This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 12 พฤศจิกายน 2555     อ่าน: 10,528 ครั้ง


 

 


โครงการหลวงกับงานพัฒนาด้านปศุสัตว์


        การพัฒนาด้านการเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่โครงการหลวง เริ่มต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆ บนพื้นที่สูง และได้มีการนำสัตว์เลี้ยงพันธุ์ดี ได้แก่ กระบือ สุกร ไก่ และแกะ ไปพระราชทานให้ชาวบ้าน ในหลายหมู่บ้านด้วยกัน ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งโครงการ พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อแก้ปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย และการปลูกฝิ่นของชาวเขา ทีมงานอาสาสมัครซึ่งนำโดย รศ. สังเวียน โพธิ์ศรี (ขณะดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถานีวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่) ได้ออกไปติดตาม ให้คำแนะนำด้านการจัดการการเลี้ยงดูอย่างต่อเนื่อง และอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในยุคต้นๆ ของโครงการหลวงคือ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ชวนิศนดากร วรวรรณ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัย และทดสอบด้านปศุสัตว์ ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง ได้แก่การทดสอบการเลี้ยงแกะบนที่สูง การเลี้ยงสุกร ไก่ และห่าน เป็นต้น

        หลังจากนั้นในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โครงการหลวงได้รับการสนับสนุนสัตว์เลี้ยงพันธุ์ดี จากหน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ไก่เบรส (Bresse) จากประเทศฝรั่งเศส สุกรพันธุ์เปียแตรง (Pietrain) จากประเทศเบลเยี่ยม สุกรลูกผสม กวาง แพะนม และควายนม จากกรมปศุสัตว์ แพะนม สุกรพันธุ์เหมยซาน และกระต่ายพันธุ์เนื้อ จากองค์การ Heifer International (Thailand) นกกระจอกเทศ แพะเนื้อพันธุ์บอร์ (Boer) และไก่บ้านสีทอง จากบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกร ไว้เป็นแหล่งอาหาร และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เมื่อตั้งเป็นมูลนิธิโครงการหลวง การวิจัยด้าน ปศุสัตว์ ได้เริ่มต้นขึ้น โดยนักวิจัยจากกรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนทุนโครงการวิจัยต่างๆ จากฝ่ายวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง ทำให้ได้ข้อมูลด้านการจัดการเลี้ยงดู ด้านพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมต่อพื้นที่สูง เช่น พันธุ์ไก่ชี้ฟ้า ฟ้าหลวง และแม่ฮ่องสอน พันธุ์หมูพื้นเมืองและลูกผสม การเลี้ยงไก้ฟ้า กระต่าย แพะนม และควายนม ตลอดจนการศึกษาด้านผลิตภัณฑ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ และได้ขยายผลของงานวิจัยไปสู่เกษตรกร เช่น การส่งเสริมการเลี้ยงไก่เบรส ไก่ฟ้าคอแหวน กระต่าย เพื่อนำเนื้อออกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารยุโรป สำหรับเนื้อกระต่ายบางส่วน ได้มีการนำมาแปรรูปเป็นไส้กรอก กุนเชียง ไส้อั่ว และกระต่ายอบรมควัน รวมทั้งไก่เบรสอบรมควัน ในส่วนของนมที่ได้จากแพะนม และควายนม ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นมแพะพาสเจอร์ไรท์ ส่วนนมควายจะนำมาแปรรูปเป็น Mozzarella cheese Feta cheese และ yogurt รสต่างๆ

        นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ ยังได้สนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริม และสาธิตการเลี้ยงสัตว์ แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้มีบทบาทในการสนับสนุนงานต่างๆ ของโครงการหลวง ทั้งในด้านการวิจัย การสนับสนุนทุนวิจัย การสนับสนุนด้านวิชาการ และบุคคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ ร่วมพัฒนางานด้านปศุสัตว์ ในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการขยายผลโครงการหลวงต่างๆ เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ แก่เกษตรกรในพื้นที่และผู้ที่สนใจ นำไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ของเกษตรกร ให้ได้รับประโยชน์ ทั้งด้านการเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงต่อไป

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก:
http://www.dld.go.th/royal/th/index.php/royal


-----------------------------------------------


สุคีพ ไชยมณี  /เรียบเรียบ
งานพัฒนาและส่งเสริมปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง /ข้อมูล





แนะนำองค์ความรู้
ซิมบิเดียม

ซิมบิเดียม

ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง


กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวจัดอยู่ในวงศ์ Brassicaceae (Cruciferae) มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้


การเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม

เกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงสุกรไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และใช้ร่วมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ


ผักเฮือด

ผักเฮือด

ผักเฮือดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสกุลเดียวกับไทรและมะเดื่อ ทุกส่วนของต้นมียางสีขาว



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน