โพสต์: 15 เมษายน 2557 อ่าน: 4,437 ครั้ง
|
การอบรมครูศศช. และครูนิเทศก์ 18 – 21 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมฟูราม่า และศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง/ตีนตก จ.เชียงใหม่
|
การจัดอบรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรผู้ที่เป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนงานถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงภายใต้การดำเนินงานของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงฯ สำนักพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) โดยได้กำหนดจัดการอบรมพร้อมศึกษาดูงานองค์ความรู้โครงการหลวงเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี 2557 นี้ ได้มีการพัฒนารูปแบบการอบรมร่วมกับทีมผู้บริหารของสำนักงาน กศน. แต่ละจังหวัด เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันให้ชัดเจนมากขึ้น ในการจัดอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมพร้อมทั้งให้กำลังใจในการทำงานแก่ครูนิเทศและครู ศศช.ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน และนางสุธีรา เดชะ ผู้จัดการโครงการ เป็นผู้กล่าวรายงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรในการบรรยายพร้อมจัดกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องต่อการทำงานในพื้นที่ที่สำคัญได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน การนิเทศอย่างสร้างสรรค์ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งทีมวิทยากรประกอบด้วย นายสุพล ทองคำ ทีมนิเทศ นายสมศักดิ์ วชิรพันธุ์ ทีมนิเทศ ดร.จิรชัย บูรณะฤทธิ์ทวี รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.เชียงราย ดร.เรณู ลีสุวรรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.ลำพูน นางพรรณี ใหม่ประสิทธิกุล รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.เชียงใหม่ นางนาถยา ผิวมั่นกิจ รองผู้อำนวยการสถาบัน กศน.ภาคเหนือ นายสุทัศน์ กันทะมา รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.แม่ฮ่องสอน นางสาวทิพวรรณ เตียงธวัช รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.ลำปาง นายสุรพล วงศ์หวัน รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.น่าน นายวิรัช ภัทรบูชา รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จ.ตาก
|
|
|
หลังจากการบรรยายและทดสอบทำใบงานครบถ้วนตามกระบวนการจัดอบรมแล้ว จึงได้มีการศึกษาดูงานองค์ความรู้โครงการหลวงในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายไทยรัฐ สิทธิพานิช และนายอภิสิทธิ์ อุ่นพินิจ หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงฯ ทั้งสองแห่ง บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับศูนย์ โดยโครงการมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานนี้มาพัฒนาเป็นหลักสูตรทดลอง ก่อนที่จะกลับเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานจริงและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่สามารถใช้ได้จริงต่อไป สำหรับองค์ความรู้หลักๆ ที่สำคัญ เช่น การปลูกกาแฟ การเพาะเห็ด การปลูกไม้ดอก/ไม้ประดับ การปลูกไม้ผล การท่องเที่ยว เป็นต้น
|
|
การอบรมครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ด้วยดี ทางโครงการจึงขอขอบคุณทีมวิทยากร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง ครูนิเทศก์ ครู ศศช. และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางโครงการต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
|
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ที่มา: โครงการถ่ายทอดความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชมชนพื้นที่สูง
|
แท็ก: ถ่ายทอดองค์ความรู้