โพสต์: 15 สิงหาคม 2555 อ่าน: 11,352 ครั้ง
การเลี้ยงหมูหลุม
การทำการปศุสัตว์บนพื้นที่สูง ต้องคำนึงถึงผลกระทบและปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะในด้านของภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา มีที่ราบน้อย เกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงสุกรไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และใช้ร่วมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยลักษณะการเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยง โดยผูกสุกรไว้กับเสาบ้าน หรือเลี้ยงแบบปล่อย หรือมีการเลี้ยงแบบขังคอกโดยใช้พื้นไม้หรือพื้นดินธรรมดา เป็นพื้นคอก
จากการที่กรมปศุสัตว์ได้จัดทำระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรขึ้น เพื่อ เป็นการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงสุกร เพื่อคุ้มครอบผู้บริโภคและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยเนื้อหาของระเบียบดังกล่าว จะกล่าวถึงองค์ประกอบของฟาร์มและการจัดการที่สำคัญ 3 ด้านของฟาร์มสุกร ได้แก่ การจัดการฟาร์ม การจัดการสุขภาพสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะเกษตรกรบนพื้นที่สูงแล้ว มีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการจัดการฟาร์มเพื่อให้ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานได้ ดังนั้นแนวทางเป็นไปได้สำหรับเกษตรกรบนพื้นที่สูง คือการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามหลักของการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และความยั่งยืนในเลี้ยงสัตว์
ดังนั้นการเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งเป็นการนำเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น มาช่วยในการบำบัดกลิ่น โดยอาศัยการหมักมูลสุกร และอาศัยเทคนิคหลายอย่างซึ่งแตกต่างกับการเลี้ยงสุกรทั่วไป ทั้งในด้านการจัดการและในด้านของอาหาร ทำให้ประหยัดต้นทุนการเลี้ยง ลดกลิ่นเหม็นรบกวน รวมทั้งยังได้ปุ๋ยไว้ใช้ในสวนไร่นาอีกด้วย จึงนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
ขอขอบคุณ
- มูลนิธิโครงการหลวง
- สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
- โครงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์
- โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า
- กลุ่มผูเลี้ยงหมูหลุมบ้านห้วยเป้า
- สำนักงานปศุสัตว์ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
วิดีโอบน YouTube http://youtu.be/NcFp2_IB0Eg
ผักกาดหวาน (Cos Lettuce, Romain Lettuce) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ ลักษณะใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกรอบ รสชาติหวานกรอบเรียกว่า เบบี้คอส
การปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชนิด พันธุ์ และการปลูกการดูแลรักษาสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80
ชาวคะฉิ่นอพยพจากทางใต้ประเทศทิเบตบริเวณต้นแม่น้ำอิระวดี และยังคงสือทอดวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น
ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย