ชื่อโครงการ : การจัดรณรงค์ปลูกป่าชาวบ้านในพื้นที่โครงการหลวง
หลักการและเหตุผล
โครงการป่าชาวบ้านฯ ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยนำพันธุ์ไม้โตเร็วต่างถิ่นที่สามารถเจริญได้ดี ขยายพื้นที่ปลูกตามศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆ จากการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดหลายประการที่ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งการขาดแรงจูงใจในการดำเนินงานของเกษตรกรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถขยายผลการดำเนินงานได้เท่าที่ควร ดังนั้นสถาบันจึงจัดให้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าชาวบ้านฯ ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจ และกระตุ้นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีความสนใจในการปลูก การดูแลรักษาต้นไม้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโครงการป่าชาวบ้านฯ และกระตุ้นให้เกษตรกรปลูกต้นไม้ไว้ใช้สอยในครัวเรือนบนพื้นที่ทำกินของตนเอง อันนำไปสู่การทดแนการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ
2. เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
3. เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ และฟื้นฟูสภาพป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ระยะเวลาและสถานที่
วันที่ 12 กรกฎาคม 2556
ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชุมชนได้รับความรู้ และเห็นความสำคัญของการปลูกป่าชาวบ้าน และตัดสินใจปลูกป่าชาวบ้าน บนพื้นที่ทำกินของตนเองเพื่อใช้สอยในครัวเรือน
2. พื้นที่ป่าของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงได้รับการฟื้นฟู มีความหลากหลายชนิดพรรณไม้เพิ่มขึ้นและชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน
3. ชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม แลชุมชนเกิดความสามัคคีกัน
ชาวคะฉิ่นอพยพจากทางใต้ประเทศทิเบตบริเวณต้นแม่น้ำอิระวดี และยังคงสือทอดวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น
การทอผ้าชนเผ่าลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ
การทอผ้าของลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ มีลักษณะการทอแบบคาดหลัง คล้ายชาวเขาส่วนใหญ่ในประเทศไทย แต่แตกต่างกันในลักษณะการเก็บตะกอ...
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 4
เป็นพรรณไม้ที่ถูกสำรวจ และเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบในประเทศไทย และเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้ตั้งชื่อพรรณไม้ทั้ง 3 ชนิดอันได้แก่ สิรินธรวัลลี เครือเทพรัตน์ และเทียนสิรินธร
ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบ