โพสต์: 18 มกราคม 2556 อ่าน: 1,908 ครั้ง
มกราคม
11
|
สวพส. จัดประชุมแก้ไขกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ
|
วันที่ 11 มกราคม 2556 ดร. ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นประธานเปิดการประชุมเรื่อง “การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ” ณ ห้องดอยสุเทพ โรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
นางเสาวนิตย์ พงษ์ประไพ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และหัวหน้าคณะทำงาน แก้ไขกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์ เป็นพืชเศรษฐกิจ ได้นำเสนอความเป็นมา และข้อเสนอการแก้ไข กฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ ในที่ประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อระดมความคิดเห็น เกี่ยวกับ การแก้ไขกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์ เป็นพืชเศรษฐกิจ ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ภายใต้ระบบควบคุม ของรัฐ ซึ่งจากการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน พบว่า การพิจารณาข้อ กฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ของประเทศไทย ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อที่จะสามารถดำเนิน งานได้ในระยะต่อไป
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดี งามของชาวเขาเผ่าม้ง ในการนำเส้นใยเฮมพ์ มาทอผ้าเพื่อตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม และใช้สอยภายในครัวเรือน โดยไม่ต้องพึ่งพาวัสดุจากภายนอก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งรักษาเอกลักษณ์ ของชนเผ่า และพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับ หน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทำการศึกษา เพื่อรวบรวมสายพันธุ์เฮมพ์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ คัดเลือกได้สายพันธุ์เฮมพ์ ที่มีสารเสพติดต่ำ ได้วิธีการปลูก และแปรรูปเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่ม ให้กับผลผลิตทั้งที่เป็นเส้นใยและเมล็ด และด้วยคุณสมบัติของเฮมพ์ ที่จัดเป็นเส้นใยธรรมชาติที่ดีที่สุด สามารถนำมาทำ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม วัสดุเนื้อไม้บด กระดาษ อุตสาหกรรมก่อสร้างและยานยนต์ วัสดุธรรมชาติ แทนพลาสติก สำหรับเมล็ดและน้ำมันจากเฮมพ์มีการนำมาใช้ประกอบอาหาร และเครื่องสำอาง เป็นต้น
การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ยังติดขัดข้อกฎหมาย ในการปลูกเฮมพ์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็น ต้องมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ และมีส่วนร่วมของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกร ดังนั้น เพื่อ ให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเฮมพ์ บนพื้นที่สูงเป็นรูปธรรม ตามแนวพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การส่ง เสริมการปลูกเฮมพ์เชิงเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552-2556 และแผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์ บนพื้นที่สูง ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2553-2557 รวมทั้งแผนปฏิบัติการโครงการนำร่อง พัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ภาคเหนือ ระยะ 2 ปี พ.ศ. 2554-2555 และเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานและกำกับการพัฒนาและส่งเสริมเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ (กปฮ.) คณะอนุกรรมการวิจัย และส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเฮมพ์อย่างเป็นรูปธรรม และคณะทำงานแก้ไข กฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประชุมและจัดทำร่างประเด็นข้อเสนอ การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจขึ้น และนำมาขอรับฟังความคิดเห็นจากส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในที่ประชุมครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง และผลักดันให้เกิดการแก้ไข กฎหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเฮมพ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
|
|
|
|
ที่มา: กัลยาณี วรรณศรี เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
|