This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 22 ธันวาคม 2555     อ่าน: 2,196 ครั้ง

ธันวาคม

18



การสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ครั้งที่ 5
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
วันที่ 18-19 ธันวาคม 2555


        สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานวิจัย
ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ขึ้น เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม
2555 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อประมวลผลการดำเนินงาน ของโครงการวิจัย ให้เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ของเครือข่ายพันธมิตรวิจัย เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูง
อย่างยั่งยืน

        หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง และประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษ สถาบันวิจัยและ
พัฒนาพื้นที่สูง เสด็จเป็นองค์ประธาน เปิดการสัมมนา สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ของสถาบันวิจัยและพัฒนา
พื้นที่สูง ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยมี ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและ
พัฒนาพื้นที่สูง กล่าวถวายรายงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา
พื้นที่สูง คณะอนุกรรมการวิจัย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ผู้บริหาร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่สถาบัน
และหน่วยงานเครือข่ายนักวิจัย นักพัฒนาจากหน่วยงานเครือข่าย อาทิ มูลนิธิโครงการหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่ดิน
เขต 6 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

        ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า “ในการสัมมนา มีการนำเสนอ
ผลการวิจัย 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานวิจัยสนับสนุนงานโครงการหลวง กลุ่มงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ขยาย
ผลโครงการหลวง กลุ่มงานวิจัยสนับสนุนงานโครงการหลวง และกลุ่มงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ขยายผล
โครงการหลวง รวมทั้งสิ้น 58 โครงการย่อย ซึ่งการดำเนินงานโครงการวิจัยดังกล่าว มีทั้งโครงการวิจัยที่ ดำเนิน
งานโดยนักวิจัยของสถาบันเอง และให้ทุนอุดหนุนการวิจัย แก่หน่วยงานเครือข่าย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดง
นิทรรศการ สรุปผลการดำเนินงาน การวิจัยของสถาบันด้วย ซึ่งเป็นการนำเสนอในภายใต้รูปแบบ  “การพัฒนาพื้นที่
สูงอย่างยั่งยืน”  อาทิ

•    งานวิจัยสนับสนุนงานโครงการหลวง
•    งานวิจัยเพื่อขยายผลองค์ความรู้โครงการหลวง  
•    การส่งเสริมความร่วมมือและบูรณาการ งานวิจัยบนพื้นที่สูง ซึ่งมีงานวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าวโพด
โดยไม่เผา เฮมพ์ (Hemp) หรือกัญชง
•    งานวิจัยทางด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง มีงานวิจัยที่สำคัญ ได้แก่
การฟื้นฟูแหล่งอาหาร (Food Bank) และความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน การฟื้นฟูสมุนไพรและ
ยาพื้นบ้านบนพื้นที่สูง การฟื้นฟูการปลูกและการแปรรูปหวาย การวิจัยและพัฒนาเห็ดท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนา
พืชพลังงานท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง
•    งานวิจัยด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง รวบรวมองค์ความรู้
และภูมิปัญญา การใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง จำนวน 1,262 ชนิด ใน 41 ชุมชน 8 ชนเผ่า
และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากพืชท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ
ผงปรุงรสเฮาะที แชมพูกำจัดเห็บหมัดสัตว์เลี้ยง จากหนอนตายหยาก ครีมบำรุงผิวหน้าคาเทชินจากชาเมี่ยง
สเปรย์ลดอาการอักเสบในช่องปาก และลำคอจากชาเมี่ยงและน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น เจลแต้มสิว
จากตะไคร้ต้น ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพผิวหน้า (Toner) ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นผิวหน้า (Moiturizer)
จากมะขามป้อมและฟักข้าว สีย้อมธรรมชาติ
•    โครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนากับนานาชาติ ความร่วมมือทางวิชาการ
ไทย-ลาว ร่วมมือทางวิชาการไทย-โคลอมเบีย
•    ทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนากับหน่วยงานต่างๆ

        ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ กล่าวต่อว่า “สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นองค์กรขับเคลื่อน การพัฒนาพื้นที่
สูงอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างชุมชนบนพื้นที่สูง ให้มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีวัตถุประสงค์ มุ่งพัฒนา
องค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนงานของโครงการหลวง โดยเฉพาะองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการผลิตพืช
และสัตว์ ให้ผลผลิตมีคุณภาพที่สูงขึ้น จนสามารถได้รับการรับรองมาตรฐาน มีต้นทุนการผลิตที่พอเหมาะ ตลอดจน
มีความเหมาะสม ต่อสภาพแวดล้อม และสนับสนุนการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ทางชีวภาพ
และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการรวบรวม การเก็บรักษา การสังเคราะห์ และพัฒนา นวัตกรรมต่อยอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้าง ความมั่นคงด้านอาหาร และการพัฒนาสินค้า ที่เป็น
เอกลักษณ์ของชุมชนบนพื้นที่สูงในแต่ละแห่ง ตลอดจนมีแนวทางฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกของเครือข่าย การปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง สถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในท้องถิ่น”

        ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ กล่าวปิดท้ายว่า “การจัดสัมมนาครั้งสำคัญนี้ จะทำให้นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับข้อเสนอแนะ และแนวทางการวิจัยต่อเนื่อง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดในการดำเนินงานวิจัย
ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง อย่างเหมาะสมต่อไป รวมทั้ง เกิดเครือข่ายการวิจัย ระหว่างนักวิจัย
ของสถาบันและนักวิจัย จากเครือข่ายที่มีเป้าหมาย การทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน ในการพัฒนาความเข้มแข็ง
ของชุมชนบนพื้นที่สูง”
 

 

 

 

 


ที่มา: ฝ่ายธุรการและประชาสัมพันธ์ สำนักอำนวยการ




กิจกรรมอื่นๆ

แนะนำองค์ความรู้
หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อมไม้ฝรั่งมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะ Amino succinamic หรือ asparagines นอกจากนี้ยังมีวิตามิน B C และแคโรทีนสูง สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด


หางแมว

หางแมว

หางแมว หางกระรอก เขียวพระสุจริต เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน


ไฮเดรนเยีย

ไฮเดรนเยีย

“ไฮเดรนเยีย ช่อชั้น หลากสี พื้นถิ่นไม้หนาวนี้ พรั่งพร้อม งดงามอุทยานที่ ราชพฤกษ์ ขาวม่วงชมพูล้อม อีกฟ้างามตา”


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 5

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 5

พรรณไม้งามที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับพระนามาภิไธย ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีหลายชนิด ในโอกาสนี้จะได้นำเสนออีก 3 ชนิด ได้แก่ โมกราชินี มหาพรหมราชินี และบัว ควีนสิริกิติ์



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน