โพสต์: 19 มิถุนายน 2558 อ่าน: 1,482 ครั้ง
|
การเยี่ยมเยียนพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงประจำเดือนมิถุนายน 2558
|
การเยี่ยมเยียนในการจัดกิจกรรมโครงการประจำเดือนมิถุนายน 25558 ในพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวง 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำหรับการเยี่ยมเยียนในครั้งนี้มีนางสุธีรา เดชะ ผู้จัดการโครงการ นางสาววรรณนภา จันทรบุปผา นักวิชาการโครงการและนางสาวไก่แก้ว สุธรรมมา นักวิชาการโครงการเป็นผู้ติดตามการดำเนินงานและเยี่ยมเยียนพื้นที่ถ่ายทอด การเยี่ยมเยียนและติดตามการจัดกิจกรรมของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 3-6 มิถุนายน 2558 มี ศศช.ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 4 ศศช. รวม 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการบริหารจัดการกลุ่มกาแฟอย่างมีระบบ มี 1 ศศช. คือ ศศช. บ้านหนองขาวเหนือ 2) โครงการปลูกเสาวรสเพื่อสร้างรายได้ มี 3 ศศช. คือ ศศช. บ้านห้วยมะโง ศศช.บ้านกิ่วผักเผ็ด และศศช.บ้านนาเจ็ดล็อก การเยี่ยมเยียนและติดตามการจัดกิจกรรมของอำเภอแม่สะเรียง ระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2558 มี ศศช.ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 รวม 6 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการปลูกผักปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนมี 1 ศศช.บ้านแม่แพะ 2) โครงการปลูกไม้ผล มี 2 ศศช. คือ ศศช.บ้านแม่เจ และศศช.บ้านแม่สะลี 3) โครงการปลูกไม้ท้องถิ่น มี 1 ศศช. คือ ศศช.บ้านอีหลู่ 4) โครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ มี 1 คือ ศศช. บ้านห้วยเสือ 5) โครงการบริหารจัดการกลุ่มผ้าทอปักเดือยชนเผ่า มี 1 ศศช. คือ ศศช.บ้านขนุน 6) โครงการปลูกข้าวก่ำเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมือง มี 1 ศศช. คือ ศศช.บ้านแม่ลิดน้อย สำหรับการเยี่ยมเยียนและติดตามการจัดกิจกรรมของทั้งสองอำเภอ พบว่าคุณครูร้อยละ 90 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งทางโครงการมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1. การเพิ่มเติมองค์ความรู้โครงการหลวงในเรื่องของการถ่ายทอดจากกิจกรรมที่ตนรับผิดชอบเพื่อจะได้ถ่ายทอดได้ถูกต้องการหลักวิชาการ 2. การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดแทรกภาษาไทยและคณิตโดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและนำเอาองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมที่ดำเนินการ 3. การบันทึกการประชุม/การพบกลุ่มในแต่ละครั้งของการจัดกิจกรรม 4. ติดตามความก้าวหน้าของการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นประจำทุกเดือน และควรมีการจดบันทึกการติดตามไว้ด้วย 5. การจัดกิจกรรมให้ได้ผลผลิต (output) ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 6. การสร้างกฎ กติกา ระเบียบให้กับกลุ่มสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่มสมาชิกได้อย่างชัดเจน 7. การพบปะพูดคุยกับกลุ่มสมาชิกควรพบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
ทั้งนี้ ขอขอบคุณคณะครูทั้ง 2 อำเภอและสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้นที่ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี มา ณ ที่นี้
ดูรูปภาพทั้งหมด คลิก !!!
|
|
|
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ที่มา: โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวง
|
แท็ก: ถ่ายทอดองค์ความรู้