โพสต์: 23 เมษายน 2557 อ่าน: 10,998 ครั้ง
|
|
|
ผลงานวิจัยของโครงการในระยะที่ผ่านมาได้คัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ พืชสมุนไพร และพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูงที่มีคุณสมบัติในการควบคุมศัตรูพืชชนิดต่างๆ แบบเฉพาะเจาะจง การปรับปรุงคุณสมบัติดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช (ลดความเป็นกรด ลดความเป็นพิษของโลหะหนัก) การส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับต้นพืช รวมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานและความทนทานต่อผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในห้องปฏิบัติการและแปลงทดลอง ตลอดจนพัฒนารูปแบบและวิธีการใช้ที่เหมาะสมจนได้เป็นชีวภัณฑ์ สารสกัดสมุนไพร และอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงสำหรับนำไปขยายผลสู่เกษตรกร จำนวน 15 ชนิด ได้แก่ สารป้องกันกำจัดโรคพืช 4 ชนิด สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 8 ชนิด สารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช 2 ชนิด และอุปกรณ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช 1 ชนิด รวมถึงวิจัยกระบวนการเพิ่มปริมาณและเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์สำหรับผลิตเป็นชีวภัณฑ์ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การวิจัยและพัฒนาครบวงจรจึงต้องดำเนินงานในลักษณะการต่อยอดงานเดิม การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาใหม่ให้ครอบคลุมพืชหลายชนิด และทดสอบการใช้สารชีวภาพ/อุปกรณ์จากผลการวิจัยร่วมกับเกษตรกร ตลอดจนมีการเผยแพร่องค์ความรู้สู่เกษตรกรในวงกว้างต่อไป |
|
|
![]() |
------------------------------------------ ที่มา: วารสาร สวพส. ฉบับที่ 4 |
การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
การปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
การปลูกไม้ผลเป็นอาชีพสำคัญ ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเสริมแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน
ซิมบีเดียมเป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้นำมาศึกษาการปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ พ.ศ.2515 เพื่อศึกษาและทดลองปลูกเลี้ยง