ ตามที่กำหนดในสัญญา ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ราคาที่ผู้เสนอราคาได้เสนอมานั้นจะต้องเป็นราคาสุทธิที่รวมภาษีแล้ว ดังนั้น การคำนวณค่าปรับจึงต้องใช้ยอดเงินตามสัญญาและในอัตราที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา เป็นฐานในการคำนวณ
เป็น บริษัทซึ่งจดทะเบียนถูกต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนืองจากได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย สามารถขายสินค้าและบริการให้สถาบัน ได้หรือไม่ โดยออกเป็นใบเสร็จรับเงินประทับตราบริษัท
โดยหลักการ ถ้าเป็นผู้มีอาชีพตามวัตถุประสงค์ที่สถาบันประกาศกำหนด ก็สามาถเข้าเสนอราคาได้แต่กรณีเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มหากไม่อยู่ในบังคับว่า ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถเสนอราคาได้ แต่ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มก็ให้สอบถามไปยังกรรมสรรพากร โดยตรงต่อไป
การจัดซื้อน้ำมัน เชื้อเพลิงตามระเบียบพัสดุ ใช้วิธีใด ตกลงราคา หรือ กรณีพิเศษ หรือ วิธีพิเศษ และวงเงินจัดซื้อครั้งละไม่เกินเท่าไร
ในระเบียบของสถาบันไม่ได้กำหนดไว้ แต่ระเบียบของสำนักนายกฯ 2535 กำหนดไว้ดังนี้
1. ถ้าการจัดซื้อตั้งแต่ 10,000 ลิตร ขึ้นไป ต้องซื้อจาก ปตท.หรือองค์กรใดที่รับสิทธิพิเศษในการจำหน่าย ตามมติ ครม. 27 ตค.2551 ทั้งนี้ ต้องดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกฯ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 26 ประกอบข้อ 59
2. ถ้าการจัดซื้อไม่ถึง 10,000 ลิตรจะซื้อที่ไหนก็ได้ แต่จะต้องดำเนินการตามระเบียบฯ พัสดุ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3.ถ้าวงเงินในการจัดซื้อไม่เกิน 100,000 บาท และจำนวนที่จัดซื้อไม่เกิน 10,000 ลิตร สามารถซื้อโดยวิธีตกลงราคาได้
กรณีของสถาบันฯ การจัดซื้อไม่ถึง 10,000 ลิตร ดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาค่ะ
เราจะเห็นว่าในการตรวจรับพัสดุ จะมีประธานกรรมการ กรรมการ 2 ท่าน แต่ในกรณีที่จัดซื้อพัสดุไม่ถึง 20,000 บาท ก็สามารถมีกรรรมการตรวจรับคนเดียวได้ ในกรณีอย่างนี้ผู้ตรวจรับก็เป็นแค่กรรมการใช่หรือไม่ เพราะคนเดียว ตอบด้วนนะค่ะ
ถ้ามีการตรวจรับเพียงคนเดียวก็ไม่ต้องแต่งตั้งประธานและกรรมการ แต่กรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจรับนั้นคือผู้ตรวจรับพัสดุไม่ใช่กรรมการ
อยากเรียนถามว่าการซื้อโต๊ะ 1 ตัวแต่ราคาไม่เกิน 5,000 จัดเป็นวัสดุสำนักงานฯ หรือ ครุภัณฑ์ แต่ไม่ได้ขอตั้งงบครุภัณฑ์
เป็นวัสดุค่ะ ตามหลักจำแนกรายจ่ายงบประมาณ
การส่งมอบพัสดุ จำเป็นต้องส่งมอบ ณ ที่ทำการของผู้ซื้อ/ผู้จ้างหรือไม่ สามารถส่งมอบ ณ ร้านค้าที่ซื้อหรือที่จ้างได้หรือไม่และถ้าได้ต้องทำอย่างไร เช่น ระบุในเงื่อนไขใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างใช่หรือไม่ และการตรวจรับต้องให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไปตรวจรับที่ร้านค้าด้วยหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่พัสดุไปซื้อของมาแล้วกลับมาถึงหน่วยงานจึงให้คณะกรรมการตรวจ รบพัสดุทำการตรวจรับได้หรือไม่
หลักการตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับในระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น โดยหลักการการตรวจรับพัสดุ ต้องตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น เว้นแต่ในสัญญาจะกำหนดให้ตรวจรับ ณ สถานที่อื่น ทั้งนี้ การจะกำหนดให้ตรวจรับ ณ สถานที่อื่นซึ่งมิใช่ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น จะต้องมีเหตุผลเพื่อประโยชน์ของทางสถาบัน และเมื่อทำการตรวจรับแล้วจะต้องลงควบคุมพัสดุดังกล่าวตามระเบียบพัสดุต่อไป จะฝากไว้ที่ร้านค้าที่ซื้อหรือจ้างมิได้
ในการเสนอราคาของบุคคล ธรรมดา เช่น ประมาณการรวมภาษี เป็นเงิน 50,000.- บาท ยอดเงินในสัญญากรณีเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องตัดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่และในประมาณการก่อสร้าง ทุกโครงการจะต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่
การเสนอราคาของผู้เสนอราคาจะต้องเป็นการเสนอราคาที่รวมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไว้ด้วยแล้ว ดังนั้น ผู้เสนอราคาจึงต้องคำนวณค่าใช้จ่ายทุกอย่างรวมไว้ในการเสนอราคาด้วยแล้ว
TOR เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้รับจ้างต้องปฏิบัติในการดำเนินงานจ้างเหมาก่อสร้างหรือ ไม่ เนื่องจากเห็นว่า TOR ระบุรายละเอียดที่ผู้รับจ้างต้องปฏิบัติมากมาย แต่ สัญญาจ้าง ระบุแค่นิดเดียว มีระเบียบอ้างอิงไหมครับ
หากกรณีที่กำหนดให้ TOR เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ผู้รับจ้างก็ต้องปฏิบัติตาม TOR
กรณี จ้างเหมาพอถึงเวลาส่งมอบเป็นวันหยุดราชการเราจะต้องลงหนังสือรับใบส่งมอบวัน ไหน
กรณีที่จะต้องมีการส่งมอบในวันหยุดราชการ เนื่องจากต้องตรวจรับในวันนั้นซึ่งเป็นไปตามที่สัญญากำหนดไว้ก็เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการตรวจรับที่จะเป็นผู้รับหนังสือส่งมอบงานแล้วนำหนังสือส่งมอบ งานดังกล่าวมาลงรับในวันเปิดทำการในวันแรกหรือโดยเร็วที่สุด
ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงเป็นได้
การใช้บริหาร internet เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่การจัดหาพัสดุตามระเบียบพัสดุ ดังนั้นจึงไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ
ไม่ได้
ตามระเบียบพัสดุของสถาบัน หมวด 5 การตรวจรับพัสดุและการจ้างข้อ 18 กำหนดไว้ว่า กรณีที่ปรากฎว่าพัสดุใดที่ส่งมบมีคุณภาพสูงกว่ากำหนดและเป็นประโยชน์ต่อ สถาบันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะให้รับพัสดุนั้นไว้ใช้งานก็ได้ แต่ต้องเป็นความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ และต้องบันทึกความเห็นนั้นไว้โดยชัดเจน
กรรมการตรวจรับจะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียว กับกรรมการจัดหาพัสดุ
วัสดุของสถาบันฯ หากไม่สามารถใช้การได้และมีความจำเป็นต้องเร่งซ่อมแซมสามารถที่จะซ่อมแซม เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ แต่เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาด้วย การซ่อมแซมหรือการจัดซื้อใหม่อย่างไหนมีความคุ้มค่ากว่ากัน
การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง ต้องดำเนินการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างก่อนทุกครั้ง เว้นแต่กรณีเร่งด่วนตามข้อ 10 วรรคสอง ดังนั้น การยืมเงินงบประมาณไปจัดซื้อพัสดุจึงต้องดำเนินการขออนุมัติทุกครั้ง
รถราชการเกิดความเสียหายระหว่างเดินทางไปราชการอาจถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็น เร่งด่วนซึ่งตามระเบียบพัสดุข้อ 10 วิธีตกลงราคา วรรค 2 "การจัดหาโดยวิธีตกลงราคาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายไว้ ก่อนและไม่อาจดำเนินการขออนุมัติตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสุด หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้น ขอดำเนินการจัดหาไปก่อน แล้วรีบรายงานผู้มีอำนาจอนุมัติในโอกาสแรก เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานตรวจรับโดยอนุโลม"
เบิกไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง
เบิกไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง
ต้อง ได้รับอนุมัติให้จัดหาทุกครั้งจากผู้อำนวยการหรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติจัดหาพัสดุ ตามระเบียบคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2549 ข้อ 7
1. กรรมการจัดหาต้อง ไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการตรวจรับ
2. กรรมการตรวจ รับต้องดำเนินการตรวจรับงาน/ตรวจการจ้างโดยเร็วและถือข้อกำหนดใน สัญญา/ข้อตกลง/ใบสั่งจ้างเป็นหลัก
1. สามารถทำได้กรณีที่เร่งด่วน หรือเหตุสุดวิสัยไม่ได้คาดคิดมาก่อนและไม่อาจขออนุมัติตามปกติได้ทัน
2. สำหรับการจัดซื้อหรือจ้างพัสดุที่จำเป็น และได้จ่ายชำระเงินสด หรือสำรองจ่ายไปก่อน จะต้องมีเอกสารประกอบการขอเบิกดังนี้
(1) กรณี ที่เป็นร้านค้า
-ใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด (ต้องเป็นชื่อร้านค้าที่ได้จัดซื้อ)
(2) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
- ใบสำคัญรับเงิน
- สำเนา บัตรประชาชนผู้รับจ้าง
ข้อ (1) และ (2) ถ้าผู้รับจ้างให้มีการโอนเงิน ผ่านธนาคารจะต้องแนบเอกสารต่อไปนี้ เพิ่มเติม
- ใบคำขอโอนเงินผ่าน ธนาคาร
- หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
กรณี ใบสำคัญรับเงินหรือบิลเงินสดที่ไม่ระบุร้านค้าและหมายเลขผู้เสียภาษีอากร ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้ชายด้วย และต้องระบุชื่อผู้ซื้อเป็นชื่อและที่ อยู่ของสถาบัน
1) การขออนุมัติจ้างเหมาจะมีเอกสารประกอบดังนี้
- ราย ละเอียดของงาน (Spec) แนบ
- แต่งตั้งกรรมการจัดหาและกรรมการตรวจรับ
2) การขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน จะมีเอกสารประกอบดังนี้
- ใบส่งมอบงาน และกรรมการตรวจรับงานแล้ว
- ใบสำคัญรับเงิน
- สำเนา บัตรประชาชนผู้รับจ้าง
- รูปถ่ายผลงาน หรือโรงเรือน
ทั้ง นี้ถ้าผู้รับจ้างให้มีการโอนเงินผ่านธนาคารจะต้องแนบเอกสารต่อไปนี้เพิ่มเติม
- ใบคำขอโอนเงินผ่านธนาคาร
- หน้าสมุดบัญชีเงินฝาก ธนาคาร
บิลเงินสดที่มีรายการตาม ระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ว่าด้วยการเงินและการบัญชี พ.ศ. 2549 หมวดที่ 5 การจ่ายเงินและหลักฐานการจ่ายเงิน ข้อ 27 สามารถใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่ายได้ จะต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
- ชื่อ สถาน ที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
- วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
- รายการ แสดงรายการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
- จำนวนเงินรวมเป็นตัวเลขและ ตัวอักษร
- ลายมือชื่อผู้รับเงิน
กรอบหรือแนวทางที่จะช่วยให้บุคลากรในองค์การสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตาม เป้าหมายในสายอาชีพของตน ถือได้ว่าเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในรายละเอียดที่เชื่อมโยงหรือตอบสนองต่อความต้องการหรือเป้าหมายขององค์การ และของหน่วยงาน ซึ่งองค์การบางแห่งเรียกแผนงานดังกล่าวนี้ว่า Employee Development Plan (EDP) หรือ Personal Development Plan / Performance Development Plan (PDP)
IDP จึงเป็นขั้นตอนที่ถูกจัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมการหรือวางแผนงานไว้ล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาจุดอ่อน (Weakness) และเสริมจุดแข็ง (Strength) ของพนักงานในองค์การ
ยื่นก่อนภายใน 1 เดือน หรือภายใน 30 วัน
อยากทราบว่า กรณีเป็นเจ้าหน้าที่และมีความประสงค์จะศึกษาต่อจะต้องมีคุณสมบัติ ข้อใดบ้างถึงจะได้รับการอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ
- เป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี
- มีอายุไม่เกิน 40 ปี นับถึงวันเริ่มต้นการศึกษา อบรม หรือดูงาน
- สำหรับผู้ที่สถาบันบันอนุมัติให้ไปศึกษามาแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี
อยากทราบว่าเจ้าหน้าที่และลูกจ้างมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ ไม่เกินกี่วัน และถ้าไม่ได้ลาสามารถนำวันลานั้นมาสะสมได้หรือไม่
มีสิทธิลาพักผ่อนได้ 10 วัน และสามารถสะสมวันลาได้ไม่เกิน 20 วันทำการ
สามารถทำได้ตามระเบียบการลาข้อ 11 วรรค 2 กำหนดว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบ ลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
กรณีเป็นเจ้าหน้าที่และมีความประสงค์จะไปต่างประเทศจะต้องดำเนินการอย่าง ไร
ทำเรื่องขออนุมัติจากผู้อำนวยการสถาบัน ตามระเบียบการลา ข้อ 8
ตามระเบียบบุคคล ข้อ 41 กำหนดว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างผู้ใดกระทำผิดวินัยกรณีต่อไปนี้เป็นการกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันควร เป็นเหตุให้สถาบันเสียหายอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันในคราว เดียวกันเป็นเวลาเกิน 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ทุจริตต่อหน้าที่
- กระทำผิดวินัยกรณีใดกรณีหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแกสถาบันอย่างร้ายแรง
- จงใจปฏิบัติ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันอย่างร้ายแรง
มีสิทธิได้รับเงิน โดยระเบียบบุคคลข้อ 17 ได้กำหนดว่า เจ้าหน้าที่และลูกจ้างได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพตามภาวะเศรษฐกิ เงินเพิ่มเติมประจำตำแหน่ง หรือเงินเพิ่มพิเศษอย่างอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกอนุกรรมการกำหนดโดยตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสถาบัน วิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
สามารถมาเขียนแบบฟอร์มการลงเวลา ปฏิบัติงานและชี้แจงเหตุผลได้ที่ฝ่ายบุคคล
การสมัครงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สามารถสมัครได้อย่างไรบ้าง
สมัครได้ด้วยตนเองที่สถาบัน หรือดาวน์โหลดใบสมัครทางเว็บไซต์ของสถาบัน พร้อมแนบประวัติและเอกสารหลักฐานส่งมาทางไปรษณีย์ให้ฝ่ายบุคคล
การสืบค้นข้อมูลจะต้องทราบข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เลขที่หนังสือ วันที่ของหนังสือ ชื่อเรื่อง เป็นต้น และป้อนข้อมูลแล้วทำการสืบค้น สำหรับประเภทเอกสารที่สามารถค้นหา ได้แก่ หนังสือรอลงรับ หนังสือรับ หนังสือรอส่ง หนังสือส่ง
ไม่ได้ เนื่องจากเลขทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ แต่ระบบสามารถที่จะทำการเชื่อม (Link) เอกสารเชื่อมกันได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
มีความจำเป็น เนื่องจากงานที่ส่งมาทางระบบ Online จะมาถึงก่อนเอกสารฉบับจริง ดังนั้นในระบบจะมีข้อความที่เน้นว่า รายการนี้ต้องรอต้นฉบับจริงส่งมาก่อนจึงจะทำการลงรับเอกสารได้ แต่ถ้าหน่วยงานที่มีเครื่องสแกน ก็จะสามารถทำการสแกนเอกสารพร้อมทั้งแนบไฟล์ได้เลย ส่วนผู้รับปลายทางก็สามารถเปิดดูและสามารพิมพ์เอกสารได้
1. เจ้าของแผนงาน/โครงการทำหนังสือขอเปลี่ยนแปลง งปม.จากแผนงาน/โครงการ
2. ธุรการสำนักอำนวยการรับเรื่อง และแจ้งกลุ่มแผนงานฯ สำนักแผนงานและสารสนเทศ
3. กลุ่มแผนงานฯ สำนักแผนงานและสารสนเทศตรวจสอบและให้ความเห็นเสนอผู้อำนวยการสถาบันเพื่อ พิจารณาอนุมัติ
4. ธุรการสำนักอำนวยการส่งเรื่องคือนเจ้าของแผนงานโครงการ กรณีมีการพิจารณาอนุมัติปรับเปลี่ยนงบประมาณต้องสำเนาแจ้งกลุ่มแผนงานเพื่อ ปรับเปลี่ยนแผนงาน และต้องสำเนาส่งให้ฝ่ายคลังเพื่อปรับงบประมาณ
ต้องมีการปรับเปลี่ยนงบประมาณ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้โครงการ/แผนงานเดียวกัน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. เจ้าของแผนงาน/โครงการ หารือทำความตกลงเพื่อขอใช้งบประมาณภายใต้แผนงาน/โครงการเดียวกัน
2. ส่งเรื่องผ่านธุรการ สำนักอำนวยการ เพื่อที่จะรับเรื่องและแจ้งสำนักแผนงานฯ กลุ่มแผนงาน
3. สำนักงานแผน งาน (กลุ่มแผนงาน) จะตรวจสอบและนำเสนอผู้อำนวยการสถาบันเพื่อนำเสนออนุมัติต่อไป
4. ส่งต้นฉบับคืนเจ้าของโครงการ พร้อมทั้งสำเนอาแจ้งกลุ่มแผนงานเพื่อปรับเปลี่ยนแผน และสำเนาแจ้งฝ่ายคลังเพื่อปรับงบประมาณ
สามารถทำได้โดยผู้อำนวยการสถาบันสามารถอนุมัติปรับเปลี่ยนการใช้เงินงบ ประมาณต่างโครงการ/แผนงานวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท (มติ ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบัน (ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 23-ก.พ.-50) )
สามารถทำได้โดยผู้อำนวยการสถาบัน สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมและงบประมาณ ภายใต้แผนงานเดียวกันได้และรายงานให้คณะกรรมการสถาบันทราบ (มติที่ประชุมคณะกรรมการสถาบัน (ครั้งที่ 3/2551 วันที่ 26-มี.ค.-51))
สามารถทำได้โดยผู้อำนวยการสถาบัน สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมและงบประมาณ ภายใต้แผนงานเดียวกันได้และรายงานให้คณะกรรมการสถาบันทราบ (มติที่ประชุมคณะกรรมการสถาบัน (ครั้งที่ 3/2551 วันที่ 26-มี.ค.-51))
ในระเบียบไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนการปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับคณะทำงานไว้ แต่สถาบันได้เสอนต่อคณะกรรมการสถานบันและมีมติเห็นชอบ (ครั้งที่ 4/2550 วันที่ 30-เม.ย.-50) ดังนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการ | อัตราการเบิกจ่าย |
1. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายในลักษณะ | |
1.1 เบี้ยประชุมไม่เกินเดือนละ 2 ครั้ง | 1.1 ครั้งละ 600 บาท |
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง | |
2.1 ค่าเช่าที่พัก | เป็นไปตามระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง |
2.2 ค่าพาหนะ | เป็นไปตามระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง |
การเบิกจ่ายค่าล่วงเวลารวมกันต้องไม่เกิน 3,500.- บาท/เดือน/คน ทั้งนี้ในระเบียบของสถาบันยังไม่ได้มีการแก้ไข ซึ่งอัตรานี้ได้การอนุมัติจากคณะกรรมการสถาบัน ครั้งที่ 4/2550
วันที่ 30 เม.ย. 2550 ดังนี้
1.การปรับอัตราการจ่ายค่าล่วง เวลาจากเดิมเป็น
1.1) วันทําการ ชั่วโมงละ 60 บาท เศษของชั่วโมงไม่คิด ถ้าปฏิบัติงานต่อเนื่องเกินกว่า 3 ชั่วโมง จ่ายให้ 180 บาท
1.2) วันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ชั่วโมงละ 60 บาท เศษของชั่วโมง ไม่คิด ถ้าปฏิบัติงานต่อเนื่องเกินกว่า 7 ชั่วโมง จ่ายให้ 420 บาท
2. การแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ว่าด้วยการเบิก จ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานล่วงเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ.
2549 ข้อ 8 เป็น “ได้กําหนดอัตราการจ่ายค่าล่วงเวลา ให้ใช้อัตราตามบัญชีหมายเลข 1 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายค่าล่วงเวลารวมกัน ต้องไม่เกิน 3,500.-บาท/เดือน/คน หรือตามที่คณะกรรม
การกําหนด”
ผู้ทรงคุณวุฒิในที่นี้ถ้าตามระเบียบสถาบันว่าด้วยการจ้างวิจัยหรือการจ้าง อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้าน ซึ่งตามระเบียบนี้ ข้อ 15 สามารถเบิกค่าตอบแทนครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าเช่าที่พักให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของสถาบัน
กรณีเดินทางไปปฏิบัติงาน ของสถาบันชั่วคราว 1 วัน เดินทางไปราชการนับเวลาแล้วไม่ถึง 12 ชม. แต่เกิน 6 ชม.สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ครึ่งวันหรือไม่
ตามระเบียบของสถาบันว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานฯ ข้อ 25 หากมิได้พักค้าง และนับเวลาได้ไม่ถึง 12 ชม.แต่เกิน 6 ชม.ก็สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ครึ่งวัน
ในระเบียบไม่ได้กำหนดอัตราเอาไว้ แต่สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงโดยคำนึงถึงความเหมาะสม
กรณีบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับการมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันให้มีสิทธิเบิกค่า ใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานได้เท่ากับเจ้าหน้าที่พึงได้รับ หากมีสิทธิเบิกจากต้นสังกัดได้ให้เบิกเพิ่มเฉพาะส่วนต่าง
ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานล่วงเวลาและค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ. 2549 ข้อ 19 วรรค 2 กำหนดว่า "กรณีที่ค่าลงทะเบียนตามวรรคแรกได้รวมค่าที่พัก และหรือค่าพาหนะแล้ว ให้งดเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นๆ"
ในระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ แต่ในทางปฏิบัติสามารถทำได้ ซึ่งผู้ขออนุมัติควรเป็นบุคคลที่ร่วมเดินทางไปด้วยกับผู้ขอยืมเงิน
1. เงินยืมเพื่อเดินทางไปปฏิบัติงาน หากมิได้เดินทางตามที่กำหนดให้ส่งคืนเงินยืมทั้งสิ้นทันทีและหากได้เดินทาง ตามกำหนดให้ส่งใช้เงินยืมให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับจากวันที่กลับจากการปฏิบัติงาน
2. เงินยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่น นอกจากข้อ (1) ให้ส่งใช้เงินยืม ภายใน 15 วัน นับจากวันเสร็จสิ้นภาระหน้าที่
กรณีต้องการขยายเวลาการหักล้างเงินยืมทดรองจ่าย ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจอนุมัติ ให้ขยายเวลาการหักล้างเงินยืมทดรองจ่ายได้ตามเหตุผลอันสมควร และมีอำนาจสั่งหักจ่ายเงินเดือน หรือค่าจ้างของผู้ยืมเงินทดรองจ่ายที่เพิกเฉย
ใบมอบอำนาจ ใช้ในกับบุคคลภายนอกเท่านั้น และต้องเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้มอบอำนาจเท่านั้น เช่น นาย ก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สถาบัน ได้จ้างนาย ข ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำงาน เมื่องานเสร็จนาย ข ไม่สามารถเดินทางมารับเงินได้ กรณีนี้นาย ข ต้องมอบอำนาจให้นาย ก รับแทน
ใบมอบฉันทะใช้กับุบุคคลภาย ในเท่านั้น ซึ่งสามารถมอบให้รับเป็นเงินสด หรือเช็คสั่งจ่ายผู้มอบฉันทะ และผู้รับมอบฉันทะได้ ตัวอย่างเช่น นาย ก เป็นเจ้าหน้าที่สถาบัน ต้องการให้นาย ข ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันเช่นกัน รับเงินให้ กรณีนี้ให้ใช้การมอบฉันทะ
การซื้อวัสดุ สามารถยืมเงินไปซื้อวัสดุได้หรือไม่ เนื่องจากร้านค้าที่ต้องการซื้อมีวัสดุที่ราคาถูก แต่จำเป็นต้องนำเงินสดไปจ่าย หรือการไปซื้อวัสดุตามห้าง เช่น บิ๊กซี โลตัส สามารถยืมเงินไปซื้อได้หรือไม่
ให้ปฏิบัติตามระเบียบการยืมเงิน ข้อ 28(1) และการนำเงินยืมมาใช้นั้นก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของพัสดุด้วย เว้นแต่กรณีที่จัดซื้อตามข้อ 39 วรรค 2 เท่านั้น
เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าน้ำมันไปก่อน เพราะทางร้านไม่ให้เครดิต และมาทำจัดซื้อจัดจ้างทีหลัง เพื่อนำเงินมาคืนเจ้าหน้าที่ อยากทราบว่าทำได้รึไม่ มีทางแก้ไขอย่างไร
ตามระเบียบฯ กำหนดว่าก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างจะต้องทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างก่อนทุกวิธี เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน ตามระเบียบฯ ข้อ 10 วรรคสอง จึงจะสามารถดำเนินการไปก่อนได้ แล้วรายงานภายหลัง ดังนั้น หากกรณีดังกล่าว มิใช่กรณีตามระเบียบฯ ข้อ 10 แล้ว ก็มิอาจกระทำได้ โดยหากกระทำไปแล้ว ก็จะต้องขอผ่อนผันการดำเนินการที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ดังกล่าว ต่อผู้อำนวยการสถาบันเพื่อจะได้ทำการเบิกจ่ายต่อไป
ในระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ แต่ได้มีหนังสือตอบข้อหารือเกี่ยวกับการหักภาษาเงินได้ ณ ที่จ่ายของกรมสรรพากร ดังนี้ กรณีที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันได้ยืมเงินทดลองของสถาบันฯ ไปจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(4) มาตรา 69 ทวี และภาษีการค้า ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 78 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร
เบิกได้ เท่าที่จ่ายจริง เพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
ไม่เกิน 100,000 บาท
กรณีที่เจ้าหน้าที่ไปประชุมหรือเยือนในต่างประเทศ และจะต้องเตรียมของขวัญไปมอบ อยากทราบว่าการจัดซื้อของขวัญเพื่อไปมอบให้ชาวต่างประเทศ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุหรือไม่
กรณีดังกล่าวต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ
กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล(ทันตกรรม) ในใบเสร็จระบุเป็นค่าธรรมเนียมพิเศษ สามารถนำมาเบิกได้หรือไม่
กรณีที่สอบถาม ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ แต่ทั้งนี้ถ้าสงสัยให้นำเอกสารมาให้ฝ่ายคลังดูอีกครั้งได้
ค่าของขวัญสำหรับผู้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ หรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาในฐานะผู้แทนของสถาบัน เพื่อมอบให้แก่บุคคลสำคัญในต่างประเทศตามประเพณี จะเบิกค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
กรณีดังกล่าวสามารถเบิกได้ตามที่จ่ายจริง โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และประหยัด ภายในวงเงินตามบัญชีหมายเลข 7 ตามระเบียบสถาบันฯ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานล่วงเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน พ.ศ. 2549 ดังนี้
อ้ตราค่าของขวัญของผู้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่าง ประเทศเพื่อมอบให้บุคคลสำคัญในต่างประเทศ
ผู้รับดำรงตำแหน่ง | คนละไม่เกิน (บาท) |
ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป | 2,000 |
ระดับผู้อำนวยการสำนักหรือเทียบเท่า | 1,500 |
ระดับเจ้าหน้าที่ทั่วไป | 1,000 |
กรณีนี้ ถ้าสถานีอนามัยนั้นสังกัดของรัฐบาลก็ถือว่าสามารถใช้สิทธิได้
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการสถาบัน วิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ครั้งที่ 2/2551 ได้กำหนดค่าตอบแทนผู้มาช่วยปฏิบัติงานเป็นครั้งคราว ดังนี้
1. ค่าตอบแทน โดยพิจารณาจาก
- จำนวนวันที่ทำงาน
- คุณภาพของงานที่สถาบันมอบหมายให้ปฏิบัติงาน
- ระดับความเชี่ยวชาญและความชำนาญของผู้มาช่วยปฏิบัติงาน
2. ค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปปฏิบัติงานให้เป็นไปตามอัตราเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พักใน การเดินทางไปปฏิบัติงานในประเทศ ดังนี้
กลุ่มบุคคล | ค่าเบี้ยเลี้ยง | ค่าที่พัก (เหมาจ่าย/จ่ายจริง*) |
ผู้เชี่ยวชาญ/เจ้าหน้าที่อาวุโส | 350 | 1,000 / 2,400 |
นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ | 250 | 1,000 / 1,600 |
*กรณี ค่าเช่าที่พักที่เบิกจ่ายจริง จะต้องมี “ใบเสร็จรับเงิน” เป็นเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
3. การเบิกค่าตอบแทนผู้มาปฏิบัติงานเป็นครั้งคราว ทุกครั้งให้แนบรายงานผลการ ปฏิบัติงานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายค่าตอบแทน ทั้งนี้ผู้มาช่วยปฏิบัติงานที่มิได้มาจากส่วนราชการ ขอให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสถาบันพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 4
เป็นพรรณไม้ที่ถูกสำรวจ และเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบในประเทศไทย และเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้ตั้งชื่อพรรณไม้ทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ สิรินธรวัลลี เครือเทพรัตน์ และเทียนสิรินธร
โครงการหลวงส่งเสริมการปลูกมะม่วงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่ผ่านการวิจัยและให้ผลดี มีคุณภาพให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า 4 พันธุ์ คือ นวลคำ ปาล์มเมอร์ อาร์ทูอีทู เออร์วิน
ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 7
พรรณไม้พระนามราชสกุลมหิดล ไม้ดอกโทนสีชมพู สีสันอันงดงามและอ่อนหวาน เช่น กุหลาบพระนามสิรินธร ดอกกุหลาบสีชมพูเหลือบเหลือง ที่มีกลิ่นหอม กล้วยไม้ฟาแลนนอพซิส พรินเซสจุฬาภรณ์ ดอกกล้วยไม้สีขาวชมพูระเรื่อกรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ