เกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2561 มีพื้นที่ดำเนินงานทั้งหมดจำนวน 33 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด แบ่งพื้นที่ดำเนินงานเป็น 4 กลุ่มดังนี้ พื้นที่กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เชียงใหม่, กำแพงเพชร, กาญจนบุรี พื้นที่กลุ่มที่ 2 ได้แก่ เชียงราย พื้นที่กลุ่มที่ 3 ได้แก่ น่าน และพื้นที่กลุ่มที่ 4 ได้แก่ ตาก, แม่ฮ่องสอน

พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูง 500 เมตร เหนือระดับปานกลางของน้ำทะเล อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อม

GAP

การขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2559 จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยประเภทพืชผักที่ได้รับการรับรองมากที่สุด ได้แก่ พริกหวาน มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือเทศโทมัส และผักกาดขาวปลี เป็นต้น ส่วนประเภทไม้ผลที่ได้รับการรับรองมากที่สุด ได้แก่ เสาวรส องุ่น สตรอเบอรี่ และอาคาโด เป็นต้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 ได้เพิ่มพื้นที่ในการขอรับใบรับรองในพื้นที่โครงการฝิ่นจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ป่าเกี๊ยะใหม่ และพื้นที่แม่แฮหลวง โดยเป็นการขอใบรับรองมาตรฐาน GAP ในส่วนไม้ผล คือ เสาวรส

GAP HRDI

รายได้

การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากฐานความรู้โครงการหลวงผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้จากการส่งเสริมอาชีพภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร เช่น พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก กาแฟ ปศุสัตว์ ท่องเที่ยว หัตถกรรม โดยพืชที่สร้างรายได้ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวไร่ ถั่วนิ้วนางแดง ข้าวนา พริกหวาน มะเขือเทศโทมัส องุ่น เสาวรส สตอเบอรี่ ฯลฯ ส่วนการเลี้ยงสัตว์ครัวเรือนส่วนใหญ่เลี้ยงสุกร ไก่ วัว และควาย เป็นต้น โดยมีการแบ่งรูปแบบการตลาดออกเป็น เพื่อการบริโภคและการใช้สอยในครัวเรือน ตลาดภายในชุมชน ตลาดพ่อค้าท้องถิ่น ตลาดข้อตกลง และตลาดโครงการหลวงและอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งมีรายได้สะสมตั้งปี 2557-2560 จำนวน 0 บาท


เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้

การถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้แก่ การอบรม/สัมมนา/ประชุม การศึกษาดูงาน การติดตามให้คำแนะนำ/เยี่ยมเยียน การจัดงานและกิจกรรมต่างๆ / ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ สะสมตั้งแต่ปี 2557 - 2560 จำนวน 200,529 ราย (แบบนับซ้ำ)ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้เกษตรกรพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มาตรฐานอาหารปลอดภัย