โพสต์: 10 พฤษภาคม 2555 อ่าน: 5,715 ครั้ง
![]() |
|
ปีงบประมาณ 2553 เป็นการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ 2552 ในด้านการปรับปรุง สายพันธุ์เฮมพ์ต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สายพันธุ์ ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำลง การศึกษาเพื่อพัฒนา กลุ่มเกษตรกรในการผลิต แปรรูป และจำหน่ายเฮมพ์ ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน การศึกษาเพื่อขยายผล โครงการนำร่องการส่งเสริมเฮมพ์ไปยังพื้นที่สูงอื่น ที่มีศักยภาพ โดยแบ่งเป็น 7 โครงการย่อย ดังนี้
|
|
2. การศึกษาวิธีเขตกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตเส้นใยเฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การปลูกเฮมพ์ด้วยวิธีเขตกรรม แบบระบบอินทรีย์ ทำให้พันธุ์แม่สาใหม่ มีการเจริญเติบโต ทางลำต้นสูง และให้เส้นใยมากกว่าพันธุ์อื่น
|
|
4. การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยเฮมพ์ และการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาวิจัยทำให้ได้ เส้นใยเฮมพ์ที่ความนุ่ม และขาวนวล นำมาปั่นเป็นเส้นใยได้ 3 ขนาดตามที่กำหนด อีกทั้ง ยังสามารถปั่นร่วมกับ เส้นใยชนิดอื่นได้ดี และเมื่อนำไปย้อมสีธรรมชาติ ได้เส้นใยที่มีความคงทน ติดสีดี ไม่ตกสี นำไปทอร่วมกับ เส้นใยอื่นและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ได้
|
|
7. การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์อย่างเป็นระบบ สู่วิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืนในพื้นที่นำร่อง ทั้งในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการขยายผลโครงการหลวง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ได้รับอนุญาต จากกองควบคุมวัตถุเสพติด และใบอนุญาต มีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และจัดทำทะเบียน เกษตรกรผู้เข้าร่วมการปลูกเฮมพ์ ใน 5 พื้นที่โครงการหลวง คือ แม่สาใหม่ แม่แฮ อินทนนท์ ขุนวาง และปางอุ๋ง จำนวน 41 ราย 16.08 ไร่ และ 3 พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง คือ ถ้ำเวียงแก ปางหินฝน และป่ากล้วย จำนวน 43 ราย นอกจากนี้ คัดเลือกเกษตรกร เพื่อปลูกและแปรรูป เส้นใยให้เป็นผลิตภัณฑ์ เตรียมเข้าสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน |
|
ที่มา: สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) |
กีวีฟรุตเป็นไม้ผลเขตหนาว อยู่ในวงค์ Actinidiaceae ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตอนเหนือของหุบเขาแยงซี
ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้เส้นใยเฮมพ์เพื่อนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตเส้นใยเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย