ทรัพยากรดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดินชุดที่ 62 พื้นที่เป็นภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ และยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ มากถึงร้อยละ 98.6  รองลงมาเป็นกลุ่มดินชุดที่ 48D ร้อยละ 0.8 และกลุ่มดินชุดที่ 35B ร้อยละ 0.6 พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่สูงระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 62.6 รองลงมามีการชะล้างพังทลายของดินบนที่สูงระดับรุนแรง ร้อยละ 27 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่ส่วนใหญ่เป็นหินฟิลไลต์ หินดินดานเนื้อปนถ่าน และบางส่วนเป็นหินทรายถูกแปรสภาพ

 

แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน


คลิกเพื่อขยาย

 

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A พื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 59.58 รองลงมาอยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2  พื้นที่ลุ่มน้ำที่มีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 25.66 ตามลำดับ โดยมีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ ห้วยแม่ศึก โดยมีห้วยทรายขาว ห้วยตีนแตก และห้วยแม่หง่านน้อย เป็นลำน้ำสาขา และมีห้วยแม่ตูมเป็นแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญอีกแหล่ง โดยมีห้วยแม่ตูม ห้วยแม่ว้า ห้วยปางหินฝน ห้วยปางตอง ห้วยกระทิง และห้วยแม่อปปี้ เป็นลำน้ำสาขา ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำย่อยลุ่มน้ำแม่ตูม ร้อยละ 55.47 ลุ่มน้ำย่อยห้วยแม่ศึก ร้อยละ 44.53 


คลิกเพื่อขยาย

 


คลิกเพื่อขยาย

 

 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝนส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม คิดเป็นร้อยละ 93.73 เขตอุทยานแห่งชาติแม่โถ ร้อยละ 5.37 และเขตอุทยานแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย ร้อยละ 0.90 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) ร้อยละ 98.36 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซนE) ร้อยละ 1.64 (ดังตารางที่ 2)

ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม

148.79

92,991.39

93.73

ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย

1.42

890.28

0.90

อุทยานแห่งชาติแม่โถ

8.53

5,332.51

5.37

รวม

158.74

99,214.17

100.00

ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ปางหินฝน

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A)

-

-

-

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

156.15

97,590.74

98.36

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

2.60

1,623.43

1.64

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

-

-

-

รวม

158.74

99,214.17

100.00

 

คลิกเพื่อขยาย

 

คลิกเพื่อขยาย

 

 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน

กิจกรรม

2555

2556

2557

2558

2559

รวม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก (ราย/ กล้า)

   - รณรงค์

   - แปลงสาธิตในพื้นที่ทำกิน

 

30,000 กล้า/ 100 ราย

 

20,000 กล้า/100 คน

 

40,000 กล้า/60 คน

 

40,000 กล้า/100 คน

 

60,000 กล้า/100 คน

 

190,000 กล้า/460 คน

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยพืชสด

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

 

-

 

-

 

20 ตัน

 

3 ตัน

 

10 ตัน

 

33 ตัน

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ (ไร่/ ราย)

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน (ไร่/ ต้น/ ราย) 100 ต้น/ ไร่

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 

 

-

 

 

17,050 ต้น 100 ราย 170.5 ไร่

 

 

-

 

 

3,080 ต้น 100 ราย 30.8 ไร่

 

 

10 ไร่/100 ราย

 

 

2,100 ต้น 60 ราย 21 ไร่

 

 

15 ไร่/100 ราย

 

 

2,200 ต้น 100 ราย 22 ไร่

 

 

20 ไร่/100 ราย

 

 

1,500 ต้น 100 ราย 15 ไร่

 

 

450 ไร่/300 ราย

 

 

25,930 ต้น 460 ราย 259.3 ไร่

4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า (กม.)

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

6 หมู่บ้าน 20 กิโลเมตร

5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม (หมู่บ้าน/ ครั้ง/ ราย)

 

100 คน /3หมู่บ้าน

 

100 คน /3 หมู่บ้าน

 

100 คน /4 หมู่บ้าน

 

100 คน /4 หมู่บ้าน

 

100 คน /4 หมู่บ้าน

 

500 คน /4 หมู่บ้าน

6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก (แห่ง/ บ้าน)

-

-

1 แห่ง

1 แห่ง

1 แห่ง

3 แห่ง

7. การจัดทำฝาย (ฝาย)

-

-

100 ฝาย/1 พื้นที่

7 ฝาย/1 พื้นที่

100 ฝาย/1 พื้นที่

207 ฝาย/2 พื้นที่

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561