This is an example of a HTML caption with a link.
 

โพสต์: 21 กันยายน 2555     อ่าน: 12,875 ครั้ง


การเร่งกระบวนการสุกของเสาวรสหวาน


        จากการศึกษา พบว่า สารละลายเอธิฟอน ความเข้มข้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสมที่สุดในการเร่งการสุกของเสาวรสหวาน โดยพบว่า เสาวรสหวานทั้งหมดที่บ่มให้สุก มีการเปลี่ยนแปลงสีผิวอย่างสม่ำเสมอทั้งผล และไม่ทำให้ผลที่สุกเกิดอาการผิวผลยุบ

        การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์เป็นแหล่งให้ก๊าซอะเซทธิลีน มีผลทำให้เสาวรสหวานที่อยู่ในตะกร้าเดียวกัน สุกอย่างไม่สม่ำเสมอ โดยการสุกของผลขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างผล กับห่อของแคลเซียมคาร์ไบด์ที่วางอยู่ในตะกร้า  และเมื่อผลสุกจากการบ่ม ด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ ผิวผลเกิดการยุบตัวระหว่างการสุก ซึ่งอาการยุบตัวนี้ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ทำให้เกิดการพัฒนาผิวผลเป็นสีแดง บนผิวชั้นนอกได้เร็วกว่าการใช้เอทธิฟอน

        การบ่มผลเสาวรสหวาน ที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวด้วย แคลเซียมคาร์ไบด์ให้ผลคล้ายคลึงกัน แต่การบ่มผลในฤดูฝนด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ ทำให้เกิดรอยแผลบนผิวผล หากผลเสาวรสหวานเปียกหรือมีหยดน้ำบนผิวผล แต่การบ่มด้วยเอทธิฟอนในทุกฤดูกาลไม่ทำให้เกิดรอยแผล แต่อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิต่ำ มีผลในการชะลอการสุกของผลเสาวรสหวานที่บ่มด้วยเอทธิฟอน


สารเคลือบผิวที่เหมาะสำหรับเสาวรสหวานหลับบ่มให้สุก


        ในการเคลือบผิวผลเสาวรสหวานพบว่า เมื่อเคลือบผิวผลด้วยสารที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้น้อย ทำให้ผลเสาวรสเกิดการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน เสาวรสหวานจึงมีกลิ่นผิดปกติเกิดขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ROSY WAX เป็นสารเคลือบผิวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการเคลือบผิวเสาวรสหวานภายหลังการบ่มด้วยเอทธิฟอน


ผลกระทบของสารเคลือบผิวและอุณหภูมิต่ำ ที่มีต่อเสาวรสหวานหลังบการบ่ม

        หลังจากบ่มผลเสาวรสหวานด้วยเอทธิฟอนแล้วเคลือบผลด้วย ROSY WAX  และนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า ผลที่เคลือบด้วย ROSY WAX มีผิวผลมันวาวกว่าที่ไม่ได้เคลือบ เมื่อเก็บรักษาผลเสาวรสหวานไว้นานกว่า 18 วัน ทำให้ผลเกิดอาการสะท้านหนาว (chilling injury) โดยบริเวณผิวผลเกิดการหลุดลอกเป็นแผ่นสีขาว และผลไม่มีการพัฒนาสีผิวจากสีเขียวเป็นสีแดง แต่ผลเสาวรสหวานที่เก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติก (polyethylene) มีการสูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าผลที่ไม่ได้เก็บในถุงพลาสติก (polyethylene)
 
        สรุปได้ว่า การบ่มผลเสาวรสหวานด้วยเอทธิฟอนแล้วเคลือบผิวผลด้วย ROSY WAX และนำไปเก็บรักษาที่ 5 องศาเซลเซียส ผลเสาวรสหวานมีอายุการเก็บรักษาได้นาน 18 วัน


บทความ: สังเคราะห์งานวิจัย

ที่มา: องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ขอขอบคุณรูปภาพจาก: egae41 topicstock.pantip.com




งานวิจัยอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รายการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส.
แนะนำองค์ความรู้
พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ 6

ตอนนี้ขอนำเสนอความงดงามของกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์ลูกผสมในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเทิดพระเกียรติ ให้ได้รู้จัก ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์พรรณไม้งามที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดิน และเรื่องราวของพระองค์ท่านสืบต่อไป


พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีช (Peach) และเนคทารีน (Nectarine)

พีชเป็นไม้ผลเขตหนาวประเภทรับประทานผลสด จะผลิใบปลายฤดูหนาว และออกดอกสีชมพู สวยงามมาก


ระบบการเพาะปลูกที่ดี (ไม้ผล)

ระบบการเพาะปลูกที่ดี (ไม้ผล)

การปลูกไม้ผลเป็นอาชีพสำคัญ ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน


กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ชื่อท้องถิ่น : ชัยพฤกษ์(กลาง)/ เปลือกขม (ปราจีนบุรี) ชื่อสามัญ : Wishing tree/ Pink shower/ Pink Cassia เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น



ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบเว็บเมลสถาบัน ระบบขอรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายภายในสถาบัน