This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 21 กุมภาพันธ์ 2556     อ่าน: 10,968 ครั้ง


This text will be replaced

การปลูกข้าวโพดหวาน 2 สี


ชื่อสามัญ : Sweet corn (bicolor)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays var. rugosa

ลักษณะทั่วไป

ข้าวโพดจัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Graminae) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว  มีจำนวน 8 – 20 ปล้องแข็งแรง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  3 – 4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150 – 220 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึงประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ สำหรับ สี ขนบนใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

โดยทั่วไปดอกตัวผู้จะบานก่อนดอกตัวเมียและพร้อมจะผสมภายใน 1 – 3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2 – 14 วัน ดอกตัวเมียมีลักษณะเป็นฝักจากแขนงสั้น ๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8 – 13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย  และหุ้มฝัก (husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้ายเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสร

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ข้าวโพดหวานสองสีเป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น  อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตควรอยู่ระหว่าง 21 – 30 ?C แต่ไม่ควรสูงเกิน  35 ?C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16 – 24  ?C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นแป้งสูง (Polysaccharides) กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูงจะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำหากสภาพแปลงปลูกมีความชื้นสูงเมล็ดอาจจะเน่าได้  หรือสภาพความชื้นสูงหรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า  13  ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญของดอกในบางสายพันธุ์

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ข้าวโพดหวานจัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูงและมีปริมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามีน นอกจากนี้พันธุ์ที่มี สีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่งหรือย่างทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสมกับมะพร้าวขูดน้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง  ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่  แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น

ขอขอบคุณ

- มูลนิธิโครงการหลวง
- สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


วิดีโอบน YouTube http://youtu.be/7ePZTS8ZQtM





แนะนำองค์ความรู้
ผักกาดหวาน

ผักกาดหวาน

ผักกาดหวาน (Cos Lettuce, Romain Lettuce) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ ลักษณะใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกรอบ รสชาติหวานกรอบเรียกว่า เบบี้คอส


คาร์เนชั่น

คาร์เนชั่น

คาร์เนชั่น เป็นพืชยืนต้นที่มีชีวิตยาวหนานหลายฤดู กิ่งก้านยาว ดอกมีกลีบยาว กลีบดอกเรียงซ้อนกันแน่น


เฮมพ์ หรือ กัญชง

เฮมพ์ หรือ กัญชง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เส้นใยเฮมพ์เพื่อนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตเส้นใยเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบ



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน