โพสต์: 19 พฤศจิกายน 2557 อ่าน: 9,384 ครั้ง
คันปุ๋ยหมัก คืออะไร |
ในวารสาร สวพส. หลายฉบับที่ผ่านมาผู้อ่านคงได้ทราบถึงวิธีการผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพหลากหลายรูปแบบแล้วนะครับ สำหรับในฉบับนี้ผมจะขอนำเสนอรูปแบบการทำปุ๋ยหมักรูปใหม่ที่แปลกไปจากแบบเดิมที่ทุกท่านรู้จัก ซึ่งรับรองว่าการทำปุ๋ยหมักวิธีนี้ทุกท่านสามารถจะนำไปปรับใช้ในไร่ในสวนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ที่มีไร่มีสวนเป็นที่ดอน หรือเป็นที่ตามแนวเทือกเขาก็สามารถนำไปใช้ได้ ที่สำคัญวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จุกจิก และยิ่งไปกว่านั้นคือ วิธีการทำปุ๋ยชนิดนี้ทำที่ไหน ใช้ที่นั่นได้ทันที.....น่าสนใจใช่ไหมครับ |
เจ้าคันปุ๋ยหมักที่ว่านี้แท้ที่จริงก็คือการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองในพื้นที่แปลงปลูกพืชตามแนวระดับ โดยการนำเศษพืชรวมทั้งเศษกิ่งไม้มากองรวมกันเป็นแนวยาวตามเส้นแนวระดับในพื้นที่จากนั้นก็นำมูลสัตว์ที่หาได้ในไร่ในสวน อาจะเป็นมูลโค มูลสุกร ฯลฯ มาโรยทับกองเศษพืชที่นำมากองไว้ ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพ หรือ สารเสริมประสิทธิภาพทางดิน รวมทั้งธาตุอาหารรองในดินชนิดต่างๆ (ถ้ามี) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำคันปุ๋ยหมัก หากสังเกตให้ดีจะพบว่าวิธีการทำคันปุ๋ยหมักนี้จะเป็นวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองอย่างง่าย หรือ ปุ๋ยหมักสูตรขนมชั้น. (หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคอลัมน์ ต้องลองปุ๋ยหมักไม่กลับกองในวารสารสวพส.ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556) แต่แตกต่างตรงที่การเรียงจำนวนชั้นจะทำเพียงชั้นเดียว ในขณะที่ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกับกองจำทำประมาณ 15-17 ชั้น |
เป็นยังไงบ้างหละครับปุ๋ยหมักสูตรเด็ดที่ผมแนะนำในฉบับนี้...ไม่ยากเลยใช่ไหมละคับลองไปทำกันดูนะครับ แต่หากผู้อ่านยังสงสัยและอยากจะเห็นเจ้าคันปุ๋ยหมักของจริงก็เชิญไปแวะชมได้นะครับที่บ้านแม่จอน พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำปิงตอนบนปางแดงใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หรือจะไปแวะชมที่ บ้านศรีบุญเรือง โครงการขยายผลโครงการหลวงลุ่มน้ำน่านโป่งคำ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับสวัสดีครับ |
------------------------------------------ ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 5 |
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 2
ดอกทิวลิป “King Bhumibol” มีสีเหลืองนวลทั้งดอก ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จากดอกทิวลิป Prince Claus ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากดอกทิวลิป สายพันธุ์ Judith Leyster ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีมากสายพันธุ์หนึ่ง
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 1
กันภัยมหิดลเป็นไม้ประจำถิ่นของไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งพบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) ที่น้ำตกไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อท้องถิ่น : ชัยพฤกษ์(กลาง)/ เปลือกขม (ปราจีนบุรี) ชื่อสามัญ : Wishing tree/ Pink shower/ Pink Cassia เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น