This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 5 กุมภาพันธ์ 2556     อ่าน: 2,090 ครั้ง

กุมภาพันธ์

5



ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการขยายผลโครงการหลวง

เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน




        วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556  เวลา 9.00 น. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการขยายผลโครงการหลวง เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 ณ ห้องอิมพีเรียล ฮอลล์ 1 โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ส. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สภาพันฒ์ฯ สำนักงบประมาณ กรมการปกครอง สตช. กอ.รมน. กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว กรมการแพทย์ กรมการพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กศน. และจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก

        การประชุมในครั้งนี้มี ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และนายอุดม  พรหมตัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา ได้รายงานผลการดำเนินงานของโครงการขยายผลโครงการหลวงฯ ตามตัวชี้วัดของแผนแม่บทระยะที่ 1  และความก้าวหน้าการประเมินผลโครงการฯ และปัญหา อุปสรรค์ที่มีต่อการดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา  และ ที่ปรึกษา สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด ได้รายงานถึงสถานการณ์การลักลอบปลูกฝิ่น ปัญหาและผลกระทบในพื้นที่โครงการฯ  และรายงานความก้าวหน้าการพิจารณาอนุมัติแผนแม่บทโครงการขยายผลโครงการหลวงฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2557-2561)  โดย สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ส.

        โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน มีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี (พ.ศ. 2553 – 2556) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน ป.ป.ส.  สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และส่วนราชการต่างๆ จำนวน 22 หน่วย อย่างบูรณาการ ได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ในกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 1,975 ล้านบาท มีพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก รวม 115 หมู่บ้าน 4,425 ครัวเรือน 23,585 คน ประกอบด้วยประชากรชาวเขา 4 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ และลีซอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. ขยายผลสำเร็จของโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลุกฝิ่นอย่างยั่งยืน
2. ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางโครงการหลวงในพื้นที่ปลูกฝิ่นซ้ำซาก
3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หมู่บ้าน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. เสริมสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

 

 

 

 


ที่มา: นายพีระพล ดำงาม
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)




กิจกรรมอื่นๆ

แนะนำองค์ความรู้
การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม


การทอผ้าชนเผ่าลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ

การทอผ้าชนเผ่าลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ

การทอผ้าของลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ มีลักษณะการทอแบบคาดหลัง คล้ายชาวเขาส่วนใหญ่ในประเทศไทย แต่แตกต่างกันในลักษณะการเก็บตะกอ...


แรดิชิโอ

แรดิชิโอ

แรดิชชิโอเป็นผักในตระกูลผักกาดหอม ลักษณะรูปทรงคล้ายกะหล่ำ


พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีชเป็นไม้ผลเขตหนาวประเภทรับประทานผลสด จะผลิใบปลายฤดูหนาว และออกดอกสีชมพู สวยงามมาก



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน