โพสต์: 7 สิงหาคม 2555 อ่าน: 8,103 ครั้ง
โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวง
มุ่งศึกษากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชผัก 5 ชนิด คือ กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เบบี้ฮ่องเต้ ข้าวโพดหวานสองสี ยอดซาโยเต้ และแตงกวาญี่ปุ่น เพื่อประเมินการสูญเสียที่เกิดขึ้น ตั้งแต่จากแปลงปลูกจนถึงร้านค้าหรือลูกค้าส่งออก วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ได้ต้นแบบที่ดี (Best Practices) ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของโครงการหลวงที่มีมูลค่าหรือมีศักยภาพในการส่งออกทั้งระบบ โดยลดการสูญเสียของผลผลิตพืชผักโครงการหลวงหลังการเก็บเกี่ยวให้สามารถรักษาคุณภาพ ยืดอายุของผลผลิตและสามารถวางจำหน่ายในตลาดได้นานขึ้น โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ชนิดพืช |
ก่อน ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ |
หลัง ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ |
กะหล่ำปลีรูปหัวใจ |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 63.79 % สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.40 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจที่ตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมาจากศูนย์ฯ ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.80 % สำหรับกะหล่ำปลีรูปหัวใจไม่ได้เปลี่ยนตะกร้าพลาสติกจากแปลงปลูกของเกษตรกรและรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู |
เบบี้ฮ่องเต้ |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.14 % สาเหตุ เนื่องจากส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือมีคุณภาพไม่เป็นไปตามคุณภาพขั้นต่ำ โดยจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร
|
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 29.97 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยฟองน้ำ ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 26.57 % สำหรับเบบี้ฮ่องเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยถุงแอคทีฟ |
ข้าวโพดหวานสองสี |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.85 % สาเหตุ เนื่องจากแมลงและจากมีเมล็ดไม่เต็มฝัก และจุดที่มีความสูญเสียเกิดขึ้นมากที่สุดคือ ที่แปลงปลูกของเกษตรกร |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 3.33 % และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดที่ร้านค้าโครงการหลวงมีปริมาณใกล้เคียงกับที่แปลงปลูกของเกษตรกร |
ยอดซาโยเต้
|
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 39.37 % สาเหตุ เนื่องจากทางสรีรวิทยา (เหี่ยว) เป็นหลัก ซึ่งจุดที่มีความสูญเสียมากที่สุดเกิดขึ้นที่งานคัดบรรจุกรุงเทพฯ
|
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 19.43 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 18.80 % สำหรับยอดซาโยเต้ที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ |
แตงกวาญี่ปุ่น |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 59.11 % สาเหตุ เนื่องจากเกิดจากผลแตงกวาญี่ปุ่นมีลักษณะรูปร่างโค้งงอและรูปร่างผิดปกติมากที่สุด ซึ่งพบความสูญเสียเกิดขึ้นที่แปลงปลูกของเกษตรกรมากที่สุด |
ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 35.65 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงพลาสติกขยายข้างเจาะรู ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 30.39 % สำหรับแตงกวาญี่ปุ่นที่บรรจุในตะกร้าพลาสติกซึ่งรองด้วยถุงแอคทีฟ ไม่พบความสูญเสียจากสาเหตุทางสรีรวิทยาซึ่งทำให้แตงกวาญี่ปุ่นแสดงอาการปลายผลเหี่ยวตลอดห่วงโซ่อุปทาน |
เป็น ไม้เถาเลื้อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปหัวใจ โคนใบปิดปลายใบแหลม เถาแห้งนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยขับปัสวะ
การทอผ้าชนเผ่าลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ
การทอผ้าของลาหู่เชเละหรือมูเซอดำ มีลักษณะการทอแบบคาดหลัง คล้ายชาวเขาส่วนใหญ่ในประเทศไทย แต่แตกต่างกันในลักษณะการเก็บตะกอ...
สมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน บางชนิดอาจพบเห็นได้ยากง่ายต่างกันไป และแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้รักษากันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย...