โพสต์: 12 มิถุนายน 2555 อ่าน: 9,870 ครั้ง
โครงการขยายผลโครงการหลวงดำเนินงานในพื้นที่ 28 แห่ง ใน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดน่าน จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก จำนวน 87 กลุ่มบ้าน 15,074 ครัวเรือน ประชากร 69,854 คน
1. การพัฒนาอาชีพของเกษตรกร
1.1) การถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวงและการพัฒนาอาชีพ โดยจัดฝึกอบรม และศึกษาดูงาน เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้
1.2) ส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ทั้ง 28 แห่ง โดยเน้นการปลูกพืชตามระบบการเพาะปลูกที่ดี (GAP) ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและเทคโนโลยีต่างๆ
1.3) ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพนอกภาคการเกษตร เน้นการฟื้นฟูอนุรักษ์และส่งเสริมงานหัตถกรรมท้องถิ่น การแปรรูปผลผลิตและการเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านการท่องเที่ยว โดยการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่ม จำนวน 35 กลุ่ม
2. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.1) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกป่าชาวบ้านในพื้นที่ทำกิน โดยจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ มีเกษตรกรสนใจปลูก จำนวน 599 ราย พื้นที่ 556 ไร่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 77,257 ต้น และรณรงค์ปลูกป่าของชุมชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง จำนวน 28 แห่ง โดยปลูกต้นไม้รวมทั้งสิ้น 158,737 ต้น มีผู้เข้าร่วมจำนวน 6,291 คน
2.2) รณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ทั้ง 28 แห่ง ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 1,456,000 กล้า รวมทั้งการจัดทำแปลงขยายพันธ์หญ้าแฝกในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ของโครงการ จำนวน 5 แห่ง 5 แปลง (ป่ากล้วย แม่จริม ขุนสถาน แม่สลอง และแม่สามแลบ) ผลิตกล้าพันธุ์แฝกได้จำนวน 500,000 กล้า
2.3) ส่งเสริมการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้ง 28 แห่ง ในการผลิตปุ๋ยหมัก จำนวน 1,115 ตัน และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1,000 ลิตร
2.4) รณรงค์ลดการใช้สารเคมี จำนวน 7 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 808 คน และการตรวจคัดกรองโลหิต ซึ่งผลการตรวจหาสารพิษในร่างกายเกษตรกร ทั้ง 7 แห่ง พบว่า ร้อยละ 33.04 อยู่ในภาวะปกติและปลอดภัย และร้อยละ 66.96 อยู่ในภาวะเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
2.5) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพในแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูก ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง จำนวน 12 พื้นที่ จำนวน 12 สายน้ำ รวม 30 ตัวอย่าง โดยส่งตัวอย่างน้ำไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ณ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่าร้อยละของผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 ประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2537) 20 รายการ เท่ากับ ร้อยละ 87.12
3. การพัฒนาสังคมและการตลาด
3.1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงทั้ง 28 แห่ง จำนวน 248 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มอาชีพทางการเกษตร 89 กลุ่ม กลุ่มอาชีพนอกภาคการเกษตร 35 กลุ่ม กลุ่มด้านสังคม 80 กลุ่ม กลุ่มด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 16 กลุ่ม กลุ่มอื่นๆ 15 กลุ่ม สมาชิกรวมทั้งสิ้น 5,417 คน
3.2) ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านสะอาดชุมชนเข้มแข็งและการออมทรัพย์ โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดภายในชุมชน สถานที่สาธารณประโยชน์ และส่งเสริมการออมทรัพย์ด้วยกระบอกออมสินไม้ไผ่ และจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชุมชน โดยชุมชนสามารถวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของชุมชนในปัจจุบัน เป็นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้สามารถช่วยเหลือตนเอง
3.3) การสนับสนุนด้านการตลาด โดยทดสอบการพัฒนาตลาดผลผลิตในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงทั้ง 28 แห่ง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ การประเมินความต้องการของตลาด การวางแผนการผลิตและการตลาด การควบคุมคุณภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการจำหน่ายผลผลิตสู่ตลาด ซึ่งทำให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการตลาดทั้งภายในและนอกชุมชนได้ โดยมีรูปแบบการตลาด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ตลาดภายในชุมชน จำนวน 15 แห่ง 2) ตลาดภายนอกชุมชนและตลาดแบบไม่มีสัญญา จำนวน 24 แห่ง 3) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและตลาดแบบมีสัญญา จำนวน 6 แห่ง
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6
ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป
กาสะลองคำมีดอกสีเหลืองทองออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่งและลำต้น มีขนนุ่มประปราย กลีบดอกเชื่อมเป็นรูปทรงกระบอกปลายแยกเป็น 5 แฉก
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 7
พรรณไม้พระนามราชสกุลมหิดล ไม้ดอกโทนสีชมพู สีสันอันงดงามและอ่อนหวาน เช่น กุหลาบพระนามสิรินธร ดอกกุหลาบสีชมพูเหลือบเหลือง ที่มีกลิ่นหอม กล้วยไม้ฟาแลนนอพซิส พรินเซสจุฬาภรณ์ ดอกกล้วยไม้สีขาวชมพูระเรื่อกรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ