This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 21 กุมภาพันธ์ 2556     อ่าน: 10,966 ครั้ง


This text will be replaced

การปลูกข้าวโพดหวาน 2 สี


ชื่อสามัญ : Sweet corn (bicolor)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays var. rugosa

ลักษณะทั่วไป

ข้าวโพดจัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Graminae) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว  มีจำนวน 8 – 20 ปล้องแข็งแรง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  3 – 4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150 – 220 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึงประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ สำหรับ สี ขนบนใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

โดยทั่วไปดอกตัวผู้จะบานก่อนดอกตัวเมียและพร้อมจะผสมภายใน 1 – 3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2 – 14 วัน ดอกตัวเมียมีลักษณะเป็นฝักจากแขนงสั้น ๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8 – 13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย  และหุ้มฝัก (husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้ายเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสร

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ข้าวโพดหวานสองสีเป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น  อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตควรอยู่ระหว่าง 21 – 30 ?C แต่ไม่ควรสูงเกิน  35 ?C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16 – 24  ?C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นแป้งสูง (Polysaccharides) กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูงจะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำหากสภาพแปลงปลูกมีความชื้นสูงเมล็ดอาจจะเน่าได้  หรือสภาพความชื้นสูงหรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า  13  ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญของดอกในบางสายพันธุ์

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ข้าวโพดหวานจัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูงและมีปริมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามีน นอกจากนี้พันธุ์ที่มี สีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่งหรือย่างทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสมกับมะพร้าวขูดน้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง  ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่  แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น

ขอขอบคุณ

- มูลนิธิโครงการหลวง
- สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


วิดีโอบน YouTube http://youtu.be/7ePZTS8ZQtM





แนะนำองค์ความรู้
ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

“ไฮเดรนเยีย ช่อชั้น หลากสี พื้นถิ่นไม้หนาวนี้ พรั่งพร้อม งดงามอุทยานที่ ราชพฤกษ์ ขาวม่วงชมพูล้อม อีกฟ้างามตา”


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1

กันภัยมหิดลเป็นไม้ประจำถิ่นของไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งพบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) ที่น้ำตกไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี


กุหลาบ

กุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้าแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ฯลฯ


ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

พืชสกุลไฮเดรนเยีย (Hydrengea macophylla) มีอยู่ด้วยกันประมาณ 80 ชนิด ส่วนมากจะเป็นไม้พุ่ม



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน