โพสต์: 12 มิถุนายน 2555 อ่าน: 5,657 ครั้ง
มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้เห็นความสำคัญในการนำองค์ความรู้ต่างๆ ไปถ่ายทอดให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่โครงการหลวงและผู้ที่สนใจทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้และเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งในการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาทั้งในส่วนของการจัดทำแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาวิทยากรของศูนย์ฯโครงการหลวง การจัดทำสื่อต่างๆ ตลอดจนการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของโครงการหลวงให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงให้เป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
1) สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การจัดทำแปลงเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมของศูนย์ โดยจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้โครงการหลวง จำนวน 29 แห่ง และศูนย์เตรียม จำนวน 5 ศูนย์ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำ/ปรับปรุงแปลงเรียนรู้หรือจัดทำกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง และการพัฒนาความพร้อมด้านสถานที่ และอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง
2) พัฒนาความพร้อมของวิทยากรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการจัดทำทะเบียนวิทยากรของศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง
3) พัฒนาสื่อและหลักสูตรการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โดยการผลิตสื่อ เอกสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ หรือการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของศูนย์ (แผ่นพับ/โปสเตอร์)
4) จัดกิจกรรมเผยแพร่ศูนย์เรียนรู้โครงการหลวงและศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้โครงการหลวงเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่เกษตรกรและผู้สนใจ ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
5) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
6) มีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นต้นแบบบนพื้นที่สูงซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการหลวง 27 แห่ง และศูนย์เรียนรู้ของโครงการขยายผลโครงการหลวง 2 แห่ง
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้าแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ฯลฯ
ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง
การปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชนิด พันธุ์ และการปลูกการดูแลรักษาสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80