This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 19 กันยายน 2555     อ่าน: 177,932 ครั้ง



กระต่าย


        กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่เลี้ยงง่าย กินอาหารไม่เลือก แพร่ขยายพันธุ์ได้เร็ว มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง และมีวงจรในการผลิตสั้น แม่กระต่าย 1 แม่ สามารถผลิตลูกให้เนื้อเท่ากับลูกวัว 1 ตัว ใน 1 ปี กระต่ายเป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งได้เนื้อ ได้หนัง ได้ขน รวมทั้งใช้เป็นสัตว์ทดลองในการวิจัยด้านต่างๆ นอกเหนือจากการเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามไว้ดูเล่น


ประเภทและพันธุ์กระต่าย

        กระต่ายที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันทั่วโลกมีหลายร้อยสายพันธุ์ ถ้าแบ่งตามประเภทของการใช้ประโยชน์  สามารถแบ่งออกได้เป็นกระต่ายเนื้อ กระต่ายขน กระต่ายสวยงาม และกระต่ายใช้เป็นสัตว์ทดลอง พันธุ์กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ได้แก่


1.  กระต่ายพื้นเมือง (Native Breed) มีขนาดตัวเล็กโตเต็มที่ประมาณ 2-3 กก. โตช้า มีสีหลายสีไม่แน่นอน แต่แข็งแรง ทนทาน สืบพันธุ์ให้ลูกได้ดีแม้อากาศร้อน

2. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (New Zealand Whtie) สีขาวปลอด ตาแดง ขนาดตัวปานกลาง โตเต็มที่ประมาณ 4–5 กก. รูปร่างสวย เนื้อมาก โตไว เป็นแม่พันธุ์ที่ดี

3. พันธุ์คาลิฟอร์เนียน (Californian) มีสีขาว ตาแดง  ยกเว้นรอบจมูก หู หางและเท้าทั้งสี่เป็นสีดำ มีขนาดตัวย่อมกว่านิวซีแลนด์ไวท์เล็กน้อย โตเต็มที่ประมาณ 3.5–4.5 กก. รูปร่างกลมแน่น โตไว ขนหนาแน่นอ่อนนุ่มและสั้นกว่าพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์

4. พันธุ์ชิคคา – แซท (Zika – Z) สีขาวปลอด ตาแดง คล้ายนิวซีแลนด์ไวท์แต่มีขนาดตัวยาวใหญ่กว่า หูใหญ่กว่า และขน หนาแน่นน้อยกว่า เติบโตไว ให้ซากที่มีเนื้อมาก และหนังติดขนผืนใหญ่ โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 4.5 –5.5 กก.

5. พันธุ์ชินชินล่า (Chinchilla) มีสีเทา ตาดำ มีขนาดตัวแตกต่างกัน ตั้งแต่พันธุ์ขนาดเล็ก 2 กก. ถึงพันธุ์ขนาดใหญ่ 5 กก. เป็นกระต่ายที่มีความแข็งแรงทนทานเลี้ยงง่าย และให้หนังและขนดีพันธุ์หนึ่ง

6. พันธุ์เชคเกอร์ไจแอนท์  (Checkered  Giant) มีขนาดตัวใหญ่ รูปร่างสวย  เนื้อมาก พื้นตัวสีขาว มีแต้มสีดำบริเวณรอบจมูก ตา หู แก้ม และแนวสันหลัง โตเต็มที่ประมาณ 5-6 กก.

7. พันธุ์เรกช์ (Rex) เป็นกระต่ายที่มีหลายสี แต่มีลักษณะขนเฉพาะคือขนสั้นหนาตั้งตรง คล้ายกำมะหยี่ ขนาดตัวโตเต็มที่ประมาณ 3–4 กก.

8. พันธุ์หูตก  (Lop) เป็นกระต่ายที่มีหูยาวใหญ่ มีหลายสี เลี้ยงเป็นกระต่ายสวยงาม

9. กระต่ายพันธุ์ขน (Angora) เป็นกระต่ายที่มีขนยาวนุ่มละเอียด มีสีขนกลายสีเลี้ยงเพื่อตัดขนขาย โตเต็มที่ขนาดตัวประมาณ 3–4 กก.


การเลี้ยง


        กระต่ายเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย เลี้ยงได้ทุกที่ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่สะอาด มูลเป็นเม็ดแข็งๆ แบบ
มูลแพะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่มีเสียงร้องรบกวน อาหารที่ใช้เลี้ยง สามารถเลี้ยงด้วยเศษผักเศษหญ้าและพวกใบไม้
เกือบทุกชนิด รวมไปถึงใบกล้วย ใบตำลึง ผักตบชวา และไมยราพยักษ์ เสริมด้วยเศษข้าวที่เหลือในครัวเรือน
แต่ถ้าจะให้กระต่ายโตไว และให้ผลผลิตสูง ควรใช้อาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีจำหน่ายทั้งอาหารกระต่ายเอง หรืออาหาร
สุกรรุ่น อาหารไก่รุ่น ให้กระต่ายกินเสริม ก็จะทำให้กระต่ายแข็งแรงโตไวขึ้น โดยควรให้อาหารชนิดอัดเม็ด
กระต่ายกินอาหารไม่เปลือง จะกินอาหารแค่วันละ 1–2 ขีด/ตัว/วัน สำหรับน้ำเป็นสิ่งที่กระต่ายจะขาดไม่ได้
เช่นเดียวกับคน และสัตว์อื่น ความเชื่อที่ว่าเลี้ยงกระต่ายไม่ต้องให้น้ำกิน เป็นความเชื่อที่ผิด

 


โรคกระต่าย

        กระต่ายเป็นสัตว์ที่มีโรคแมลงรบกวนน้อย โรคที่มักจะพบได้แก่ อาการท้องเสีย ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ทั่วไปหรือเชื่อบิด การรักษาใช้ยากลุ่มซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะแก้ท้องเสียทั่วไป และโรคขี้เรื้อน ซึ่งเกิดจากตัวไร
ขี้เรื้อน การรักษาใช้กำมะถัน (ผง) ผสมน้ำมันพืช 1:2 ส่วน ทา 2–3 ครั้งจนหาย หรือใช้ยาบี-เม็คติน ฉีดใต้ผิว
หนัง 0.2-0.3 ml. ห่างกัน 2 สัปดาห์

ข้อควรระวัง:  เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ชอบกัดแทะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไม้ทำกรง หรือภาชนะใส่อาหาร เพราะ
กระต่ายจะกัดแทะไม้จนกร่อนหัก เสียหายหมด ถ้าใช้พวกกระถิน หรือไมยราพยักษ์เลี้ยงกระต่าย ควรตัดให้กินทั้ง
กิ่ง กระต่ายจะได้ถือโอกาสแทะลับฟันไปด้วย และเมื่อเลี้ยงกระต่ายจนอายุได้ 4–5 เดือน กระต่ายก็จะโตเป็นหนุ่ม
สาว และพร้อมผสมพันธุ์ กระต่ายอุ้มท้องเพียง 1 เดือน และคลอดลูกครั้งละ 5–10 ตัว หลังจากคลอดลูก และ
เลี้ยงลูกไป 1-2 เดือน ก็สามารถหย่านม และผสมพันธุ์แม่กระต่ายได้อีก ฉะนั้นปัญหาที่ควรระวัง สำหรับผู้ที่เลี้ยง
กระต่ายแบบเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และสงสารไม่กล้าฆ่าหรือขายลูกกระต่ายคือ ต้องระวังอย่าปล่อยให้แม่กระต่าย
ผสมพันธุ์บ่อย เพราะมิฉะนั้นจากแม่กระต่ายเพียง 1 ตัว ใน 1 ปี ท่านจะมีกระต่ายที่ต้องเลี้ยง 100 ตัว!


ประโยชน์ของการเลี้ยงกระต่าย

        สําหรับคนไทย เมื่อพูดถึงกระต่าย ทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยกันดี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนิยมเลี้ยงกระต่ายเพื่อดู
เล่น ให้ความเพลิดเพลิน น้อยคนนักที่จะเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร หรือเอาหนังมาทําผลิตภัณฑ์ แต่ในความ
เป็นจริง แล้วการเลี้ยงกระต่าย สามารถให้ประโยชน์มากกว่า การเลี้ยงเพื่อดูเล่น ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในแถบยุโรป มีการเลี้ยงกระต่ายเพื่อเป็นการค้าคือ เอาเนื้อไปทําอาหาร เอาหนังขนไปทำผลิตภัณฑ์ใช้สอยต่างๆ
ดังนั้นหากคนไทยยอมรับและเปลี่ยนแนวความคิด ในเรื่องของประโยชน์การเลี้ยงกระต่าย ให้เหมือนกับต่างประเทศ
ก็จะทําให้วงการเลี้ยงกระต่ายของไทย มีการพัฒนามากกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันและคนไทยจะสามารถเลี้ยง
กระต่าย ให้เป็นธุรกิจที่จะทํารายได้เสริม หรือเป็นอาชีพหลักได้เช่นเดียวกับ การเลี้ยงไก่หรือเลี้ยงปลา ซึ่งเรา
สามารถเลี้ยงไว้ เพื่อความเพลิดเพลินหรือเป็นอาหารก็ได้ การนําเนื้อกระต่ายมาบริโภคเป็นอาหาร ในต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบยุโรป และอเมริกานิยมบริโภคเนื้อกระต่ายกันมาก ในปีหนึ่งๆ จะมีการบริโภคเนื้อกระต่าย
ในปริมาณสูง ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อคน ส่วนที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงกระต่ายแบบการค้า
อย่างแพร่หลายก็มีการบริโภคเนื้อกระต่ายเฉลี่ยคนละ 6 กิโลกรัมต่อปี เนื้อกระต่ายมีโปรตีนสูงประมาณ 20% และมีไขมันตํ่าประมาณ 10% ซึ่งน้อยกว่าเนื้อสัตว์ หลายประเภท เช่น ในเนื้อสุกรมีไขมันประมาณ 30-40% เนื้อวัว
มีไขมันประมาณ 28% นอกจากนี้ เนื้อกระต่าย ยังมีพลังงานตํ่าจึงเหมาะอย่างยิ่งสําหรับผู้ที่อยู่ในวัยกำลังเจริญ
เติบโต นักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการรักษารูปร่างไม่ให้อ้วน โดยเฉพาะสําหรับผู้สูงอายุที่มีอาการปัญหาอุดตันของไขมัน
ในเส้นเลือด (คลอเรสเตอรอล) ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง ที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

        เนื้อกระต่ายมีลักษณะนุ่ม สามารถนําไปประกอบอาหารคาวได้เกือบทุกชนิด เช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ประเภท
อื่นๆ สำหรับผู้ที่สนใจบริโภคเนื้อกระต่ายในกรุงเทพฯ มีจำหน่ายที่ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต สาขาลาดพร้าว และ
นอกจากเนื้อที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะแก่การบริโภคแล้ว ขนและหนังที่อ่อนนุ่มของกระต่าย ยังสามารถนําไป
ประดิษฐ์เป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด เช่น เสื้อกันหนาว เสื้อขนสัตว์ หมวกสตรี ถุงมือ
ถุงเท้า พวงกุญแจ กระเป๋า ตุ๊กตา ฯลฯ ซึ่งประเทศไทย ยังไม่สามารถผลิตสินค้าพวกนี้ได้ตามความต้องการของ
ตลาด เพราะปริมาณของหนังกระต่ายมีไม่เพียงพอ เนื้อจากคนเลี้ยงกระต่าย เพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อและหนัง
ในประเทศไทยยังมีน้อย สำหรับราคาของหนังกระต่าย จะแตกต่างไปตามคุณภาพ และขนาดของหนังที่ฟอกได้
ประเทศที่ผลิตขนและหนังกระต่ายจะแตกต่างไปตามคุณภาพ และขนาดของหนังที่ฟอกได้ ประเทศที่ผลิตขนและ
หนังกระต่ายส่งออกได้มากที่สุดในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถผลิตขน และหนังกระต่ายส่งออก
ได้ ประมาณปีละ 1,500 ตันการเลี้ยงกระต่ายเพื่อ การค้าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับเกษตรกรผู้สนใจ
เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ให้เนื้อ ที่ใช้เวลาในการเลี้ยงไม่นาน ก็สามารถให้ผลตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้อ
หรือผลผลิตลูกกระต่ายได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว และให้ลูกดก คือสามารถ
ให้ลูกได้เฉลี่ยปีละ 4-5 ครอกๆละ 6-8 ตัว (แม่กระต่ายอุ้มท้องลูกเพียง 1 เดือนเท่านั้น) ลูกกระต่ายที่เกิด
ออกมา จะมีนํ้าหนักประมาณ 50-60 กรัม และเมื่อเลี้ยงอยู่กับแม่ประมาณ 1 เดือน จะได้น้ำหนักประมาณ
300-400 กรัม หลังจากหย่านมเมื่อนําไปเลี้ยงขุนประมาณ 2 เดือน จะได้นํ้าหนักประมาณ 1.8-2.3 กิโลกรัม
ซึ่งสามารถนําไปขายเป็นเนื้อได้ หรือถ้าทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบในเรื่องของเปอร์เซ็นต์
ซากกับสัตว์ให้เนื้อประเภทอื่นแล้ว เปอร์เซ็นต์ซากของกระต่าย ก็ไม่ได้แตกต่างจากสัตว์อื่นเท่าไร กระต่ายเป็น
สัตว์ที่กินอาหารง่าย สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ตามปกติ โดยเพียงใช้อาหารจากพืชชนิด ต่างๆ ที่หา
ได้ทั่วไปหรือเศษอาหาร เช่น เศษพืช ใบผัก ข้าวสุก หญ้า กากถั่วเหลือง กากเต้าหู้ ใบถั่ว เป็นต้น

        สําหรับประเทศไทย แม้ว่าคนไทยโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะยังไม่คุ้นเคย หรือนิยมบริโภคเนื้อกระต่าย แต่หาก
มองในเรื่องปัญหา การขาดแคลนอาหารประเภทโปรตีน บวกกับคุณสมบัติ ของเนื้อกระต่ายที่ได้เปรียบกว่าเนื้อสัตว์
ประเภทอื่น ที่เราบริโภคกันอยู่ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติใหม่ของคนไทย ต่อการเลี้ยงกระต่ายว่าสามารถเลี้ยงได้หลาย
วัตถุประสงค์ โดยจัดแบ่งประเภทกระต่ายว่า ประเภทใด พันธุ์ใดที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อและหนัง เชื่อว่า
ในอนาคตคนไทยจะหันมาบริโภคเนื้อกระต่ายกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทําให้เกิดการขยายตลาดเนื้อกระต่ายเป็นการ
พัฒนาวงการเลี้ยงกระต่าย เพื่อเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมต่อไป



บทความ: นายสุคีพ ไชยมณี
ที่มา: องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ขอขอบคุณรูปภาพจาก: boonsongrabbit.com






ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน