This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 10 พฤษภาคม 2555     อ่าน: 12,072 ครั้ง


เทคโนโลยีการปลูกพืชภายใต้สภาพโรงเรือน (Greenhouse production) ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถป้องกันความเสียหายของพืชจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จากการทำลายของสัตว์ โรค และแมลงศัตรู สามารถกำหนดทิศทางวางแผนการผลิต และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตพืชภายใต้สภาพโรงเรือน ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกพืชภายใต้สภาพโรงเรือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้ดำเนินงานวิจัยเพื่อ (1) ทดสอบชนิดพลาสติกมุงหลังคาโรงเรือนที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต (2) เพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของไม้ไผ่สำหรับก่อสร้างโรงเรือน และ (3) ทดสอบรูปแบบการปลูกผักหมุนเวียนในโรงเรือนต้นแบบที่เหมาะสมกับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ผลการวิจัย มีดังนี้

 1. ชนิดพลาสติกมุงหลังคาโรงเรือนที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตขององุ่น ผักกาดหอมห่อ และกุหลาบในช่วงฤดูฝน โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพชนิดพลาสติกที่ผลิตขึ้นกับพลาสติกทั่วไป พบว่า พลาสติกต้นแบบส่งผลให้องุ่นมีความหวานเพิ่มขึ้น จาก 15.65 เป็น 16.93 องศาบริกซ์ หลังการใช้งานแล้ว 1 เดือน พลาสติกต้นแบบที่ผลิตขึ้นทั้งสามชนิดทนทานต่อการถูกดึงยืดมากกว่าพลาสติกควบคุม สามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมห่อ (18 - 29 °C) แต่ไม่สามารถลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตขององุ่นและกุหลาบได้ ส่วนคุณสมบัติการสะท้อนแสงช่วง UVB ซึ่งพืชเป็นแสงที่พืชไม่ต้องการ ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงสูตรของสารผสมที่เหมาะสม
 
2. การยืดอายุการใช้งานของไม้ไผ่สำหรับก่อสร้างโรงเรือน พบว่า ไผ่ทุกพันธุ์สามารถใช้ในการก่อสร้างโรงเรือนได้ และไผ่ที่เหมาะสมต่อการนำมาก่อสร้างโรงเรือน ควรมีอายุมากกว่า 36 เดือน ส่วนวิธีการยืดอายุไม้ไผ่โดยใช้วิธีการเคลือบเนื้อไม้ไผ่ด้วยสารผสมระหว่างสารกรองรังสีอัลตราไวโอเลต 0.1 mole และ 10% PVC w/v ที่อัตราส่วน 2 ml : 8 ml สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรู เช่น มอดและเชื้อราได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบกับอัตราส่วนอื่น

 




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

การปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน


มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

บ่าซัก หรือ มะคำดีควาย เป็นไม้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ผลแก่แก้ไข้ดับพิษร้อนภายใน


พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 7

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 7

พรรณไม้พระนามราชสกุลมหิดล ไม้ดอกโทนสีชมพู สีสันอันงดงามและอ่อนหวาน เช่น กุหลาบพระนามสิรินธร ดอกกุหลาบสีชมพูเหลือบเหลือง ที่มีกลิ่นหอม กล้วยไม้ฟาแลนนอพซิส พรินเซสจุฬาภรณ์ ดอกกล้วยไม้สีขาวชมพูระเรื่อกรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ


ซิมบิเดียม

ซิมบิเดียม

ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน