โพสต์: 21 พฤษภาคม 2555 อ่าน: 9,173 ครั้ง
ศศช.ห้วยไทร อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน หนึ่งในพื้นที่พัฒนาศักยภาพฯ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง จัดกิจกรรมในชุมชนเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยร่วมกับชุมชนสร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 3 แห่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 |
1) พื้นที่โครงการหลวง
(1) จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานโครงการป่าชาวบ้านฯ มูลนิธิโครงการหลวง จำนวน 6 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 136 คน และจัดเวทีชุมชนในการรวมกลุ่มผู้ปลูกป่าชาวบ้านในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 11 แห่ง จำนวน 13 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 332 คน สามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกันภายใต้กฎระเบียบการบริหารจัดการซึ่งสมาชิกได้ให้การยอมรับแล้ว จำนวน 10 กลุ่ม สมาชิก 274 คน (2) จัดกิจกรรมรณรงค์ปลูกป่าชาวบ้านในการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกษตรกรสนใจปลูกต้นไม้บนพื้นที่ทำกินของตนเองในพื้นที่ศูนย์ฯ ห้วยน้ำริน พื้นที่ปลูก 20 ไร่ จำนวน 5,000 ต้น มีผู้เข้าร่วม 383 คน (3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตกล้าไม้โตเร็วและไม้ท้องถิ่น จำนวน 6 รายการ แก่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 8 แห่ง 2) พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง (1) จัดเวทีชุมชนในการรวมกลุ่มผู้ปลูกป่าชาวบ้าน 2 แห่ง จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 71 คน สามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกันภายใต้กฎระเบียบการบริหารจัดการกลุ่มที่สมาชิกยอมรับแล้ว จำนวน 2 กลุ่ม สมาชิก 49 คน (2) จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการป่าชาวบ้านฯ ให้แก่เกษตรกรจำนวน 25 ครั้ง ใน 24 แห่ง มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งสิ้น 670 คน (3) จัดกิจกรรมรณรงค์ปลูกป่าชาวบ้านเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกษตรกรสนใจปลูกต้นไม้บนพื้นที่ทำกินของตนเองมากขึ้น จำนวน 4 ครั้ง รวมพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 60 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 70,256 ต้น มีผู้เข้าร่วม 524 คน (4) สนับสนุนปัจจัยการผลิตกล้าไม้โตเร็วและไม้ท้องถิ่น จำนวน 4 รายการ ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์ไม้โตเร็ว 4 ชนิดได้แก่ เมเปิลหอม จันทร์ทองเทศ การบูรและกระถินดอย เมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่น 1 ชนิด (เพกา) ถุงเพาะชำ ขนาด 2x6 นิ้ว และปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 เพื่อใช้ในการผลิตกล้าไม้ให้กับพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง 25 แห่ง |
|
3) พื้นที่โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง (1) สนับสนุนโรงเรือนเพาะชำกล้าไม้และปัจจัยการผลิตเพื่อใช้ในกิจกรรมการผลิตกล้าไม้โตเร็วและไม้ท้องถิ่น ในพื้นที่ รวม 8 แห่ง (2) จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการป่าชาวบ้านฯ ให้แก่เกษตรกร จำนวน 8 ครั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งสิ้น 360 คน (3) จัดกิจกรรมรณรงค์ปลูกป่าชาวบ้านในพื้นที่ 8 แห่ง พื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 46 ไร่ มีผู้เข้าร่วม 1,192 คน |
|
4) การอำนวยการและประสานงาน
(1) จัดทำคู่มือปลูกป่าชาวบ้าน จำนวน 2,000 เล่ม (2) ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการป่าชาวบ้านฯ จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าเยี่ยมชมจำนวน 1,325 คน (3) ติดตาม ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานโครงการป่าชาวบ้านฯ ทั้งในพื้นที่โครงการหลวง โครงการขยายผลโครงการหลวง และโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงฯ รวมทั้งสิ้น 53 ครั้ง |
การปลูกไม้ผลเป็นอาชีพสำคัญ ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน
องุ่นเป็นไม้ผลชนิดเถาเลื้อยที่มีอายุยานานหลายปี สามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศหลายแบบ แต่องุ่นที่ปลูกในภาพที่มีอากาศหนาวเย็นจะมีคุณภาพสูงกว่า
ชาวคะฉิ่นอพยพจากทางใต้ประเทศทิเบตบริเวณต้นแม่น้ำอิระวดี และยังคงสือทอดวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น
สมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน บางชนิดอาจพบเห็นได้ยากง่ายต่างกันไป และแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้รักษากันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย...