This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 24 สิงหาคม 2555     อ่าน: 5,469 ครั้ง


     เป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และแนวทางการพัฒนาระบบ ตลาดสินค้าเกษตรที่เหมาะสมภาย ใต้บริบทของชุมชน และทดสอบแนวทางการพัฒนาตลาด ผลผลิตในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โดยนำองค์ความรู้ของโครงการหลวงมาประยุกต์ใช้ พบว่า รูปแบบการพัฒนาระบบตลาด ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง 12 พื้นที่ มีความแตกต่างกันตามแต่สภาพบริบทของแต่ละชุมชน ซึ่งจะประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่



(1) ตลาดภายในชุมชนซึ่งเป็นตลาดขั้นต้นมีการผลิตเพื่อบริโภค และขายภายในชุมชนในปริมาณไม่มากนัก ได้แก่ โรงเรียน ค่ายผู้อพยพ ร้านอาหาร และตลาดนัดในชุมชน


(2) ตลาดภายนอกชุมชนเป็นตลาดขั้นกลางที่มีการผลิต และขายภายนอกชุมชนโดยผ่านผู้รวบรวม หรือพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ทั้งเพื่อการบริโภคสด และส่งโรงงาน โดยราคาซื้อขายขึ้นลง ตามภาวะตลาด เช่น การปลูกมะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริก ซาโยเต้ ส่งพ่อค้าที่ตัวอำเภอ หรือผู้รวบรวมในพื้นที่เพื่อส่งคัดเลือกส่งตลาดไท โรงงานแปรรูป และตลาดในภูมิภาคต่างๆของประเทศ


(3) ตลาดโครงการหลวง และตลาดแบบมีสัญญา เป็นตลาดขั้นก้าวหน้าที่มีการผลิตและซื้อขายแบบตลาดล่วงหน้าโดยระบุ ชนิด ปริมาณ คุณภาพ ราคา และเวลาส่งมอบที่ชัดเจน สำหรับราคาซื้อขายมีทั้งแบบกำหนดล่วงหน้า และขึ้นลงตามภาวะตลาด

 
   


     นอกจากนี้ดำเนินการทดสอบแนวทางการพัฒนาระบบตลาดโดยนำองค์ความรู้ของโครงการหลวงมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง สำหรับการผลิตพืชผัก การผลิตกาแฟ และการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบ จำนวน 360 คนในพื้นที่ 971.60 ไร่ และเกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตและส่งมอบผลผลิตตามความต้องการของตลาดได้ เฉลี่ยร้อยละ 57.80 และ 48.52

 


     จะเห็นได้ว่ารูปแบบวิธีการผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาดของมูลนิธิโครงการหลวง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกแบบเดิม ความเอาใจใส่ในการปลูกปฏิบัติดูแล และทักษะในการเพาะปลูกที่ดี ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัย ที่จะส่งผลให้การดำเนินงาน ด้านการตลาดบนพื้นที่สูงประสบความสำเร็จ



รับชมวิดีโอ "การพัฒนาระบบตลาดชุมชน" คลิกเลย




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 3

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 3

กุหลาบพระนาม ควีนสิริกิติ์ เป็นลูกผสมระหว่างกุหลาบพันธุ์ Konigin der Rosen และ Gloden Giant ซึ่งลูกผสมใหม่เรียกเป็นสายพันธุ์ Perr Gynt


ระบบการเพาะปลูกที่ดี (ไม้ผล)

ระบบการเพาะปลูกที่ดี (ไม้ผล)

การปลูกไม้ผลเป็นอาชีพสำคัญ ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน


บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

เครือฝานเป็นแว่นรับประทานกับน้ำผึ้งแก้ไข้ หรือดองในน้ำผึ้งรับประทานบำรุงกำลัง ใช้เข้ายาร่วมกับเพชรสังฆาต เป็นยารักษาอาการปวดกระดูก หรือทุบแล้วแช่น้ำผสมน้ำผึ้งดื่มแก้หวัด


การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

การพัฒนาชาในพื้นที่โครงการหลวง

ชามีแหล่งกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิรวดี แล้วแพร่กระจายไปรัฐอัสสัมของอินเดีย ประเทศเมียมาร์ ตอนเหนือของไทยและไปสิ้นสุดที่ประเทศเวียตนาม



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน