โพสต์: 21 ธันวาคม 2555 อ่าน: 3,008 ครั้ง
|
โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ลดหมอกควันจากการเผา วันที่ 24 มกราคม 2556 ณ โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน
|
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) โดยโครงการรณรงค์ลดหมอกควันจากการเผา กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ลดหมอกควันจากการเผา ในวันที่ 24 มกราคม 2555 ณ โครงการขยายผลโครงการ หลวงแม่จริม บ้านแม่จริม ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน โดยวางเป้าหมายว่าจะมีเกษตรกรในพื้นที่ ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน
นายวิชัย ปัตถมสิงหไชย ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (ลุ่มน้ำน่าน) เผยว่า จากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า การเผาวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่างๆ ตลอดจนการใช้สารเคมีในการเกษตรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบนของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงมีความลาดชัน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ชุมชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ล้วนประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักและทำการเกษตรโดยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การไถพรวนในพื้นที่ลาดชัน การเผาเศษวัชพืช และการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช มากเกินความจำเป็น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อสภาพแวดล้อม ความอุดม สมบูรณ์ของดิน และสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จึงจัดกิจกรรมรณรงค์ลดหมอกควัน จากการเผาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการไถพรวนในพื้นที่ลาดชัน การเผาเศษพืชและการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง และหันมาทำการเกษตรปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ภายในงานจะมีการกิจกรรมสาธิตด้านการเกษตร เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ศึกษาวิธีการ และนำไปปรับใช้ อาทิ การปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวน ไม่เผาเศษพืช และเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้นำองค์ความรู้นี้มาจากผลสำเร็จของมูลนิธิโครงการหลวง การนำเศษวัชพืช ต้นข้าวโพดมาทำเป็นคันปุ๋ยในแปลงปลูกข้าวโพดที่มีความลาดชัน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน การนำ เศษวัชพืชและเศษผลผลิตการเกษตรที่เหลือจากการคัดคุณภาพมาทำกองปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองในพื้นที่ ของเกษตรกร การเลี้ยงไส้เดือนดิน และการนำน้ำหมักไส้เดือนดินมาใช้ในการปลูกพืชผัก รวทั้งกิจกรรมรณรงค์ ลดการใช้สารเคมี เช่น การตรวจคัดกรองโลหิต เพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย การสาธิตการใช้สารเคมีที่ถูกวิธี นอกจากนี้ ยังมีแปลงสาธิตการปลูกพืชผักที่ใช้ประโยชน์จากน้ำหมักไส้เดือนดิน และปุ๋ยหมักจากเศษพืชที่ เกษตรกรดำเนินการในพื้นที่ของตนด้วย นายวิชัย ปัตถมสิงหไชย กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลที่ได้จากการปลูกข้าวโพดโดยวิธีการไม่ไถพรวน ไม่เผาเศษพืช และเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว เป็นการลดต้นทุนการผลิต จากการไม่ไถพรวนดิน ลดต้นทุนการกำจัด วัชพืช ตลอดจนเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น จากปุ๋ยพืชสดและปุ๋ย หมักที่ได้จากการไม่เผาเศษพืช และผลจากการทำการเกษตรด้วยวิธีการดังกล่าว โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง จึงมีการขยายผลสำเร็จไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง และจะขยายไปในวงกว้างต่อไป
|
|
|
|
|
ข่าวประชาสัมพันธ์ : กัลยาณี วรรณศรี เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
|
แท็ก: กิจกรรม สวพส.