This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 7 สิงหาคม 2555     อ่าน: 7,786 ครั้ง


      โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวง

        มุ่งศึกษากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชผัก 5 ชนิด คือ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เบบี้ฮ่องเต้ ข้าวโพดหวานสองสี ยอดซาโยเต้ และแตงกวาญี่ปุ่น เพื่อประเมินการสูญเสียที่เกิดขึ้น ตั้งแต่จากแปลงปลูกจนถึงร้านค้าหรือลูกค้าส่งออก วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ได้ต้นแบบที่ดี (Best Practices) ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวงที่มีมูลค่าหรือมีศักยภาพในการส่งออกทั้งระบบ โดยลดการสูญเสียของผลผลิตพืชผักโครงการหลวงหลังการเก็บเกี่ยวให้สามารถรักษาคุณภาพ ยืดอายุของผลผลิตและสามารถวางจำหน่ายในตลาดได้นานขึ้น โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

 

 

ชนิดพืช

ก่อน ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ

หลัง ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 63.79 %

สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.40 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจที่ตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมาจากศูนย์ฯ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.80 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจไม่ได้เปลี่ยนตะกร้าพลาสติกจากแปลงปลูกของเกษตรกรและรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

เบบี้ฮ่องเต้

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.14 %

สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ โดยจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร  

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 29.97 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยฟองน้ำ

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว  26.57 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยถุงแอคทีฟ

ข้าวโพดหวานสองสี

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.85 %

สาเหตุ เนื่องจากแมลงและจากมีเมล็ดไม่เต็มฝัก และจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.33 %  และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดที่ร้านค้าโครงการหลวงมีปริมาณใกล้เคียงกับที่แปลงปลูกของเกษตรกร

ยอดซาโยเต้

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 39.37 %

สาเหตุ เนื่องจากทางสรีรวิทยา (เหี่ยว) เป็นหลัก ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียมากที่สุดเกิดขึ้นที่งานคัดบรรจุกรุงเทพฯ 

 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 19.43 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 18.80 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ

แตงกวาญี่ปุ่น

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.11 %

สาเหตุ เนื่องจากเกิดจากผลแตงกวาญี่ปุ่นมีลักษณะรูปร่างโค้งงอและรูปร่างผิดปกติมากที่สุด  ซึ่งพบความสูญเสียเกิดขึ้นที่แปลงปลูกของเกษตรกรมากที่สุด 

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.65 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู

ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.39 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ

ไม่พบความสูญเสียจากสาเหตุทางสรีรวิทยาซึ่งทำให้แตงกวาญี่ปุ่นแสดงอาการปลายผลเหี่ยวตลอดห่วงโซ่อุปทาน




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
องุ่น

องุ่น

องุ่นเป็นไม้ผลชนิดเถาเลื้อยที่มีอายุยานานหลายปี สามารถปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศหลายแบบ...


หางแมว

หางแมว

หางแมว หางกระรอก เขียวพระสุจริต เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยว ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน


สะแตติส เพอริซิอาย

สะแตติส เพอริซิอาย

สะแตติส เพอริซิอาย (Limonium spp.) เป็นไม้ตัดดอกที่มีสีสันที่สวย มีจุดเด่นเฉพาะตัว คือสามารถตัดขาย


กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ชื่อท้องถิ่น : ชัยพฤกษ์(กลาง)/ เปลือกขม (ปราจีนบุรี) ชื่อสามัญ : Wishing tree/ Pink shower/ Pink Cassia เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน