การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน พบว่าในปี พ.ศ. 2560 พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี พ.ศ. 2545 โดยในปี พ.ศ. 2560 พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มสูงขึ้น โดยพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 24,195.85 ไร่ ประเภทพื้นที่เกษตรกรรมที่พบมากที่สุดคือ พืชไร่ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวไร่ ถั่วหวาน มันฝรั่ง และถั่วแดงหลวง) ไร่หมุนเวียน พืชสวน (กะหล่ำปลี มะเขือเทศลูกท้อ หอมแดง หอมญี่ปุ่น ผักกาดขาวปลี และมะเขือเทศโทมัส) ตามลำดับ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 1,465.82 ไร่ และพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นเป็น 1,428.79 ไร่ในส่วนพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่แหล่งน้ำลดลงเหลือ 72,118.05 ไร่ และ 4.47 ไร่ ตามลำดับ
สัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2560 ในพื้นที่พบว่าพื้นที่ป่าไม้มีสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 72.69 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เบ็ดเตล็ด และพื้นที่แหล่งน้ำคิดเป็นร้อยละ 24.39, 1.48, 1.44 และ 0.005 ตามลำดับ
|
|
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน