โพสต์: 15 พฤษภาคม 2556 อ่าน: 18,413 ครั้ง
โครงการขยายผลโครงการหลวงปางแดงใน ศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชน |
บ้านปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าปะหล่อง ที่อพยพมาจากประเทศพม่า เป็นชนเผ่าเดียวกับชาวปะหล่องบ้านนอแล พื้นที่ดอยอ่างขางในทิวเขาแดนลาว เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้กับสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ชาวปะหล่องกลุ่มนี้ได้เรียกชื่อชนเผ่าตนเองว่า “ดาราอั้ง” ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนว่า “เป็นชนเผ่าที่มาจากนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ แต่ได้ละเมิดกฎของสวรรค์ จึงทำให้ต้องมากำเนิดในโลกมนุษย์ กลายเป็นชนเผ่าปะหล่องนั่นเอง”
|
|
ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน มีงานทั้งการวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆกว่า 10 โครงการ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ที่เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยเน้นให้มีการพัฒนาด้านการเกษตรตามฐานองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตไปพร้อมๆกับคุณภาพของผลผลิตพืชตามมาตรฐานการผลิตพืชที่ปลอดภัย โดยให้คนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง การทดสอบการปลูกเสาวรสหวาน ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี โดยทาง สวพส. ได้เริ่มทดสอบปลูกเสาวรสหวานในพื้นที่บ้านปางแดงในในปีพ.ศ.2552 เนื่องจากพื้นที่มีความสูง 500-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีลักษณะเป็นดินร่วนและดินปนทราย และมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับเสาวรสหวาน |
อีกโครงการหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คือโครงการวิจัยและทดสอบสาธิตเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาเศษพืช โดยสาเหตุก็เพราะว่าชาวบ้านปางแดงใน มีขั้นตอนวิธีปลูกข้าวโพดที่ไม่เหมาะสม เช่น เตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถพรวน หรือเผาเศษพืชเพื่อทำลายวัสดุคลุมดิน ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และหมอกควันการเผาเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพดยังเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ได้เริ่มนำเอาองค์ความรู้ไปขยายผลสู่เกษตรกรในรูปแบบการทดสอบและสาธิตการปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วในแปลงเกษตรกร เมื่อปี พ.ศ. 2553 และมีเกษตรกรให้ความสนใจหลายราย จากการดำเนินงานโครงการ การปลูกข้าวโพดร่วมกับพืชตระกูลถั่ว สามารถเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่ให้แก่เกษตรกร โดยการปลูกข้าวโพดอย่างเดียวให้กำไรสุทธิ 3,778 บาท/ไร่ ในขณะที่การปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยถั่วแปะยี มีผลตอบแทนสุทธิสูงกว่าถึง 5,830 บาท/ไร่ และถั่วนิ้วนางแดง สูงกว่าถึง 6,806 บาท/ไร่ |
|
สิ่งหนึ่งที่จะสังเกตจากการดำเนินงานที่ผ่านมาคือ การส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาทำลายซังข้าวโพดที่เหลือจากการสีข้าวโพด โดยให้นำมาทำปุ๋ยหมักตามวิธีธรรมชาติ วิธีการหนึ่งที่ชาวปางแดงในปฏิบัติก็คือการปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว แล้วนำเศษวัสดุที่เหลือจากการปลูกมาทำเป็นแนวคันดินตามขวางในแปลง สลับกับการปลูกพืชตระกูลถั่วแบบไม่ไถ ไม่เผา เพื่อลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ลดพื้นที่ที่เกิดจากการทำลายป่า รวมทั้งลดปัญหามลภาวะจากปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษ จนกระทั่งชุมชนปะหล่องบ้านปางแดงในได้รับรางวัลชุมชนตัวอย่างที่จัดการแก้ปัญหามลพิษทางหมอกควันได้ครบวงจร โดยได้รับรางวัลชมเชยระดับจังหวัดเป็นหมู่บ้านประสบความสำเร็จ ในการควบคุมแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลจากหน่วยงานอื่นๆ อีก อาทิ |
|
เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 2-3 เมตร ดอกสีเหลือ สีขาวหรือสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งมีดอกย่อย 3-4 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก
“ต้นเบาบับ (Baobab Tree)” ต้นไม้ชื่อแปลกไม่คุ้นหูต้นนี้หลายคนคงนึกสงสัย แต่อันที่จริงเราอาจเคยรู้จักต้นเบาบับมาแล้ว หากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Lion King คงจะจำภาพต้นไม้ประหลาดที่ตัวละครชื่อ Rafikiได้
ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง
ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบ