This is an example of a HTML caption with a link.
 
แนะนำ สวพส.
ตราสัญลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ตราสัญลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. จัดตั้งขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลงานโครงการหลวงในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูงของประเทศไทยให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548 เพื่อเป็นกระบวนการและกลไกในการเสริมสร้างงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่ การเสริมสร้างและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การเก็บรักษาคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวง และการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นที่สูง ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ป่าต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในระดับนานาชาติเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น


ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ขยายวัตถุประสงค์ให้สามารถบริหารจัดการสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองราชย์ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสวนแห่งนี้ว่า “อุทยาน หลวงราชพฤกษ์” และต่อมาสำนักราชเลขาธิการแจ้งชื่อภาษาอังกฤษว่า "Royal Park Rajapruek"

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

วิสัยทัศน์

มุ่งวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวงเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ให้เป็นแหล่งความรู้พืชสวน ความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ


พันธกิจ

  • ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวง

  • สนับสนุนการวิจัย รวบรวม รักษาและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งรักษาคุณค่าและสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง

  • ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวง รวมทั้งการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม

  • จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างครบวงจร ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าว

  • เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงทั้งภายในและต่างประเทศ

  • พัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวน ความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรม


นโยบายการดำเนินงานของสถาบัน

นโยบายการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวงและดำเนินการขยายผลโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้งให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการวิจัยและการพัฒนาพื้นที่สูงในระดับนานาชาติ โดยในการปฏิบัติงานของสถาบันมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ 2 ประการ คือ


  • หลักการทำงานของโครงการหลวง ที่สำคัญคือ การวิจัยเพื่อนำผลไปให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ใช้ประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของตลาด การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลายๆ ชนิด และการสำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สถาบันจึงมียุทธศาสตร์ที่ไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป มีความรอบคอบระมัดระวัง มีการวิจัยและทดลองปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลจริง รวมทั้งการส่งเสริมให้มีรายได้จากการขายผลผลิตสู่ตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่จะอยู่ได้อย่างดี ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งตนเอง รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความอดออม และการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์

  • ด้านเศรษฐกิจ คือ ชุมชนเป้าหมายมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ จากการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวง

  • ด้านสังคม คือ ชุมชนเป้าหมายบนพื้นที่สูงมีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ จากการสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวง

  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมดี จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

  • ด้านบริหารจัดการ คือ สถาบันมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ให้มีคุณภาพระดับนานาชาติและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง


ยุทธศาสตร์ของสถาบัน

  • ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาสนับสนุนโครงการหลวงและขยายผลโครงการหลวง

  • ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอุทยานหลวงราชพฤกษ์

  • ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ


พื้นที่เป้าหมายของการดำเนินงาน

  • สถาบันได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในระยะแรก เพื่อการถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาเป็น 4 พื้นที่ คือ พื้นที่โครงการหลวง พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง พื้นที่โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” และพื้นที่โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง และได้เพิ่มพื้นที่ดำเนินงานที่ได้รับการสนับสนุนงานประมาณจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ภายใต้โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน คลอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน น่าน กำแพงเพชร กาญจนบุรี ตาก ลำปาง อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก โดยมีจำนวนกลุ่มบ้าน 1,066 กลุ่มบ้าน ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 8 ลุ่มน้ำหลัก 48 ลุ่มน้ำสาขา

  • ในแผนยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ 2 มีการวางแผนบริหารจัดการในระบบลุ่มน้ำ มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้


ลุ่มน้ำหลัก

จำนวนกลุ่มบ้าน

โครงการ
หลวง 38 แห่ง

โครงการ
ขยายผลฯ
29 แห่ง

โครงการ
ถ่ายทอดฯ

โครงการฝิ่น

โครงการ
รักษ์น้ำ

รวมพื้นที่
ดำเนินการ

พื้นที่สูง
อื่นๆ

รวม

ลุ่มน้ำกก

63

11

61

3

 

138

222

360

ลุ่มน้ำโขง

21

15

74

 

4

114

151

265

ลุ่มน้ำปิง

360

61

60

61

13

555

575

1,130

ลุ่มน้ำน่าน

 

49

10

 

37

96

217

313

ลุ่มแม่น้ำสาละวิน

25

42

111

51

55

284

709

993

ลุ่มน้ำวัง

   

7

   

7

36

43

ลุ่มน้ำยม

7

 

15

   

22

99

121

ลุ่มน้ำแม่กลอง

 

8

8

   

16

264

310

ลุ่มน้ำท่าจีน

         

0

25

25

ลุ่มน้ำป่าสัก

         

0

37

37

ลุ่มน้ำสะแกกรัง

         

0

1

1

ลุ่มน้ำเพชรบุรี

         

0

28

28

ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล
ประจวบคีรีขันธ์

         

0

7

7

ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

         

0

16

16

รวม

476

186

180

115

109

1,232

2,417

3,649

*ชุมชนพื้นที่สูงทั้งหมด 3,829 แห่ง หักพื้นที่ 180 แห่ง = 3,649 แห่ง



แนะนำองค์ความรู้
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

กันภัยมหิดลเป็นไม้ประจำถิ่นของไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งพบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) ที่น้ำตกไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี


ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

พืชสกุลไฮเดรนเยีย (Hydrengea macophylla) มีอยู่ด้วยกันประมาณ 80 ชนิด ส่วนมากจะเป็นไม้พุ่ม


เฮลิโคเนีย

เฮลิโคเนีย

เฮลิโคเนียเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้องการดูแลรักษาไม่มากนัก เมื่อเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น เป็นที่นิยมในวงการตกแต่งสวน


มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

บ่าซัก หรือ มะคำดีควาย เป็นไม้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ผลแก่แก้ไข้ดับพิษร้อนภายใน



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน