โพสต์: 8 กรกฎาคม 2556 อ่าน: 8,892 ครั้ง
|
วัฒนธรรมของชุมชนเหนือเขื่อน และความงดงามของฝืนป่าตะวันตก "ห้วยเขย่ง"
|
เรื่อง: ชูเกียรติ ไชยวุฒิ
แนวทิวเขาหินปูนสวยแปลกตา ทอดยาวสองข้างทางมุ่งสู่อำเภอทองผาภูมิ สลับกับป้ายบอกแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งทางรถไฟ สายมรณะที่ถ้ำกระแซ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ หรือแม้แต่น้ำตกไทรโยค บนทางหลวงหมายเลข 323 ล้วนทำให้ผมตื่นตาใน ครั้งแรกกับกาญจนบุรีเป็นอย่างมาก แต่ระยะทางบนแผนที่ที่บอกตัวเลขว่าอีก 179 กม.เราจะเดินทางถึงตำบลห้วยเขย่งต่างหากที่ ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นกว่าเป็นไหนๆ
ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ในเขตดินแดนแห่งผืนป่าตะวันตกของไทย เป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจ มากมาย ทั้งประวัติศาสตร์ของชุมชนเหนือเขื่อน วชิราลงกรณ์ หรือ เขื่อนเขาแหลมที่ต้องอพยพมาเมื่อครั้งมีการสร้างเขื่อน ทำให้วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวตำบลห้วยเขย่ง มีความหลากหลาย เรียกได้ ว่า แปดหมู่บ้านในตำบลห้วยเขย่งนั้นมีวัฒนธรรม ชุมชน ทั้ง มอญ พม่า ลาว กะเกรี่ยง และคนไทยพื้นถิ่น วิถีชีวิตของชาวตำบลห้วยเขย่ง ทั้งลักษณะชุมชน ประเพณีพื้นถิ่นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลสงกรานต์ มอญที่บ้านห้วยเขย่ง ประเพณีออกพรรษามอญที่บ้านไร่ ก็แปลกตา สำหรับผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ตำบลห้วยเขย่งก็ยังมี สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำ28 บึงน้ำทิพย์ ต้นไม้ยักษ์ พุหนองปลิง รวมไปถึงไฮไลท์ของที่นี่ คือ “พุปูราชินี”
|
|
ปูราชินี หรือ ปูสามสี จะออกมาอวดโฉมให้กับนักท่องเที่ยวได้ ชมในช่วงเดือน มิถุนายน ถึง ปลาย เดือนสิงหาคม ยิ่งฝน ชุกมากเท่าใดปูราชินีก็จะยิ่งมีสีสันสวยสดมากเท่านั้น พุปูราชินี ที่นี่เป็นแหล่งชมปูราชินีแหล่งใหญ่อีกแห่งของจังหวัดกาญจนบุรีเลยที่เดียว อีกอย่างที่นัก ท่องเที่ยวไม่ควร พลาด ก็คือการล่องแก่งลำห้วยปากคอกที่ทั้งความสนุกตื่นเต้นและ ท้าทาย ซึ่งก็จะใช้เวลาในการล่องประมาณ 45 นาที ถือว่าใช้เวลาไม่ มากจนเกินไป ที่ขาดไม่ได้ถ้าหากมาห้วยเขย่ง ก็คืออาหารพื้นถิ่นของที่นี่ เมนูแนะนำเลยก็คือ ลาบปลาตะเพียนโรยด้วยเกล็ดปลาทอด แกงส้ม สายบัว และแกงกระเจี๊ยบมอญใส่ปลากระป๋องที่รสชาติอมเปรี้ยว อร่อย ไปอีกแบบ และอีกอย่างที่นักท่องเที่ยวต้องได้ลอง ก็คือ ขนมทองโย๊ะ เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวตำแล้วตัดเป็นชิ้นนำไปทอด เวลากินต้องจิ้มนมข้นหวาน หรือน้ำผึ้ง กรอบนอกนุ่มในหวานมัน สามารถหาชิมได้ที่บ้านผู้ใหญ่บุญเนียมบ้านท่ามะเดื่อ
ส่วนที่พักที่ตำบล ห้วยเขย่งก็มีหลากหลายมากมายให้ได้เลือกนอน ทั้งรีสอร์ท หรือที่พัก ของหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ผ่านศึกแคมป์ขององค์การทหารผ่าศึก หรือบ้านพักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือออป. แต่ที่พักที่เป็น จุดเด่นของตำบลห้วยเขย่งที่อยากแนะนำ ก็คือ โฮมสเตย์ตำบลห้วยเขย่ง ที่ทางกลุ่มท่องเที่ยวตำบลห้วยเขย่ง ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ความน่าสนใจ ของโฮมสเตย์ที่ตำบลห้วยเขย่งก็คือ การที่โฮมสเตย์ทั้ง 7 หลัง กระจาย ตัวอยู่ในแต่ละหมู่บ้านที่ต่างกันไปทำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการพักแต่ละครั้ง ทั้งบ้านมอญของกำนันคำแสงที่บ้านห้วยเขย่ง บ้านกะเหรี่ยง ของคุณหฤทัยที่บ้านห้วยปากคอก หรือว่าบ้านคนพื้นถิ่นของ ป้าสมศรี ที่บ้านท่ามะเดื่อ ถือว่าการได้นอนบนที่นอนนุ่มๆ ได้กินอาหารท้องถิ่นที่ หากินได้ไม่บ่อยนักและได้เก็บผักทำอาหารเพื่อไปวัดทำบุญตอนเช้า จะทำให้นักท่องเที่ยวได้อิ่มทั้งบุญ ได้อิ่มทั้งท้องกันเลยทีเดียว แต่ขอบอก ว่า โฮมเตย์ที่ห้วยเขย่งนี่ไม่ธรรมดา เพราะเขาได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี ในปี 2554 และก่อนกลับก็อย่าลืมซื้อของฝากของที่นี่ ไปฝากคนที่ รักไม่ว่าจะเป็นงานหัตถกรรมโครเชต์ ทั้งหมวก ผ้าพันคอ เสื้อ ที่ถัก จากไหมพรมและเส้นใยลินนิน ของกลุ่มโครเชต์ กุญแจ ตุ๊กตา และ หมวกที่ทำมาจากหญ้าแฝกของพี่เจี๊ยบ หรือแม้แต่ข้าวกล้อง ข้าวซ้อม มือพร้อมหุง ของผู้ใหญ่ขวัญหล้าที่บ้านไร่ ก็น่าซื้อทั้งนั้นเลย
|
|
“ณ ดินแดนปลายสุดแห่งผืนป่าตะวันตก ยังมีอะไรน่าค้นหาอีกมากมาย แต่เราคงไม่สามารถสัมผัสกับความงดงามทั้งหมดได้ในเวลาอันสั้นเท่า ใดนัก แต่ถ้าหากเราเปิดใจ แล้วพาร่างกายอันความเหนื่อยล้า จากมุม เมืองใหญ่ มานอนหลับพักผ่อนกับสหาย นั่งล้อมวงกินข้าวฟังนิทาน พื้นบ้านกับมิตรใหม่ เติมพลังกับสายลม สายน้ำ และฝืนป่าอันสมบูรณ์ คงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดแล้ว ณ ปลายทางแห่งนี้ ที่ ห้วยเขย่ง”
ติดต่อสอบถาม - กำนัน คำแสง มีทา ประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลห้วยเขย่ง 087-1618434 - ผู้ใหญ่บ้านบุญเนียม ดวงจันทร์ รองประธานกลุ่มท่องเที่ยว 084-7236063 - โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเขย่ง - นายธีระศักดิ์ ปัดถาทุม 085-2641827 - นายนพรัตน์ ทั่งทองมะดัน 080-7901613
|
------------------------------------------ ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 1
|