This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 15 พฤษภาคม 2556     อ่าน: 18,412 ครั้ง


 


โครงการขยายผลโครงการหลวงปางแดงใน ศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชน


        บ้านปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าปะหล่อง ที่อพยพมาจากประเทศพม่า เป็นชนเผ่าเดียวกับชาวปะหล่องบ้านนอแล พื้นที่ดอยอ่างขางในทิวเขาแดนลาว เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้กับสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ชาวปะหล่องกลุ่มนี้ได้เรียกชื่อชนเผ่าตนเองว่า “ดาราอั้ง” ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนว่า “เป็นชนเผ่าที่มาจากนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ แต่ได้ละเมิดกฎของสวรรค์ จึงทำให้ต้องมากำเนิดในโลกมนุษย์ กลายเป็นชนเผ่าปะหล่องนั่นเอง”

        วิถีชีวิตของชาวปะหล่องส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติในลักษณะของคนอยู่ร่วมอาศัยกับป่า เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิโครงการหลวง ได้เข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยสนับสนุนให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ดำเนินการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นตามโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส ทรางครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ซึ่งเป็นองค์การภาครัฐที่ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวงและดำเนินการขยายผลโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่จะอยู่ได้อย่างดี ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งตนเอง รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความอดออม และการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกันเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือชนเผ่าปะหล่องในพื้นที่บ้านปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

        ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน มีงานทั้งการวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆกว่า 10 โครงการ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ที่เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยเน้นให้มีการพัฒนาด้านการเกษตรตามฐานองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตไปพร้อมๆกับคุณภาพของผลผลิตพืชตามมาตรฐานการผลิตพืชที่ปลอดภัย โดยให้คนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง การทดสอบการปลูกเสาวรสหวาน ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี  โดยทาง สวพส. ได้เริ่มทดสอบปลูกเสาวรสหวานในพื้นที่บ้านปางแดงในในปีพ.ศ.2552 เนื่องจากพื้นที่มีความสูง 500-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีลักษณะเป็นดินร่วนและดินปนทราย และมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับเสาวรสหวาน

 




        ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน มีงานทั้งการวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆกว่า 10 โครงการ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)  ที่เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยเน้นให้มีการพัฒนาด้านการเกษตรตามฐานองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตไปพร้อมๆกับคุณภาพของผลผลิตพืชตามมาตรฐานการผลิตพืชที่ปลอดภัย โดยให้คนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เช่น  โครงการทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง การทดสอบการปลูกเสาวรสหวาน ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี  โดยทาง สวพส. ได้เริ่มทดสอบปลูกเสาวรสหวานในพื้นที่บ้านปางแดงในในปีพ.ศ.2552 เนื่องจากพื้นที่มีความสูง 500-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีลักษณะเป็นดินร่วนและดินปนทราย และมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับเสาวรสหวาน
    
        แรกเริ่มในปี พ.ศ. 2552  มีเกษตรกรสนใจและเข้าร่วมโครงการ 22 ราย พื้นที่ปลูก 27.1 ไร่ จำนวน 1,158 ต้น โดยได้อบรมให้ความรู้และสาธิตการเปลี่ยนยอดเสาวรสพันธุ์หวาน พร้อมให้เกษตรกรเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีในแปลงของตนเอง และติดตามให้คำแนะนำการปฏิบัติดูแลเสาวรสหวาน

        ปีพ.ศ.2553 มีพื้นที่ที่เริ่มให้ผลผลิตได้ 4.7 ไร่ มีปริมาณผลผลิต 1,032 กิโลกรัม  จำหน่ายให้กับพ่อค้าบ้านปางเฟือง รายได้ 15,485 บาท (เฉลี่ย 15 บาท/กก.) และต่อมา ปี พ.ศ.2554-2555  มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 49 ราย  โดยมีการจัดการผลผลิตในรูปของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเสาวรสบ้านปางแดงใน ดำเนินงานโดยสมาชิกซึ่งเป็นเกษตรกรในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่จากสถาบัน  เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำทั้งเรื่องการผลิตและการตลาด ผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว มีปริมาณผลผลิตทั้งสิ้น  21,780  กิโลกรัม ผ่านช่องทางการตลาด 3 ช่องทาง คือ Top Super Market 11.88%  จินตนาผลผลิต 83.19% และพ่อค้าในพื้นที่บ้านปางเฟือง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 4.93% ของผลผลิตทั้งหมดตลอดฤดู โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2554 ถึงต้นเดือนมีนาคม 2555 รวมระยะเวลา 7 เดือน




        อีกโครงการหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คือโครงการวิจัยและทดสอบสาธิตเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาเศษพืช โดยสาเหตุก็เพราะว่าชาวบ้านปางแดงใน มีขั้นตอนวิธีปลูกข้าวโพดที่ไม่เหมาะสม เช่น เตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถพรวน หรือเผาเศษพืชเพื่อทำลายวัสดุคลุมดิน ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และหมอกควันการเผาเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพดยังเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ได้เริ่มนำเอาองค์ความรู้ไปขยายผลสู่เกษตรกรในรูปแบบการทดสอบและสาธิตการปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วในแปลงเกษตรกร เมื่อปี พ.ศ. 2553 และมีเกษตรกรให้ความสนใจหลายราย จากการดำเนินงานโครงการ การปลูกข้าวโพดร่วมกับพืชตระกูลถั่ว สามารถเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่ให้แก่เกษตรกร โดยการปลูกข้าวโพดอย่างเดียวให้กำไรสุทธิ 3,778 บาท/ไร่ ในขณะที่การปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยถั่วแปะยี มีผลตอบแทนสุทธิสูงกว่าถึง 5,830 บาท/ไร่ และถั่วนิ้วนางแดง สูงกว่าถึง 6,806 บาท/ไร่

 

        สิ่งหนึ่งที่จะสังเกตจากการดำเนินงานที่ผ่านมาคือ การส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาทำลายซังข้าวโพดที่เหลือจากการสีข้าวโพด โดยให้นำมาทำปุ๋ยหมักตามวิธีธรรมชาติ วิธีการหนึ่งที่ชาวปางแดงในปฏิบัติก็คือการปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว แล้วนำเศษวัสดุที่เหลือจากการปลูกมาทำเป็นแนวคันดินตามขวางในแปลง สลับกับการปลูกพืชตระกูลถั่วแบบไม่ไถ ไม่เผา เพื่อลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ลดพื้นที่ที่เกิดจากการทำลายป่า รวมทั้งลดปัญหามลภาวะจากปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษ  จนกระทั่งชุมชนปะหล่องบ้านปางแดงในได้รับรางวัลชุมชนตัวอย่างที่จัดการแก้ปัญหามลพิษทางหมอกควันได้ครบวงจร โดยได้รับรางวัลชมเชยระดับจังหวัดเป็นหมู่บ้านประสบความสำเร็จ ในการควบคุมแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลจากหน่วยงานอื่นๆ อีก อาทิ

- ได้รับการรับรองมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช)  เสาวรส  สมาชิก จำนวน 50 ราย  จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ผ่านเกณฑ์ประเมินศักยภาพชุมชนในการจัดการมลพิษหมอกควันและการเผาในที่โล่ง โครงการประกวดชุมชนมาตรฐาน หมู่บ้านปลอดการเผา ปี 2555  จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        จากผลสำเร็จในด้านการบริหารจัดการภายในชุมชน ผสานกับการบูรณาการการทำงานระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ชุมชนปะหล่องบ้านปางแดงในเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่องการลดพื้นที่การปลูกพืชไร่ แต่เพิ่มผลผลิตพืช ได้โดยวิธีการ ไม่เผา ไม่ไถ เป็นชุมชนที่แก้ไขปัญหาหมอกควันได้ครบวงจรชุมชน ซึ่งเป็นสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ในหลายๆเรื่อง ทั้งการปลูกข้าวโพดเหลื่อมถั่ว  การปลูกเสาวรส  เศรษฐกิจพอเพียง สมุนไพร ฯลฯ  ที่ชุมชนอื่นน่าจะสังเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป


--------------------------------------------------------------------
ที่มา: นายพีระพล ดำงาม
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)





แนะนำองค์ความรู้
การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม


พลับ Persimmon

พลับ Persimmon

พลับเป็นพืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไปได้มาก สามารถขึ้นได้ดีใน


สมุนไพรน่ารู้

สมุนไพรน่ารู้

สมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน บางชนิดอาจพบเห็นได้ยากง่ายต่างกันไป และแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้รักษากันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย...


องุ่น

องุ่น

องุ่นเป็นไม้ผลชนิดเถาเลื้อยที่มีอายุยานานหลายปี สามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศหลายแบบ...



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน